‘นักวิชาการ’ เตือน ‘ซีเซียม-137’ ถูกหลอม ต้องเฝ้าระวังอย่างน้อย 5 ปี

21 มีนาคม 2566 - 03:23

sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Hero
  • ‘นักวิชาการ’ เตือน ‘ซีเซียม-137’ ถูกหลอม ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในรัศมี 5 กม. ต้องเฝ้าระวังสุขภาพอย่างน้อย 5-10 ปี เหตุเสี่ยงเกิดมะเร็ง จี้ ต้องบอกความจริงประชาชน

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ‘ดร.สนธิ คชวัฒน์’ ได้โพสต์เฟซบุ๊กผ่านบัญชี Sonthi Kotchawat โดยแสดงความกังวลและมีข้อเสนอแนะ ต่อกรณีที่พบว่าวัสดุกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม-137’ ที่หายไปจากโรงงานไฟฟ้า ถูกนำไปหลอม โรงถลุงเหล็ก ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โดยระบุข้อความว่า ความจริงที่ต้องยอมรับเพื่อนำไปสู่การจัดการสำหรับ Cs137 ที่ถูกหลอมไปแล้ว 

1.ข้อมูลกรมโรงงานแท่ง Cs137 ถูกหลอมกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานเคพีพีซึ่งเป็นโรงงานหลอมเหล็กใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีแลัวได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวน การรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 66  

2.กระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม จะนำเศษเหล็ก (ซึ่งกรณีนี้มีแท่ง Cs137 มารวมด้วย) มาอัดกันเป็นก้อนแล้วเทเข้าสู่เตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาขณะที่เพิ่มความร้อนจะมีฝุ่นเหล็กละเอียดออกมาลอยผ่าน Hood ขึ้นไปสู่ถุงกรองฝุ่นหรือ Baghouse filter ซึ่งจะทำ การกรองฝุ่นละเอียดไว้ได้ถึง 90% อีก 10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศขณะที่ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กหรือ Slag ที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย 
 
3.ดังนั้นที่ปลายปล่องมีฝุ่นละเอียดกับ Cs137 ระบายออกไปสู่บรรยากาศรอบๆ โรงงานหลอมเหล็กซึ่งอาจไปไกลมากกว่า 5 กม. ส่วนฝุ่นแดงกับ Cs137 ในถุงกรองหรือ Baghouse filter จะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่นำไปรีไซเคิลยังโรงงานบริษัท เอ็น เอฟ เอ็ม อาร์ จำกัด หนองแฟบ ห้วยโป่ง จ.ระยอง เพื่อสกัดธาตุสังกะสีออกมาซึ่งการสกัดต้องใช้การถลุงที่ใช้ความร้อนสูงจึงอาจมี Cs137 ปนเปื้อนออกมาที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศรอบๆ โรงงานนั้นใน จ.ระยอง ด้วยส่วนตะกรันเหล็กหรือ Slag ทราบว่าโรงงานหลอมเอาไปฝังกลบไว้รอบๆ โรงงาน ดังนั้นจึงอาจมีสาร Cs137 ปนเปื้อนในดิน น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้ 

4.สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสาร Cs137 ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ ดินและอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ วิทยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้ง การหายใจและทางอาหาร เช่น Cs137 ลงในน้ำเข้าสู่ตัวปลาและมนุษย์จับปลามากิน เป็นต้นหรือหาย ใจเอาฝุ่นของ Cs137 เข้าไปจะสะสมอยู่ในร่าง กายซึ่งสาร Cs137 จะปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้าออกมา การสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30 ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่น Cs137 จะทำให้เซลล์ในร่างกายเกิด Mutation หรือกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปรกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้น โครโมโซมในยีนส์ให้เปลี่ยนรูป สุดท้ายประมาณ 5-10 ปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้ 

5.ผลกระทบต่อสุขภาพในปัจจุบันอาจไม่ค่อยเห็นแต่ระยะยาวหากรับสารนี้เข้าไปไม่ว่าทาง การหายใจหรือการกินมีผลกระทบแน่ ดังนั้นภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนรวมทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาหารสัตว์น้ำ พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกใกล้เคียงโรงงานอย่างน้อย 1-2 ปี ให้แน่ใจว่าไม่มีสาร Cs137 ตกค้างในห่วงโซ่อาหารแล้วจึงค่อยวางมือ ขณะเดียวกันต้องบอกความจริงเกี่ยวกับผลของการตรวจวัดรังสีและผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบรวมทั้งเฝ้าระวังสุขภาะประชาชนกลุ่มเสียงในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างน้อย 5 ปีด้วย 

ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี ได้โพสต์ข้อมูล เกี่ยวกับลักษณะของ ‘ซีเซียม-137’ ว่า เป็นโลหะอ่อนสีขาวเงิน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี สลายตัวโดยปล่อยรังสีเบต้าและแกมมา หากสัมผัสโดยตรง ผิวหนังไหม้ หรือถึงขั้นสูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นไป แต่หากสัมผัสกับรังสี หรือรับรังสีในปริมาณมาก หรือนานเกินไป อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง  

สำหรับข้อควรปฏิบัติหากสัมผัสกับรังสี แนะนำให้ ล้างมือ ล้างตา อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที และไปพบแพทย์
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4IL1sKxD1qeIHFQzkPI4ZS/4a3f01bd8004ee1cca416aea444e6a15/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5KFNNDlV6X3mMj2hmVeD3G/caa66f626e9b6766d5db4cf2bd6c5200/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/13ISEc9q7crBsDoFyfmmZi/854e8bc796b7c4ca35c5146d074cee34/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo03
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3ZTYiEgLUkPfCURfCReNTT/2c494c5a13293ed47108a97379da2f7f/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo04
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4Fl9jpp6o7pLg2uXY28nv9/a9feb248d688604da7abbd60b87b991e/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo05
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6FOaYypMrWwUojX6M9Pdw6/3ac922b44e42d8ee4249dfbaf0e88a6e/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo09
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/PQHwckCIVPxTgKccdY6vN/cf2fca216f15e9d77d3a962b370d45ae/sonthi-kochawat-experts-point-out-Cesium-137-inhaling-a-lot-damages-DNA-risk-of-cancer-SPACEBAR-Photo10

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์