On This Day : 13 มีนาคม วันช้างไทย

13 มีนาคม 2566 - 05:57

On-This-Day-Elephant-Thailand-Day-SPACEBAR-Thumbnail
  • 13 มีนาคมของทุกปีคือ วันช้างไทย

วันช้างไทย 13 มีนาคม 

 
คนยุคก่อน มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับช้าง แม้จะไม่มีเทคโนโลยีแบบทุกวันนี้ แต่สามารถเข้าใจ ‘ช้าง’ รู้แม้กระทั่ง จำนวนช้างที่อยูุ่ในพื้นที่บริเวณนั้น เรียกว่าวิธีสำรวจช้าง  
 
ก่อนจะสำรวจช้าง เราต้องเข้าใจช้างเบื้องต้นก่อน เริ่มด้วยตามธรรมชาติ ‘ช้าง’ อยู่กันเป็นโขลง ไม่อยู่โดดเดี่ยว โขลงจะมี ‘จ่าโขลง’ หรือ ‘หัวหน้าโขลง’ รับผิดชอบดูแลและระวังภัย  
ช้าง มีเวลาพักผ่อนเหมือนคนในตอนเที่ยง พอพระอาทิตย์ตรงหัว ช้างจะหยุดพักตอนเที่ยง ช้างจะไม่หยุดไปกินข้าวเหมือนคน แต่เวลาพักเที่ยง ช้างจะนอน เวลากินหรือหากินของช้าง เริ่มตั้งแต่หัวรุ่ง กินมาเรื่อย พอเที่ยงจึงพักผ่อน 
 
จุดที่ข้างเลือกพักนอน จะเลือกโดยจ่าโขลง เลือกสถานที่ปลอดภัยต่ออันตราย เมื่อเลือกจุดได้แล้ว ก่อนลงนอน จ่าโขลงจะเอาฝุ่นหรือใบไม้โปรยขึ้นเหนือหัวเพื่อดูว่าลมพักมาจากทางไหนเมื่อแน่ใจแล้วช้างจะหันไปทางที่ลมพัดมาเพื่อจะได้กลิ่นสิ่งผิดปกติ 
 
หลังจากหลับแล้ว ช้างจะตื่นและ .. ถ่ายมูลไว้ เชือกละ กอง  ไฮไลต์อยู่ตรงนี้ ถ้าอยากรู้จำนวนช้างในโขลงนั้น ก็ นับ กอง… สิครับ  ช้าง มีจำนวนเท่าไรดูจากจำนวนมูล มีช้างตัวใหญ่หรือเล็กเท่าไหร่ดูจากขนาดกอง ความละเอียดแลหยาบ จะบอกอายุช้าง มูลที่มีกากเยอะ แสดงว่าย่อยไม่ละเอียด ช้างจะมีอายุมาก 
 
วิธีแยกช้างพัง หรือช้างพลาย ดูจาก กองเหมือนกัน กองที่มีปัสสาวะปนคือช้างพัง ช้างพลายไม่มีปัสสาวะปน 
ดูยังไงว่า โขลงนั้น มีช้างที่มีงาด้วยหรือไม่ ช้างที่มีงา จะนอนห่างโขลงเล็กน้อย ช้างมีงา เวลาลุกจะมีรอยเท้าหน้า กดลงบนพื้นมากกว่าช้างไม่มีงา 
 
ใช้กับช้างที่มีงา จะมีช้างสีดอที่มีงาสั้น ทำหน้าที่ปกป้องช้างที่มีงาเวลาเกิดอันตราย นี่คือภูมิปัญญาวิธีเข้าใจ ‘ช้างป่า’ บางข้อช่วยให้เข้าใจ ‘ช้างเลี้ยง’ได้ ทุกอย่างเป็นเรื่องของความสนใจและสังเกต เพื่อเข้าใจ ‘ช้าง’ ในวัน ‘ช้างไทย’

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์