แฉจีนขโมยเทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐฯ ไปผลิต ‘เครื่องบินขับไล่ J-20’ ของตัวเอง

10 มีนาคม 2566 - 05:00

Chinajet-SPACEBAR-Hero
  • การปรากฏตัวของเครื่องบินขับไล่ J-20 แสดงให้เห็นว่าจีนกำลังเริ่มเชื่อมช่องว่างทางเทคโนโลยีกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ได้รับความสนใจอีกครั้งท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างปักกิ่งและวอชิงตัน

  • “จีนให้ความสำคัญเกือบมากกว่าสิ่งอื่นใดในการจัดหาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไอพ่นหลังจากดิ้นรนมานานหลายทศวรรษเพื่อให้ทันกับสหรัฐฯ”

สำนักข่าว New York Post รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี (9 ม.ค.) ที่ผ่านมาว่า จีนขโมยเทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐฯ เพื่อสร้างเครื่องบินขับไล่ไอพ่นไฮเทคขั้นสูง และผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าสหรัฐฯ ต้องดำเนินการมากกว่านี้เพื่อปกป้องข้อมูลอาวุธของตน และป้องกันไม่ให้ปักกิ่งพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในอนาคต  

“สิ่งที่เรารู้ก็คือเนื่องจากความพยายามในการจารกรรม J-20 ของจีนจึงมีความก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ และนั่นคือประเด็นสำคัญที่นี่” อดีตรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมด้านนโยบาย เจมส์ แอนเดอร์สัน กล่าวกับ สำนักข่าว Fox News Digital  

“พวกเขาได้กำไรมหาศาลจากการขโมยเทคโนโลยีทางทหารในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พวกเขาใช้มันได้อย่างดี และพวกเขาก็มาพร้อมกับเครื่องบินรบขั้นสูงรุ่นที่ 5…เป็นการยากที่จะตัดสินว่า J-20 เทียบได้กับ F-22 Raptor ของสหรัฐฯ ได้อย่างไร…ขาดการรบจริง”​ แอนเดอร์สันกล่าว 

รายงานระบุว่า ปักกิ่งเริ่มพัฒนาเครื่องบินขับไล่ล่องหน J-20 สำหรับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนในปี 2008 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเครื่องบินรบที่สามารถแข่งขันกับเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ได้  

การขยายความกังวลคือความตั้งใจของจีนที่ต้องการปกครองไต้หวันด้วยตนเอง ซึ่งการรุกรานดังกล่าวอาจดึงสหรัฐฯ เข้าสู่การปะทะทางทหาร 

แอนเดอร์สันกล่าวกับ Fox News Digital ว่า “จีนใช้เทคนิคการจารกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่แบบล้าสมัย และ เทคโนโลยีต่ำ เช่น การใช้สายลับและการใช้ผู้หญิงเป็นนกต่อ (honey trap) รวมถึงการติดสินบนเพื่อจ้างผู้รับเหมาชาวอเมริกัน นักวิชาการในมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไปจนถึงวิธีการขั้นสูง เช่น การแฮ็กทางไซเบอร์เพื่อขโมยข้อมูลทางทหารที่สำคัญ” 

“น่าเสียดายที่พวกเขาประสบความสำเร็จที่นั่น…ปักกิ่งใช้เวลานานกว่าทศวรรษซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วมเพื่อใช้ในการออกแบบและสร้าง J-20” 

“มันช่วยประหยัดเวลาและเงินของชาวจีน ผลก็คือ เราลงเอยด้วยการอุดหนุนงบประมาณการวิจัยและการพัฒนาส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาขโมยความลับบางอย่างของเราได้สำเร็จ…ในที่สุด สิ่งก็นี้ทำให้ทหารชายและหญิงของเรามีความเสี่ยงมากขึ้นในสนามรบ” แอนเดอร์สันกล่าว 

แมตต์ แมคอินนิส นักวิจัยอาวุโสของสถาบัน Institute for the Study of War's China program กล่าวว่า “ความปรารถนาที่จะเข้าใจเครื่องยนต์ไอพ่นที่ซับซ้อนมากขึ้นในตะวันตกเป็นองค์ประกอบสำคัญของหน่วยสืบราชการลับของจีน” 

“จีนให้ความสำคัญเกือบมากกว่าสิ่งอื่นใดในการจัดหาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไอพ่นหลังจากดิ้นรนมานานหลายทศวรรษเพื่อให้ทันกับสหรัฐฯ” 

“ในฐานะคนที่ติดตามจีนมาเป็นเวลานาน นั่นเป็นเรื่องตลกเสมอ…ชาวจีนจะสามารถผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นของตัวเองได้หรือไม่ ดังนั้น พวกเขาค่อยๆ สามารถมีอิสระมากขึ้นในการสร้างเครื่องยนต์ไอพ่นสำหรับเครื่องบินขั้นสูงของพวกเขา” แมคอินนิสกล่าว 

ทั้งนี้ J-20 เริ่มทำการบินครั้งแรกในปี 2011 และนำเข้าประจำการในปี 2017 แต่มีรายงานย้อนหลังไปถึงปี 2015 ที่ระบุถึงความคล้ายคลึงกันในด้านเทคโนโลยีและความสามารถระหว่างเครื่องบินไอพ่นของจีนและเครื่องบินของสหรัฐฯ อีกทั้งรายงานของสำนักข่าว AP ยังชี้ให้เห็นว่า “เทคโนโลยีบางอย่างของจีนอาจมาจากสหรัฐฯ เองด้วย” 

การปรากฏตัวของเครื่องบินขับไล่ J-20 แสดงให้เห็นว่าจีนกำลังเริ่มเชื่อมช่องว่างทางเทคโนโลยีกับสหรัฐฯ เนื่องจากการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ได้รับความสนใจอีกครั้งท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างปักกิ่งและวอชิงตัน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์