นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คำสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ไม่เคยพูดว่าหากแก้รัฐธรรมนูญเสร็จจะยุบสภา แต่โลกออนไลน์มีการขุดคำสัมภาษณ์ก่อนหน้าที่นพ.ชลน่านจะประกาศแยกตัวจากพรรคก้าวไกล ที่ระบุว่าหากทำรัฐธรรมนูญเสร็จจะคืนอำนาจให้ประชาชน
โดยนพ.ชลน่าน กล่าวว่า ถ้าให้ตอบในนามจุดยืนของรัฐบาล ก็ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากต้องพูดคุยกัน ซึ่งเราเริ่มต้นด้วยการทำงานกับพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาล แต่เอ็มโอยูกับพรรคก้าวไกลก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ทำให้ต้องมาจับมือกับ 11 พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเราเองก็มีเจตนาที่จะทำเหมือนที่ทำเอ็มโอยูกับพรรคก้าวไกล คือต้องไปทำประชามติก่อน ถ้าประชาชนเห็นชอบด้วยว่าจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่คำถาม คือถ้าเราพ่วงคำว่าการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)มันก็จะมีคำตอบตรงนั้น และเอาคำตอบตรงนั้นมาแก้ 2 ระบบ โดยผ่านกระบวนการรัฐสภานำไปสู่ขั้นตอนการทำประชามติ ทั้งนี้ เมื่อทำประชามติแล้วหมายความว่ารัฐธรรมนูญถูกแก้ ก็จะต้องมีการยกร่าง รัฐธรรมนูญโดยอาจใช้เวลากี่เดือนก็ว่ากันไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการนำเสนอเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำประชามติขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะนำ แล้วจะธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้
เมื่อถามว่าจะมีการยุบสภาฯหรือนั้น นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ต้องไปดูบริบทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่าหากทำเสร็จจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ หากทำเสร็จเร็วก็จะเป็นเงื่อนไขว่าสามารถตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้หรือไม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้ผูกมัด
เมื่อถามต่อว่าต้องพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ในเรื่องการยุบสภา นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มันเป็นขั้นตอนที่เราเขียนไว้อยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติถ้าเราทำเองในฐานะผู้ดูแลเรื่องนี้ ก็ต้องไปตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณา ในเรื่องกระบวนการวิธีการว่าเขาจะเห็นด้วยตามนี้หรือไม่ แต่หากมีมติเห็นชอบตามนี้ ก็ต้องผลักดันไปตามนี้ ทั้งนี้ เน้นย้ำว่าต้องพูดคุยกันและต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่ว่า จะเกิดประโยชน์สุขกับประชาชนด้วย
โดยนพ.ชลน่าน กล่าวว่า ถ้าให้ตอบในนามจุดยืนของรัฐบาล ก็ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากต้องพูดคุยกัน ซึ่งเราเริ่มต้นด้วยการทำงานกับพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาล แต่เอ็มโอยูกับพรรคก้าวไกลก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ทำให้ต้องมาจับมือกับ 11 พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเราเองก็มีเจตนาที่จะทำเหมือนที่ทำเอ็มโอยูกับพรรคก้าวไกล คือต้องไปทำประชามติก่อน ถ้าประชาชนเห็นชอบด้วยว่าจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่คำถาม คือถ้าเราพ่วงคำว่าการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)มันก็จะมีคำตอบตรงนั้น และเอาคำตอบตรงนั้นมาแก้ 2 ระบบ โดยผ่านกระบวนการรัฐสภานำไปสู่ขั้นตอนการทำประชามติ ทั้งนี้ เมื่อทำประชามติแล้วหมายความว่ารัฐธรรมนูญถูกแก้ ก็จะต้องมีการยกร่าง รัฐธรรมนูญโดยอาจใช้เวลากี่เดือนก็ว่ากันไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการนำเสนอเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำประชามติขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะนำ แล้วจะธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้
เมื่อถามว่าจะมีการยุบสภาฯหรือนั้น นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ต้องไปดูบริบทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่าหากทำเสร็จจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ หากทำเสร็จเร็วก็จะเป็นเงื่อนไขว่าสามารถตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้หรือไม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้ผูกมัด
เมื่อถามต่อว่าต้องพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ในเรื่องการยุบสภา นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มันเป็นขั้นตอนที่เราเขียนไว้อยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติถ้าเราทำเองในฐานะผู้ดูแลเรื่องนี้ ก็ต้องไปตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณา ในเรื่องกระบวนการวิธีการว่าเขาจะเห็นด้วยตามนี้หรือไม่ แต่หากมีมติเห็นชอบตามนี้ ก็ต้องผลักดันไปตามนี้ ทั้งนี้ เน้นย้ำว่าต้องพูดคุยกันและต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่ว่า จะเกิดประโยชน์สุขกับประชาชนด้วย