กาลหว่าร์ 131 ปี แห่งศรัทธา

10 มีนาคม 2566 - 11:02

131-Years-Ka-Wow-faith-SPACEBAR-Thumbnail
  • เรื่องราว 131 ปี โบสถ์วัดกาลหว่าร์ ย่านตลาดน้อยกับความศรัทธาที่สรรสร้างผ่านประติมากรรมแห่งยุคสมัย

โบสถ์โกธิคสีครีมเข้ม ตั้งโดดเด่นหันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา นานมากกว่า 131 ปี โบสถ์แห่งนี้อยู่เคียงข้างชุมชนชาวจีนที่มีความหลากหลายของถิ่นที่มา มากที่สุด ‘ตลาดน้อย’ และ ‘ชุมชนต้นสำโรง’ ที่มีทั้ง ฝรั่ง แขก ไทย ญวน อาศัยรวมกัน โบสถ์ที่เกิดจากศรัทธา ดำรงอยู่ ด้วยศรัทธา แม้เวลาจะเปลี่ยน บริบทของโลกจะเปลี่ยน แต่ศรัทธายังคงเดิม ผู้คนยังคงเดินทางไปเยี่ยมชม โบสถ์ที่คงความสวยงามแม้จะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/20xCWU2bUHLIgEtgCg2A2N/2300f952734dc60b7e8b04e39e873651/131-Years-Ka-Wow-faith-SPACEBAR-Photo01
วัดพระแม่ลูกประคำ หรือวัดกาลหว่าร์ ชื่อที่มาจาก ‘กาลวารีโอ’ ภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน วัดกาลหว่าร์ สร้างขึ้นโดยชาวโปรตุเกส ทหารอาสาจากค่ายพระแม่ลูกประคำ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทหารโปรตุเกสกลุ่มนี้ ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่มากับทหารไทย เมื่อกอบกู้เอกราชกลับมา ชาวโปรตุเกสกลุ่มนี้เคยมาตั้งมั่นที่กุฎีจีน  ก่อนย้ายลงมาที่บ้านต้นสำโรง เมื่อไม่ยินดีกับมิชชันนารีฝรั่งเศส จึงเลือกมาอยู่บนที่ดินผืนเล็กๆ ที่รัชกาลที่1 พระราชทานให้  
 
โบสถ์วัดกาลหว่าร์ ครั้งแรกสร้างแบบเรียบง่าย ตัววัดทำด้วยไม้ยกพื้นสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมมีห้องประชุมขนาดใหญ่สำหรับสัตบุรุษและที่พักพระสงฆ์ ในเวลานั้นยังไม่มีบาทหลวงชาวโปรตุเกสมาประจำ มีแต่บาทหลวงชาวฝรั่งเศสมาถวายมิสซาในบางครั้ง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1rHwck4nRzmaDtrudlzcuX/aeb5357314fa70080353602d2cecfc67/131-Years-Ka-Wow-faith-SPACEBAR-Photo02
ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจีนโพ้นทะเลอพยพมายังประเทศสยามมากขึ้น ย่านตลาดน้อยเป็นแหล่งการค้าทางน้ำที่สำคัญในเวลานั้น เป็นพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรือสำเภาต้องแวะก่อนที่จะเข้าไปยังพระนครทำให้ตลาดน้อยมีความเจริญจนกลายเป็นชุมชนริมน้ำทางตอนใต้ของพระนคร กลายเป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อชาวจีนเดินทางมาถึงตลาดน้อย  
 
คนจีนมาแบบเสื่อผืนหมอนใบ มีฐานะยากจน มาแสวงหาโอกาสทางการค้าและสร้างเนื้อสร้างตัวหาเลี้ยงชีพ และนิยมที่จะเป็นแรงงาน เมื่อไม่มีญาติพี่น้องมายามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องหาที่พึ่งพิง ซึ่งวัดในคริสตังเป็นทางเลือกที่ดี เพราะความเมตตาช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากเสมอมากลุ่มชาวจีนจึงเข้ารับการช่วยเหลือจากวัดและถูกเผยแพร่ศาสนาไปด้วย วัดเป็นที่พึ่งพักพิง เป็นโรงพยาบาล โรงเรียน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/in0HbgWyOQYasu9llfDGE/a92b1d80485824a757560798ad206817/131-Years-Ka-Wow-faith-SPACEBAR-Photo03
คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ เล่าถึงการมาของคนจีนว่า คนจีนมาประเทศไทย จะบอกต่อกัน “ขึ้นจากท่า แล้วไปหาหลวงพ่อ” หมายถึง หากไม่รู้จะไปยังไง มาถึงเมืองไทย ประตูวัดเปิดรออยู่ หลวงพ่อจะช่วยหาที่พักให้ แล้วขยับขยายไปหางานทำ  กลางวันไปทำงาน กลับมานอนอนตอนกลางคืน บางคนนอนบนสามล้อ หลวงพ่อช่วยให้หาลู่ทางชีวิตให้ 

“คนจีน ถ้าได้รับความช่วยเหลือแล้ว จะไม่กลับมารบกวนอีก เขาจะหาหนทางสร้างตัว เมื่อประสบความสำเร็จ เขาจะไม่ลืม จะกลับมาร่วมพิธีมิสซา นี่คือเป็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจคริสตังจีนที่น่ายกย่อง”
 
เมื่อคนจีนมามากขึ้น คนโปรตุเกสเริ่มขยับขยายออกไป ถูกแทนที่ด้วยคริสตังจีนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เอกสารของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสในปี 1841 ระบุจำนวนคริสตังจีนในพระนครคริสตังที่วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ เป็นชาวญวน 1700 คน วัดคอนเซปชัน มีคริสตังเป็นชาวโปรตุเกสและชาวสยาม 500 คน วัดพระแม่ลูกประคำมีคริสตัง 500 คน เป็นชาวจีนที่นับถือคริสต์ 350 คน ที่เหลือเป็นชาวโปรตุเกสและชาวสยาม 150 คน จากข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าคริสตังคนจีนมีจำสวสมากที่สุดในบรรดาวัดทั้งหมด
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1SEVLoE9wsigmVNQjLifM7/75a45ff38160bbecd0e47360021b44f7/131-Years-Ka-Wow-faith-SPACEBAR-Photo04
หลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ประเทศสยามเปิดกว้างทางการค้ามากขึ้น ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ของคนจีนยิ่งมากเพิ่มมากขึ้น จากรายงานของคณะมิสซังสยามในปี 1884  งานฉลองพระแม่ลูกประคำครั้งนั้น จัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษที่วัดให้แม่รูปธรรมมีขบวนแห่ที่สง่างามมากกว่าทุกปีที่ผ่านมานอกจากคริสตังแล้วอย่างนี้ศาสนาอื่นที่ให้ความสนใจร่วมขบวนแห่จำนวนมากงานนี้ถือเป็นงานใหญ่และงานสำคัญของย่านตลาดน้อย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3zMRORrTuqX5MwLyULCUhk/e64b4ffab05cae5456a1a574742b346b/131-Years-Ka-Wow-faith-SPACEBAR-Photo05
ในช่วงนี้เองโบสถ์กาลหว่าร์ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยการก่ออิฐถือปูนเป็นวิธีการก่อสร้างสมัยนิยมที่นิยมใช้เวลาสร้าง 7 ปี ใช้งบประมาณ 77,000 บาท ทำพิธีเสกวัดในเดือนตุลาคมปี 1897 กลุ่มคริสตังจีน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวัด หากได้เคยไปเยี่ยมเยือนโบสถ์กาลหว่าร์ จะเห็นตัวหนังสือจีนปรากฏอยู่ในหลายส่วนของวัด แสดงให้เห็นถึงผู้อุปถัมภ์เป็นกลุ่มชาวจีนพ่อค้าที่ประสบความสำเร็จและกลับมาตอบแทนวัดที่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต แม้แต่พิธีมิสซายังเป็นภาษาจีน 
 
โบสถ์สีครีมเข้มยังคงตั้งมั่นอยู่ที่เดิม เป็นที่ประกอบศาสนกิจ เป็นโบราณสถาน ท่วงทำนองพิธีมิสซาภาษาจีนยังดังกังวาล แม้เสียงจะเบาลงเพราะคนจีนที่ใช้ภาษาจีนได้ เหลือน้อยเต็มที ความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ทำให้ตัวโบสถ์อายุ 131 เก่าชำรุดต้องซ่อมแซมมาหลายครั้ง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนศรัทธาในพระเจ้า ศรัทธาในรูป ‘พระแม่ลูกประคำ’ และ ‘รูปพระเยซูเจ้าตาย’ สองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถ่ายทอดศรัทธามาจากกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และกรุงเทพฯ และจะยังคงอยู่ต่อไปนานเท่านาน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์