17 กันยายน 2566 ‘พริษฐ์ วัชรสินธุ’ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงอนาคตของนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า นโยบายยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร เป็นนโยบายที่มีความสำคัญต่อทั้งเสรีภาพของปัจเจกบุคคล และการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ของโครงสร้างเศรษฐกิจในภาพรวม
ในรายการสดกับสำนักข่าวแห่งหนึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการเกณฑ์ทหารไว้ว่า “เรื่องเกณฑ์ทหารสมัครใจ ผมไม่เคยบอกยกเลิก ผมไม่เข้าใจว่าคำว่ายกเลิกนี้หมายความว่าอะไร? ไม่ให้มีอีกแล้ว? ไม่ให้มีทหารอีกแล้ว? แล้วคนที่เกษียณไป ตายไป? หรือว่าจะให้กำลังกองทัพไม่มีเลย? ผมไม่ทราบ ผมไม่รู้ ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเพื่อไทย (เรา) ชัดเจน ผมพูดตลอดทุกเวทีว่าเป็นเรื่องของการ ‘สมัครใจเกณฑ์ทหาร’ ให้พี่น้องมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพให้ได้ ใช่ไหมครับ?”
พริษฐ์กล่าวว่า หากคำพูดนี้ถูกกล่าวโดยคนที่เห็นด้วยกับการเกณฑ์ทหาร ตนจะไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร และกลับรู้สึกว่าตนต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นในการสร้างความเข้าใจเรื่องนโยบาย ‘ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร’ และโน้มน้าวคนที่ยังไม่เห็นด้วยให้หันมาเห็นด้วย
แต่พอคำพูดนี้ถูกกล่าวโดยคนที่เป็นนายกฯ ซึ่งพูดถึงปัญหาของการเกณฑ์ทหารอยู่บ่อยครั้งก่อนการเลือกตั้ง ส่วนตัวรู้สึกผิดหวัง เพราะนอกจากจุดยืนเชิงนโยบายที่ดูจะเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เคยพูดไว้ก่อน แต่คำสัมภาษณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าท่านนายกฯ อาจจะยังไม่ได้เข้าใจถึงความหมายของปัญหาและนโยบายนี้อย่างเพียงพอ
1) ท่านนายกฯ บอกว่า ท่านไม่เคยบอก ‘ยกเลิก’ เกณฑ์ทหาร ซึ่งไม่เป็นความจริง
ประเด็นนี้ คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก เพราะประชาชนได้มีการแชร์ทั้งคำพูดเมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว จากท่านนายกฯ เองเคยพูดในลักษณะที่เห็นด้วยกับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ยังไม่นับข้อความในเพจพรรคเพื่อไทยที่ยืนยันว่าจะ ‘แก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’
2) ท่านนายกฯ พูดเสมือนว่าการ ‘ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’ เท่ากับการ ‘ไม่ให้มีทหารอีกแล้ว’ ซึ่งไม่เป็นความจริง
การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ไม่เท่ากับการยกเลิกกองทัพหรือการไม่ให้มีทหาร แต่เพียงการยกเลิกการ ‘เกณฑ์’ หรือ การ ‘บังคับ’ คนไปเป็นทหาร (ในยามที่ไม่มีสงคราม) เพื่อให้กองทัพประกอบไปด้วยทหารที่สมัครใจเป็นทหารเท่านั้น (ในยามที่ไม่มีสงคราม)
3) ท่านนายกฯ ใช้คำว่า ‘เกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ’ ซึ่งเป็นข้อความที่ย้อนแย้งในตัวเอง
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ได้ยินท่านนายกฯ ใช้คำพูดลักษณะนี้ แต่ตนก็สงสัยทุกครั้งว่าท่านหมายถึงอะไร เนื่องจากคำว่า ‘เกณฑ์’ หมายถึง ‘บังคับ’ ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า ‘สมัครใจ’ (หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มันเสมือนกับการพูดประโยค เช่น ท่านอยากดื่ม ‘ชาร้อนแบบเย็น’ หรือ ท่านทำงาน ‘เร็วแบบช้า’)
หากใครจะบอกว่าท่านนายกฯ หมายถึงระบบที่มีเปิดให้คน ‘สมัคร’ เป็นทหาร และ ‘เกณฑ์’ หากยอดสมัครใจไม่ครบ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะระบบปัจจุบันก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ดังนั้นการพูดแบบนี้ก็ไม่ได้หมายถึง การมีนโยบายที่แตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบันแต่อย่างไร
4) (แถม) ท่านรัฐมนตรีกลาโหมกล่าวในสภาฯ เสมือนว่าการยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารอาจขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เป็นความจริง
รัฐธรรมนูญ มาตรา 50(5) ระบุว่า ‘บุคคลมีหน้าที่ รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ’ ซึ่งหมายความบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (ซึ่งหมายรวมถึงทุกเพศ) จะถูก ‘เกณฑ์’ หรือ ‘บังคับ’ ให้ไปรับราชการทหาร ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายที่ระบุให้ชัดถึงหน้าที่ดังกล่าว
ปัจจุบัน ‘ชายไทยตามกฎหมาย’ ยังถูกบังคับให้ไปรับราชการทหารได้ เพราะมี พ.ร.บ. รับราชการทหาร 2497 ที่ไประบุในมาตรา 7 ว่า ‘ชายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน’ พร้อมกับเงื่อนไขรายละเอียดและข้อยกเว้นต่างๆ แต่ในทางกลับกัน ‘หญิงไทยตามกฎหมาย’ ไม่อยู่ในสถานะที่จะถูกบังคับให้ไปรับราชการทหารได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายอะไรที่ระบุหน้าที่หรือเปิดช่องให้มีการบังคับเช่นนั้น
ดังนั้น การแก้ไข พ.ร.บ. รับราชการทหาร 2497 เพื่อยกเลิกการบังคับ ‘ชายไทยตามกฎหมาย’ ให้ไปรับราชการทหารในยามที่ไม่มีสงคราม จึงเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนตัวตระหนักดีว่าการ ‘ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’ ทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 = เลิกแบบลุ้นปีต่อปี (ผ่านการลดจำนวนยอดกำลังพลที่กองทัพขอในแต่ละปีและเพิ่มยอดสมัครใจในแต่ละปี เพื่อหวังให้ยอดสมัครใจสูงกว่ายอดกำลังพลที่ต้องการ จนทำให้ไม่ต้อง ‘เกณฑ์’ ใครในปีนั้นๆ โดยไม่มีการแก้กฎหมาย)
วิธีที่ 2 = เลิกแบบการันตีไม่มีเกณฑ์ (ผ่านการแก้กฎหมาย พ.ร.บ. รับราชการทหาร 2497 เพื่อตัดอำนาจกองทัพในการบังคับคนมาเป็นทหารในยามที่ไม่มีสงคราม)
ทั้งนี้ เชื่อว่าวิธีที่ 2 ไม่เพียงแต่จะให้ความชัดเจนกว่า แถมยังเพิ่มแรงกดดันให้กองทัพในการยกระดับคุณภาพชีวิตพลทหารอย่างเร่งด่วน แต่ยังเป็นวิธีที่น่าจะสอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่เขียนไว้ในเว็บไซต์พรรคว่าสนับสนุนให้มีการ ‘แก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’
แม้ผมเข้าใจถึงบริบทของรัฐบาลผสมที่อาจต้องมีการประนีประนอมในเชิงนโยบายบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายที่ต้องอาศัยมติ ครม. (ซึ่งต้องการฉันทามติจากทุกพรรคร่วมรัฐบาล) หรือต้องอาศัยงบประมาณจำนวนมากที่ต้องแบ่งกันออกไปตามนโยบายของแต่ละพรรค แต่นโยบาย ‘ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร’ เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยไม่ควรจะต้องเปลี่ยนจุดยืนแม้ในบริบทของรัฐบาลผสม เพราะเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยสามารถเดินหน้าต่อได้ด้วยตนเอง โดยไม่กระทบการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น เนื่องจาก
1) รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเสนอกฎหมายเข้าสภาในฐานะ ครม. เอง เพราะพรรคก้าวไกลได้ยื่นเข้าสู่สภาฯ แล้ว และรอเพียงคำรับรองจากนายกฯ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น มติ ครม.) เพื่อให้ร่างดังกล่าวได้เข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ (เนื่องจากเป็นร่างการเงิน) - (แต่หากพรรคเพื่อไทยเห็นต่างอย่างมีนัยสำคัญกับร่างของพรรคก้าวไกล ก็สามารถให้ สส. เพื่อไทยยื่นร่างประกบได้)
2) พรรคเพื่อไทยสามารถโหวตรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าวได้ แม้พรรคร่วมรัฐบาลอื่นอาจไม่เห็นด้วยทั้งหมด เพราะหากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเห็นชอบ (ซึ่งมี สส. รวมกันประมาณ 290+ คน) ร่างกฎหมายดังกล่าวก็จะสามารถได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของ สส. ในชั้นรับหลักการ (วาระที่ 1) โดยหากพรรคเพื่อไทยเห็นต่างในบางรายละเอียด ก็สามารถไปเสนอแก้ไขต่อได้ในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการและวาระที่ 2
3) หากกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ จนนำมาสู่การบังคับใช้ รัฐมนตรีที่จะต้องทำหน้าที่ต่อในการบริหารจัดการผลลัพธ์ที่ตามมา ก็คือรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย (รมต. สุทิน คลังแสง) ไม่ใช่จากพรรคร่วมรัฐบาลอื่น
“ผมหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะยืนหยัดแน่วแน่ในการเดินหน้ายกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร เพราะหากเป็นเช่นนั้น ประชาชน (โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นถัดๆไป) จะจดจำกันทั่วประเทศ ว่าเราได้ร่วมกันยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารโดยสำเร็จ ภายใต้นายกฯ ที่มีชื่อว่า เศรษฐา ทวีสิน” พริษฐ์ระบุ
ในรายการสดกับสำนักข่าวแห่งหนึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการเกณฑ์ทหารไว้ว่า “เรื่องเกณฑ์ทหารสมัครใจ ผมไม่เคยบอกยกเลิก ผมไม่เข้าใจว่าคำว่ายกเลิกนี้หมายความว่าอะไร? ไม่ให้มีอีกแล้ว? ไม่ให้มีทหารอีกแล้ว? แล้วคนที่เกษียณไป ตายไป? หรือว่าจะให้กำลังกองทัพไม่มีเลย? ผมไม่ทราบ ผมไม่รู้ ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเพื่อไทย (เรา) ชัดเจน ผมพูดตลอดทุกเวทีว่าเป็นเรื่องของการ ‘สมัครใจเกณฑ์ทหาร’ ให้พี่น้องมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพให้ได้ ใช่ไหมครับ?”
พริษฐ์กล่าวว่า หากคำพูดนี้ถูกกล่าวโดยคนที่เห็นด้วยกับการเกณฑ์ทหาร ตนจะไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร และกลับรู้สึกว่าตนต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นในการสร้างความเข้าใจเรื่องนโยบาย ‘ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร’ และโน้มน้าวคนที่ยังไม่เห็นด้วยให้หันมาเห็นด้วย
แต่พอคำพูดนี้ถูกกล่าวโดยคนที่เป็นนายกฯ ซึ่งพูดถึงปัญหาของการเกณฑ์ทหารอยู่บ่อยครั้งก่อนการเลือกตั้ง ส่วนตัวรู้สึกผิดหวัง เพราะนอกจากจุดยืนเชิงนโยบายที่ดูจะเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เคยพูดไว้ก่อน แต่คำสัมภาษณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าท่านนายกฯ อาจจะยังไม่ได้เข้าใจถึงความหมายของปัญหาและนโยบายนี้อย่างเพียงพอ
1) ท่านนายกฯ บอกว่า ท่านไม่เคยบอก ‘ยกเลิก’ เกณฑ์ทหาร ซึ่งไม่เป็นความจริง
ประเด็นนี้ คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก เพราะประชาชนได้มีการแชร์ทั้งคำพูดเมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว จากท่านนายกฯ เองเคยพูดในลักษณะที่เห็นด้วยกับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ยังไม่นับข้อความในเพจพรรคเพื่อไทยที่ยืนยันว่าจะ ‘แก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’
2) ท่านนายกฯ พูดเสมือนว่าการ ‘ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’ เท่ากับการ ‘ไม่ให้มีทหารอีกแล้ว’ ซึ่งไม่เป็นความจริง
การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ไม่เท่ากับการยกเลิกกองทัพหรือการไม่ให้มีทหาร แต่เพียงการยกเลิกการ ‘เกณฑ์’ หรือ การ ‘บังคับ’ คนไปเป็นทหาร (ในยามที่ไม่มีสงคราม) เพื่อให้กองทัพประกอบไปด้วยทหารที่สมัครใจเป็นทหารเท่านั้น (ในยามที่ไม่มีสงคราม)
3) ท่านนายกฯ ใช้คำว่า ‘เกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ’ ซึ่งเป็นข้อความที่ย้อนแย้งในตัวเอง
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ได้ยินท่านนายกฯ ใช้คำพูดลักษณะนี้ แต่ตนก็สงสัยทุกครั้งว่าท่านหมายถึงอะไร เนื่องจากคำว่า ‘เกณฑ์’ หมายถึง ‘บังคับ’ ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า ‘สมัครใจ’ (หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มันเสมือนกับการพูดประโยค เช่น ท่านอยากดื่ม ‘ชาร้อนแบบเย็น’ หรือ ท่านทำงาน ‘เร็วแบบช้า’)
หากใครจะบอกว่าท่านนายกฯ หมายถึงระบบที่มีเปิดให้คน ‘สมัคร’ เป็นทหาร และ ‘เกณฑ์’ หากยอดสมัครใจไม่ครบ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะระบบปัจจุบันก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ดังนั้นการพูดแบบนี้ก็ไม่ได้หมายถึง การมีนโยบายที่แตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบันแต่อย่างไร
4) (แถม) ท่านรัฐมนตรีกลาโหมกล่าวในสภาฯ เสมือนว่าการยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารอาจขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เป็นความจริง
รัฐธรรมนูญ มาตรา 50(5) ระบุว่า ‘บุคคลมีหน้าที่ รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ’ ซึ่งหมายความบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (ซึ่งหมายรวมถึงทุกเพศ) จะถูก ‘เกณฑ์’ หรือ ‘บังคับ’ ให้ไปรับราชการทหาร ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายที่ระบุให้ชัดถึงหน้าที่ดังกล่าว
ปัจจุบัน ‘ชายไทยตามกฎหมาย’ ยังถูกบังคับให้ไปรับราชการทหารได้ เพราะมี พ.ร.บ. รับราชการทหาร 2497 ที่ไประบุในมาตรา 7 ว่า ‘ชายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน’ พร้อมกับเงื่อนไขรายละเอียดและข้อยกเว้นต่างๆ แต่ในทางกลับกัน ‘หญิงไทยตามกฎหมาย’ ไม่อยู่ในสถานะที่จะถูกบังคับให้ไปรับราชการทหารได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายอะไรที่ระบุหน้าที่หรือเปิดช่องให้มีการบังคับเช่นนั้น
ดังนั้น การแก้ไข พ.ร.บ. รับราชการทหาร 2497 เพื่อยกเลิกการบังคับ ‘ชายไทยตามกฎหมาย’ ให้ไปรับราชการทหารในยามที่ไม่มีสงคราม จึงเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนตัวตระหนักดีว่าการ ‘ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’ ทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 = เลิกแบบลุ้นปีต่อปี (ผ่านการลดจำนวนยอดกำลังพลที่กองทัพขอในแต่ละปีและเพิ่มยอดสมัครใจในแต่ละปี เพื่อหวังให้ยอดสมัครใจสูงกว่ายอดกำลังพลที่ต้องการ จนทำให้ไม่ต้อง ‘เกณฑ์’ ใครในปีนั้นๆ โดยไม่มีการแก้กฎหมาย)
วิธีที่ 2 = เลิกแบบการันตีไม่มีเกณฑ์ (ผ่านการแก้กฎหมาย พ.ร.บ. รับราชการทหาร 2497 เพื่อตัดอำนาจกองทัพในการบังคับคนมาเป็นทหารในยามที่ไม่มีสงคราม)
ทั้งนี้ เชื่อว่าวิธีที่ 2 ไม่เพียงแต่จะให้ความชัดเจนกว่า แถมยังเพิ่มแรงกดดันให้กองทัพในการยกระดับคุณภาพชีวิตพลทหารอย่างเร่งด่วน แต่ยังเป็นวิธีที่น่าจะสอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่เขียนไว้ในเว็บไซต์พรรคว่าสนับสนุนให้มีการ ‘แก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร’
แม้ผมเข้าใจถึงบริบทของรัฐบาลผสมที่อาจต้องมีการประนีประนอมในเชิงนโยบายบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายที่ต้องอาศัยมติ ครม. (ซึ่งต้องการฉันทามติจากทุกพรรคร่วมรัฐบาล) หรือต้องอาศัยงบประมาณจำนวนมากที่ต้องแบ่งกันออกไปตามนโยบายของแต่ละพรรค แต่นโยบาย ‘ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร’ เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยไม่ควรจะต้องเปลี่ยนจุดยืนแม้ในบริบทของรัฐบาลผสม เพราะเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยสามารถเดินหน้าต่อได้ด้วยตนเอง โดยไม่กระทบการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น เนื่องจาก
1) รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเสนอกฎหมายเข้าสภาในฐานะ ครม. เอง เพราะพรรคก้าวไกลได้ยื่นเข้าสู่สภาฯ แล้ว และรอเพียงคำรับรองจากนายกฯ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น มติ ครม.) เพื่อให้ร่างดังกล่าวได้เข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ (เนื่องจากเป็นร่างการเงิน) - (แต่หากพรรคเพื่อไทยเห็นต่างอย่างมีนัยสำคัญกับร่างของพรรคก้าวไกล ก็สามารถให้ สส. เพื่อไทยยื่นร่างประกบได้)
2) พรรคเพื่อไทยสามารถโหวตรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าวได้ แม้พรรคร่วมรัฐบาลอื่นอาจไม่เห็นด้วยทั้งหมด เพราะหากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเห็นชอบ (ซึ่งมี สส. รวมกันประมาณ 290+ คน) ร่างกฎหมายดังกล่าวก็จะสามารถได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของ สส. ในชั้นรับหลักการ (วาระที่ 1) โดยหากพรรคเพื่อไทยเห็นต่างในบางรายละเอียด ก็สามารถไปเสนอแก้ไขต่อได้ในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการและวาระที่ 2
3) หากกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ จนนำมาสู่การบังคับใช้ รัฐมนตรีที่จะต้องทำหน้าที่ต่อในการบริหารจัดการผลลัพธ์ที่ตามมา ก็คือรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย (รมต. สุทิน คลังแสง) ไม่ใช่จากพรรคร่วมรัฐบาลอื่น
“ผมหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะยืนหยัดแน่วแน่ในการเดินหน้ายกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร เพราะหากเป็นเช่นนั้น ประชาชน (โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นถัดๆไป) จะจดจำกันทั่วประเทศ ว่าเราได้ร่วมกันยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารโดยสำเร็จ ภายใต้นายกฯ ที่มีชื่อว่า เศรษฐา ทวีสิน” พริษฐ์ระบุ