Binance ย้อนรอยโลกคริปโทฯ ปี 2022 ท่ามกลางเรื่องร้ายยังมีเรื่องดี?

23 มกราคม 2566 - 07:26

Binance-bad-but-good-2022-SPACEBAR-Hero
  • ท่ามกลางความผันผวน ราคาร่วง ข่าวฉาว ยังมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น เพราะโลกคริปโทฯ ได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวและแก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ได้คาดหมาย

“Too many people miss the silver lining because they're expecting gold” 

คนจำนวนมากมักจะพลาดสิ่งดีๆ ไปเพราะมัวแต่คาดหวังสิ่งที่สูงกว่านั้น - มอริซ ไซเตอร์ ที่ปรึกษาทางด้านเงินชื่อดัง 

ปี 2022 ถือเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับแวดวงคริปโทฯ และบล็อกเชน เนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ที่ทำลายความเชื่อมั่นจนทำให้ทั้งนักลงทุน รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลมองอุตสาหกรรมคริปโทฯ และบล็อกเชนเปลี่ยนไป 

แต่ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมคริปโทฯ ก็ยังมีเรื่องราวดีๆ ทั้งในด้านความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขยายการเข้าถึง การเปิดตัวโซลูชันใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงข้อคิดที่ได้จากบทเรียนครั้งสำคัญที่เพิ่งเกิดขึ้น ทั้งหมด 3 ด้าน 

1. ขยายเครือข่ายบล็อกเชน รองรับธุรกรรมได้มากขึ้น 

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนในอุตสาหกรรมต่างพยายามพัฒนาโซลูชันในการขยายเครือข่ายบล็อกเชน (Scalability) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะความพร้อมดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติอันพึงประสงค์ 3 ประการของบล็อกเชน (Blockchain Trilemma) เช่นเดียวกับความปลอดภัย (Security) และการกระจายศูนย์ (Decentralization) 

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2022 อีเธอเรียม (Ethereum) อัปเกรดเป็น The Merge หรือการเปลี่ยนกลไกจากระบบ Proof-of-Work เป็น Proof-of-Stake เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานในวงกว้าง 

การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับความพร้อมด้านการขยายเครือข่ายหรือ scalability ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การเปิดตัว Taproot ของบิทคอยน์ รวมถึงยังช่วยให้เครือข่ายอีเธอเรียมสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 99.95% อีกด้วย 

2. เพิ่มการเข้าถึงบริการและทรัพยากรคริปโทฯ 

การเข้าไม่ถึงการใช้งานคริปโทฯ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องเร่งแก้ไข เพราะถ้าไม่สามารถขยายการเข้าถึงในวงกว้างได้ การใช้งานคริปโทฯ อย่างแพร่หลายก็ไม่มีทางเกิดขึ้น 

ดังนั้น ในปีที่ผ่านมา Binance จึงได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มการเข้าถึงบริการและทรัพยากรด้านคริปโทฯ มาโดยตลอด ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถรองรับได้มากถึง 40 ภาษา การเปิดใช้งาน Binance Cards กว่า 1.7 ล้านใบให้ผู้ใช้งานในเขตเศรษฐกิจยุโรป 

และปัจจุบัน Binance มีผู้ใช้งาน Binance NFT มากกว่า 6 แสนรายต่อสัปดาห์ รวมถึงจัดการธุรกรรมคริปโทฯ มูลค่าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน 

3. การกำกับดูแลกฎระเบียบและความปลอดภัย 

ปี 2022 ที่ผ่านมา ช่วยให้เราเห็นว่าหากต้องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สามารถปกป้องผู้ใช้งานคริปโทฯ จากผู้ไม่ประสงค์ดีให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

สำหรับ Binance เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ได้เร่งรัดสร้างความปลอดภัยในหลายด้าน ไม่ว่า... 
  • จดทะเบียน การขอใบอนุญาต และขออนุญาตเข้าดำเนินกิจการมากถึง 14 รายการในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญอย่างดูไบและฝรั่งเศส 
  • เสริมความแข็งแกร่งด้านการกำกับดูแลกฎระเบียบ ด้วยการขยายทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลจนมีจำนวนถึง 750 คน เพิ่มขึ้น 500% เมื่อเทียบกับปี 2021 
  • ยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ด้วยการอนุญาตเฉพาะผู้ใช้งานที่ยืนยันตัวตนด้วยเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการให้สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม Binance ได้เท่านั้น 
ซึ่งนี่ถือเป็นแนวทางที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานในระบบนิเวศของเรามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

คนไทยถือครองคริปโทฯ อันดับ 2 ของโลก 

ถึงแม้ว่าตลาดคริปโทฯ จะเผชิญกับความท้าทายและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโดยรวม แต่การใช้งานคริปโทฯ ทั่วโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับผู้ใช้รายย่อยและองค์กรต่างๆ ที่เริ่มนำเครื่องมือและบริการบล็อกเชนมาปรับใช้ 

ตัวเลขจากผู้ตอบแบบสอบถามของ Statista เผยว่า ปี 2022 ที่ผ่านมา การครอบครองและใช้งานคริปโทฯ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องใน 56 ประเทศหลักที่มีการสำรวจเมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการครอบครองและใช้งานคริปโทฯ กว่า 44% ถือเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศไนจีเรีย นับว่าอัตราการเติบโตที่สูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2019 

ผลสำรวจดังกล่าวตรงกับรายงานของ Hootsuite แพลตฟอร์มเครื่องมือจัดการโซเชียลมีเดียระดับโลก ที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยติด 5 อันดับแรกของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถือครองคริปโทในกลุ่มอายุ 16 - 64 ปี 

ทั้งนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 จำนวนผู้ถือครองคริปโทในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 5.12 ล้านคนเลยทีเดียว 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์