นักการทูตสิงคโปร์ชี้ สถานการณ์ใน ‘เมียนมา’ ประณามได้ แต่ไม่มีสิทธิแทรกแซง!

28 กุมภาพันธ์ 2566 - 04:35

Asean-no-licence-interfere-Myanmars-internal-affairs-SPACEBAR-Hero
  • นักการทูตระดับสูงของสิงคโปร์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (27 ก.พ.) กล่าวว่า การประณามโดยชาติสมาชิกอาเซียนต่อการรัฐประหารในปี 2021 ของเมียนมา ไม่ได้แปลว่าจะสามารถแทรกแซงการเมืองภายในประเทศได้

  • นักการทูตรายนี้เชื่อว่า สถานการณ์ปัจจุบันภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร เหมือนจะมุ่งไปสู่ ‘ทางตัน’

นักการทูตระดับสูงของสิงคโปร์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (27 ก.พ.) กล่าวว่า การประณามโดยชาติสมาชิกอาเซียนต่อการรัฐประหารในปี 2021 ของเมียนมา ไม่ได้แปลว่าจะสามารถแทรกแซงการเมืองภายในประเทศได้ เชื่อว่าสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร เหมือนจะมุ่งไปสู่ ‘ทางตัน’ 

วิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ กล่าวถึงเมียนมาในการโต้วาทีเรื่องงบประมาณของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเน้นย้ำว่า การรัฐประหารที่กินเวลามากว่า 2 ปี ไม่ได้ช่วยอะไร ซึ่งถ้าถามความเห็นของเขาแล้วนั้น เขามองว่ามันเป็นทางตัน ไม่ใช่หนทางที่จะบรรลุความปรองดองในชาติ  

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่ประณาม ‘การแทรกแซงการเมืองภายในประเทศของต่างชาติ’ และเชื่อว่าวิกฤตนี้จะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในมี ‘การสนทนาที่จริงใจต่อกันเพื่อประโยชน์ต่ออนาคตของประชาชน’ 

“ดังนั้น เราต้องเข้าใจว่าแม้เราจะไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนต่อการทำรัฐประหาร และเราไม่รู้จักรัฐบาลทหารในปัจจุบัน แต่ก็ไม่มีสิทธิในการแทรกแซงการเมืองภายในประเทศ” บาลากริชนันกล่าว 

บาลากริชนัน เสนอว่าผู้เข้าร่วมการประชุมนี้ เป็น ‘เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด’ ของเมียนมา ซึ่งอาจเผชิญกับความเสี่ยงที่ผู้ลี้ภัยจะไหลออก ซึ่งจะต้องรีบหาข้อยุติ และวิธีการประนีประนอมหลังวิกฤตรับประหารคลี่คลาย 

จุดยืนร่วมกันของอาเซียนคือรัฐบาลทหารต้องปฏิบัติตามแผนสันติภาพ ที่เรียกว่าฉันทามติ 5 ประการ ซึ่งตกลงกันระหว่างกลุ่มและผู้นำกองทัพเมียนมา ‘มินอ่องหล่าย’ เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย แผนดังกล่าวเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงโดยทันที การเจรจาระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การส่งความช่วยเหลือไปยังเมียนมา การแต่งตั้งทูตพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกในการพูดคุย และอนุญาตให้ทูตเยือนเมียนมา 

จนถึงขณะนี้ รัฐบาลทหารได้บิดเบือนแผนการของตนในการดำเนินการตามแผนสันติภาพ และในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาได้พยายามเสนอแนะว่าแผนดังกล่าวได้รับการเห็นชอบโดยปราศจากการยินยอม 

อาเซียนห้ามผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลทหารเข้าร่วมการประชุมสำคัญๆ แม้ว่าข้าราชการจะได้รับอนุญาตให้เข้ารับตำแหน่งแทนก็ตาม 

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกรุงพนมเปญ ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียได้เสนอมาตรการขยายการห้ามผู้แทนทางการเมืองของเมียนมา นอกเหนือจากการประชุมสุดยอดและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศไปยังกิจกรรมอื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม บาลากริชนัน กล่าวว่า สมาชิกอาเซียนยังคงต้องการให้เมียนมาได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกต่อไปและในขอบเขตที่เป็นไปได้ ภายใต้ข้อจำกัดของนโยบายภายในประเทศของตน และจะมี ‘ที่นั่ง’ สำหรับเมียนมาเสมอ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์