#ทำไมต้องทนเหล้าเลวๆ ประเทศที่คนมีสิทธิดื่ม แต่ขาดโอกาสผลิตเอง

7 มิ.ย. 2566 - 09:46

  • โอกาสประชาชนคนไทยทำเหล้าขายเอง ยังคงมีเส้นทางทุลักทุเล

  • โอกาสที่รัฐมอบให้นั้นเป็นแค่สิ่งจอมปลอม ความจริงเหล้าไทยยังถูกผูกขาด

TAGCLOUD-the-liberalization-of-alcoholic-drink-in-thailand-SPACEBAR-Hero
ในบรรดาประชากรโลก คนไทยเป็นหนึ่งในมนุษย์ที่ดื่มสุราเปลืองที่สุดชาติหนึ่ง ความหลงใหลในน้ำเมาของคนไทย ทำให้วัฒนธรรมไทยเต็มไปด้วย สุรา (เหล้ากลั่น) และเมรัย (เหล้าหมัก) รูปแบบต่างๆ หลากหลายจนบางคนอาจจะจินตนาการไม่ถูกว่ามันเยอะแค่ไหน 

แต่ความหลากหลายของน้ำเมากลับถูกผูกขาดและตัดตอนโดยรัฐบาล ด้วยการกำหนดกฎหมายผูกขาดการผลิตน้ำเมาในมือของรัฐเองนานหลายชั่วอายุคน เพื่อตักตวงรายได้เข้ารัฐจากนิสัย ‘ขาดเหล้าไม่ได้’ ของคนไทย 

และในเวลาเดียวกัน รัฐยังเอาผิดกับประชาชนที่กลั่นและหมักเหล้าเอง ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อไล่จับ ปรับ และรีดภาษีย้อนหลัง ทำให้รัฐมีแต่ได้กับได้ในธุรกิจน้ำเมา 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3sC0CGa76XUpBOdgV88ACC/336cc4abe54f9206a2320855a20e763d/TAGCLOUD-the-liberalization-of-alcoholic-drink-in-thailand-SPACEBAR-Photo_V02
Photo: บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตเบียร์ช้าง ครองส่วนแบ่งตลาดสุราในประเทศสูงสุด 59.5% (ตัวเลขปี 2563)
แม้กระทั่งถึงยุคที่รัฐเลิกผูกขาดการผลิตสุราและเมรัยหรือ ‘ยุคเปิดเสรีปี 2543’ และ ‘ยุค พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชน 2546’ แต่กฎหมายที่ผ่อนคลายลงก็ไม่ได้ผ่อนจริงๆ 

ยังมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้ผู้ผลิตสุรารายย่อย (ก็คือประชาชนทั่วไป) ไม่สามารถทำตามได้ เช่น มาตรการด้านภาษีอากรที่หยุมหยิมและสูงมาก บวกกับข้อกำหนดด้านอื่นๆ ที่คนธรรมดาแทบจะทำตามไม่ได้ 

ผลก็คือ การผลิตสุราตกอยู่ในมือ ‘ผู้ผลิตรายใหญ่’ ที่มีกำลังจะจ่ายภาษีสูงๆ และมีศักยภาพที่จะก้าวข้ามกำแพงกีดกันที่รัฐกำหนด กลายมาเป็นยุคสมัยที่สุราไม่ได้ถูกผูกขาด แต่ถูกรวบเอาไว้ในมือเจ้าสัวใหญ่ๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่าคือใคร 

นอกจากจะมีกำลังทุนสูงกว่า มีความสนิทสนมกับอำนาจรัฐ ทุนเหล่านี้ยังผนึกกำลังกันเองในรูปแบบของ Cartel (กลุ่มทุนผูกขาด) เพื่อทำลายตลาดเสรี บดขยี้รายย่อย  

และด้วยเหตุที่เจ้าสัวและธุรกิจใหญ่ๆ มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจทางการเมือง ความพยายามของประชาชนคนกลั่นเหล้ากินเองที่จะลดเงื่อนไขต่างๆ ที่รัฐตั้งขึ้นจึงไม่ประสบความสำเร็จ 

เพราะหากมันสำเร็จขึ้นมา คนเสียหายใหญ่ที่สุดก็จะไม่พ้นคนที่ทุกคนก็รู้ดีว่าเป็นใคร 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/pl8EetwuebA9xCJFAhFKn/8d68c3c8baa4aa4a9ce778cdf572c8fb/_____________1_
ดังนั้น แม้จะมีกฎหมายที่ดูเหมือนจะเอื้อ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นแค่เศษกระดาษสำหรับประชาชนที่คิดจะทำเหล้ากินเองหรือขายในตลาดเฉพาะ (Niche market) 

จนกระทั่งถึง พ.ศ.นี้ มีการผลักดัน พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า เป้าหมายสำคัญก็คือการทำลายข้อกีดกันผู้ผลิตสุรารายย่อย เช่น ข้อกีดกันเรื่องภาษีที่สูง ข้อกำหนดที่บังคับให้ผลิตในปริมาณมากๆ และข้อกำหนดเรื่องทุนจดทะเบียนที่สูงเกินเหตุ 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อกีดกันที่เอื้อให้เจ้าสัวและ Cartel น้ำเมาทั้งสิ้น  

ข้ออ้างของฝ่ายต่อต้านกฎหมายสุราเสรีจำพวกนี้ คือห่วงว่าประชาชนจะเข้าถึงน้ำเมามากขึ้นจนกระทบต่อสุขภาพ และอันที่จริง รายได้เข้ารัฐจากการเก็บภาษีพวก Cartel น้ำเมารายใหญ่ๆ ก็เอามาบำรุงระบบสาธารณสุขที่เยียวยาคนป่วยเพราะสุรา และนำมาส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องสุรา อย่างที่เรียกกันว่า ‘ภาษีบาป’ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1LxYosYGWqSVp2pn0RJqGE/f66e61f2fefdfb52cff06e8bff093994/TAGCLOUD-the-liberalization-of-alcoholic-drink-in-thailand-SPACEBAR-Photo01
Photo: สุรา เป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณบริโภคอันดับ 2 ในประเทศไทย รองจากเบียร์
แต่การใช้ภาษีบาปถูกวิจารณ์มาโดยตลอดเวลา เหลวแหลกและไร้ประสิทธิภาพ โดยเงินที่เจียดไปให้องค์กรพวกสร้างความตระหนักรู้ต่างๆ ไปจนถึงองค์กรที่ไม่เกี่ยวอะไรกับสุราเมรัยเอาเลย ไม่ได้แสดงว่าคนลดดื่มสุราลงแบบพลิกฟ้าคว่ำดิน คนไทยก็ยังดื่มกันหัวราน้ำเหมือนเดิม 

ที่จริงแล้ว การเปิดเสรีสุรากับการชวนให้คนลดดื่ม ไม่ควรจะใช้กฎหมายประเภทเดียวกัน ไม่ควรจะเปิดเสรีแบบขอไปที โดยอ้างว่าเพื่อเมตตาต่อสุขภาพประชาชน 

สิ่งที่รัฐควรทำ คือจะเปิดเสรีก็เปิดแบบเต็มที่  

ถ้าคิดจะห้ามปรามประชาชนคนดื่ม ก็ต้องเก็บค่ารักษาพยาบาลโรคจากการดื่มสุราให้สูงๆ เพื่อให้เข็ดหลาบ หรือเอาจริงกับกฎหมาย #เมาแล้วขับ แบบไม่ต้องรอลงอาญา ไม่ใช่ไปเรียกร้องเอากับคนทำเหล้าไปเสียทุกอย่าง 

และในเมื่อคนไทยยังนิยมเมาและห้ามไปก็ไร้ประโยชน์ จะดีกว่าไหมที่จะเปิดให้ตลาดสุรามีตัวเลือกที่กว้างขวางมากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ (ที่ยินดีกับการตักตวงภาษีบาป) และประชาชน (ที่ไม่มีทางเลิกดื่มแน่ๆ ในเวลาอันใกล้?) 

ในหมู่คนดื่มน้ำเมานั้น สิ่งที่ชั่วร้ายที่สุดคือเหล้าจากบริษัทใหญ่ที่รสชาติเลวร้ายและกินแล้วแฮ้งก์ไปสามวันเจ็ดวัน มันสะท้อนว่าการผลิตเหล้าอุตสาหกรรมนั้นกระเทือนต่อสุขภาพคนดื่มแค่ไหน 

ขณะที่น้ำเมาที่ผลิตด้วยการ ‘คราฟต์’ นอกจากรสชาติจะน่ารื่นรมย์กว่า มันยังกระทบต่อสุขภาพหลังการดื่มน้อยกว่าด้วย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5OvZXl1g8dP0WqIroeoBL2/a073d26b4adb0578ce2f81c67ea636f4/White-wine-tsunami-progressive-liquor-policy-local-brands
การปลดปล่อยประชาชนให้พบกับสุราเมรัยที่กินแล้วไม่กลายเป็นภาระด้านสุขภาพ ถือเป็นคุณงามความดีอย่างหนึ่งของรัฐบาล 

มันอาจจะดียิ่งกว่าด้วยซ้ำที่รัฐจะรับเงินจาก Cartel หรือกลุ่มทุนผูกขาดในรูปของภาษีบาป แล้วอ้างว่านำเงินมาหนุนระบบสาธารณสุข ทั้งที่จริงๆ แล้วเงินก้อนใหญ่ถูกนำไปใช้โดยไร้ประสิทธิภาพ และไม่ได้ทำให้คนที่ยังกินเหล้าดีขึ้นมาเลย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์