ถอดรหัส แนวคิดจักรวาลวิทยาแบบพุทธศาสตร์ จาก พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศ

3 มีนาคม 2566 - 09:23

Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Thumbnail
  • พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศ ได้รับอิทธิพลจาก แนวคิดจักรวาลวิทยาและวิทยาศาสตร์ แปลความหมายจากสัญลักษณ์รูปสัตว์ 4 ตัว

เจดีย์สีทองสูงตระหง่าน กลางย่านบางลำภู เห็นมาตั้งแต่เด็ก ถามผู้ใหญ่ ท่านว่ามีพระธาตุพระพุทธเจ้าอยู่ข้างใน โตขึ้นมาเริ่มสังเกต เห็นมีหลายวัดที่เป็นแบบนี้ เจดีย์ทรงระฆังสีทอง อยู่ติดกับโบสถ์ วัดบวรนิเวศ วัดมกุฎกษัตริย์ วัดโสมมนัส วัดราชประดิษฐ์ วัดบรมนิวาส รูปแบบการสร้าง ตามแบบพระราชนิยมของรัฐบาลที่ 4 ตามยันทึกเก่า เจดีย์ แบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 4 แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ไม่มีเจดีย์วัดไหนที่เหมือนวัดบวร …อาจจะเป็นเพราะที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นของเจดีย์ตามพระราชนิยม  
 
พระเจดีย์นั้นมีสันฐานกลมหรือที่เรียกว่าลอมฟาง มีคูหาข้างในเข้าไปได้ … ส่วนสูงคือ 25 วาเศษ การสร้างพระเจดีย์ ยังเป็นการเปลี่ยนขนบ เพราะเจดีย์ทรงนี้ คล้ายทรงเจดีย์ จากอยุธยา แต่ไม่เหมือนเจดีย์ตอนต้นกรุงที่นิยมทำย่อไม้ แถมที่องค์พระเจดีย์ยังมีซุ้ม 4 ซุ้ม เปนทางเข้า 1 ซุ้ม เปนทางแห่งแสงสว่าง 3 ซุ้ม ที่ทักษิณชั้นบนมีซุ้มยอดปราง 4 มุม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน มีเก๋งเล็กอยู่ด้านเหนือ ประดิษฐานพระไพรีพินาศ เปนพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม น่าตัก 1 คืบ 4 นิ้ว สูงตลอดพระรัศมี 1 ศอก… ที่ไม่หมือนเจดีย์องค์อื่นเลยตรงที่
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6mLcnBodOrtK1thL2d5YtU/c7098bd8f59c0bccc727cbe1acc71148/Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Photo02
“รอบพระเจดีย์ มีซุ้มประตูทางเข้าสู่ภายในทั้ง 4 ทิศ ที่พิเศษกว่าที่อื่น เพราะมี รูปหล่อสัตว์ 4 ชนิด ยืนอยู่เหนือแต่ละซุ้มประตู ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ช้าง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ – สิงโต ทิศตะวันตกเฉียงใต้ – ม้า 
และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ – นกอินทรีย์ “  
 
รัชกาลที่ 4 คิดอะไร ท่านคงไม่ได้ทรงสร้างแบบนี้เพียงเพราะพระราชนิยม วัดบวรนิเวศ มีเจ้าอาวาสพระองค์แรก คือ พระวชิรญาณเถระ หรือ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ ที่ต่อมาคือรัชกาลที่ 4 ช่วงเวลาที่ทรงผนวชก่อนครองราชย์ 28 ปี ทรงเป็นปัญญาชนหัวก้าวหน้า ที่ศึกษาความรู้ของชาวตะวันตก  ทรงตั้งธรรมยุติกนิกายเพื่อปฎิรูปกิจการคณะสงฆ์ไทย เมื่อทรงครองวัดบวรนิเวศ จึงเป็นสถานที่ทดลองแนวคิดใหม่ๆ  
 
พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศ น่าจะได้รับอิทธิพลจาก แนวคิดจักรวาลวิทยาและวิทยาศาสตร์ แปลความหมายจากสัญลักษณ์รูปสัตว์ 4 ตัว 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1e4Tr6b5kw3kQbg0VriNFO/e5abb6c5453fdb6e74a0506989c6f4d1/Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Photo03
เริ่มจาก ช้าง น่าเป็นสัญลักษณ์ของ สยาม หรือประเทศไทย เพราะมีช้างเป็นสัญลักษณ์ปรากฏบนผืนธงชาติ สิงโต หมายถึง สหราชอาณาจักร ม้า เป็นสัญลักษณ์ของ ฝรั่งเศส และนกอินทรี หมายถึง สหรัฐอเมริกา คำอธิบายปริศนานี้ อยู่ที่ช่องคูหาใต้พระเจดีย์ ที่ใต้ซุ้มรูปสัตว์ มีประตูทางเข้าออก แต่ละบานมีลวดลายธิบายความหมาย 
 
ช้าง มีภาพช้างเชือกหนึ่ง ด้านล่างมีภาพต้นข้าว และรวงข้าวที่มัดไว้ ใกล้กันมีภาชนะบรรจุที่คล้ายกับเครื่องจักสาน หรือกระสอบ มีข้าวเป็นสินค้าทางเกษตร
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5eYzFZMgMnrnYWHSns55xB/bfbbb8fe11a649a1cef367ab0182810f/Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Photo04
สิงโต มี ภาพสิงโต ขาหน้าข้างซ้ายถือโล่ลายกากบาท คล้ายกับ Saint George shield และเป็นลายเดียวกันกับ Saint George’s Cross ที่ปรากฏบนธงชาติอังกฤษใต้ขาหลังมีกล้องส่องทางไกล ไม้เท้า และปืนไขว้กันอยู่ เหนือสิงโตมีภาพมงกุฎขนนก 3 แฉก คล้ายกับ Prince of Wales’s feathers หรือพระราชลัญจกรของมกุฎราชกุมารอังกฤษ ด้านล่างมีรูป พิณ (Harp) แตรฝรั่งและลูกศรไขว้กันคล้ายกับอักษร UK ซ้อนกันอยู่
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2NYGd98hp9GN3ZOSs3oNxh/95f4dc99adadd2d5a235629d7672e4f1/Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Photo05
ม้า ภาพม้ายืนเหนือคทาไขว้ ปืนใหญ่ แตรฝรั่ง และหมวก Bicorne หมวกของทหารในกลุ่มประเทศยุโรป ที่นิยมในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 แต่ภาพหมวก Bicorne ที่เห็นกันมาก คือ พระมาลาของจักรพรรดิ Napoleon I (Napoleon Bonaparte) ที่ทรงมักจะสวมใส่อยู่เสมอ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5MGveCAfFaBdFH94M691nj/8104092d355be7052416f6f67f64fb57/Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Photo06
นกอินทรี มีภาพนกอินทรีใช้ปากคาบและใช้กรงเล็บกำลูกศร 13 ดอก ด้านล่างมีกระบอกลูกศรและคบเพลิงไขว้กันอยู่ นกอินทรี เป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกา ลูกศร 13 ดอก แสดงถึง 13 อาณานิคมของอังกฤษริมชายฝั่งตะวันออก ซึ่งต่อมาได้เป็น 13 รัฐแรกก่อตั้งสหรัฐอเมริกา 
 
น่าจะตีความว่า สัตว์ทั้ง 4 เป็นตัวแทนของประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลรายล้อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้น เจดีย์ทอง อยู่กลาง มหาอำนาจ น่าจะหมายถึงพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรือง มันคง เป็นดังเขาพระสุเมรุที่ประทับของมหาเทวะ เป็นศูนย์กลางจักรวาล ที่รายล้อมด้วยตัวแทนของประเทศมหาอำนาจ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/11cosppx3HMNAU1pAh6I09/f609b8a33d13cde03b1ca8372d870994/Decode-Wat-Bowonniwet-Vihara-SPACEBAR-Photo07
พระเจดีย์ ที่วัดบวร เป็นการออกแบบที่สะท้อน การเปิดกว้างยอมรับประเทศตะวันตก แต่ยกย่องพระพุทธศาสนา ยกย่อง อภิปรัชญา แห่งความหลุดพ้น ดับสิ้นซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เชื่อว่ารูปแบบในการสร้างพระเจดีย์วัดบวรนิเวศ น่าจะไม่ได้รับการตอบรับในเวลาต่อมา พระเจดีย์ ในพระอารมหลวงที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 4 จึงไม่มีรูปแบบ เช่นเจดีย์วัดบวรอีกเลย พระเจดีย์วัดบวรยังประดิษฐานคงมั่นอยู่ คอยสะท้อนมุมมองต่อการทำให้พระพุทธศาสนา เป็นของทันสมัย อวดแนวคิดพุทธศาสตร์ ต่อสายตาชาวโลก ความลึกซึ้งนี้อาจตีความผิดพลาด ขอรับไว้ด้วยภูมิรู้น้อยของผู้เขียน เพราะการตีความต้องใช้ข้อมูลความรู้ จึงจะพอมองเห็นถึงมุมมองของปัญญาชนสยามยุคแรกที่เริ่มรับเอาแนวคิดใหม่เข้ามาผสมผสานกับภูมิความรู้ดั้งเดิม  
 
นี่แหละที่นักประวัติศาสตร์ ว่าไว้ว่าอิฐเก่าๆ แต่ละก้อน มีคุณค่า บอกเล่า ถ่ายทอดเรื่องราว ความคิดและภูมิปัญาของบรรพบุรุษ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์