พบซาก ‘ธารน้ำแข็ง’ บนดาวอังคาร

17 มีนาคม 2566 - 08:41

Remains-an-ancient-glacier-spotted-on-Mars-SPACEBAR-Thumbnail
  • เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด พวกเขาจำลักษณะของธารน้ำแข็งได้ รวมถึงแนวสันเขาที่เรียกว่า moraines ซึ่งเป็นเศษซากที่ธารน้ำแข็งเคลื่อนตัวทับถม ทีมวิจัยยังพบรอยแยกหรือช่องเปิดรูปลิ่มที่ก่อตัวขึ้นภายในธารน้ำแข็ง

  • การค้นพบนี้ถูกนำมาแชร์ในการประชุม Lunar and Planetary Science Conference ครั้งที่ 54 ในวูดแลนด์ รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ

ซากของธารน้ำแข็งถูกพบใกล้กับเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร บ่งชี้ว่า ‘น้ำ’ บางรูปแบบอาจยังคงอยู่บนดาวเคราะห์สีแดง ซึ่ง ‘มนุษย์’ อาจเข้าถึงมันในสักวันหนึ่ง 
 
แม้ตอนนี้มวลน้ำแข็งไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ในแหล่งแร่อื่นๆ ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร ซึ่งตะกอนของมันมักจะมีส่วนผสมของเกลือซัลเฟตสีอ่อน 
 
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด พวกเขาจำลักษณะของธารน้ำแข็งได้ รวมถึงแนวสันเขาที่เรียกว่า moraines ซึ่งเป็นเศษซากที่ธารน้ำแข็งเคลื่อนตัวทับถม ทีมวิจัยยังพบรอยแยกหรือช่องเปิดรูปลิ่มที่ก่อตัวขึ้นภายในธารน้ำแข็ง 
 
การค้นพบนี้ถูกนำมาแชร์ในการประชุม Lunar and Planetary Science Conference ครั้งที่ 54 ในวูดแลนด์ รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ  
  
“สิ่งที่เราพบไม่ใช่น้ำแข็ง แต่เป็นเกลือที่สะสมอยู่ซึ่งมีรายละเอียดลักษณะทางสัณฐานวิทยาของธารน้ำแข็ง” ปาสคาล ลี หัวหน้าทีมวิจัย นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์อาวุโสจากสถาบัน SETI และสถาบัน Mars กล่าวในการแถลง พร้อมเสริมอีกว่า สิ่งที่เราคิดว่าเกิดขึ้นที่นี่คือเกลือที่ก่อตัวบนธารน้ำแข็งในขณะที่รักษารูปร่างของน้ำแข็งด้านล่าง ลงไปจนถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น ทุ่งรอยแยกและแถบจาร 
  
นักวิจัยเชื่อว่า ธารน้ำแข็งมีความยาว 3.7 ไมล์ (6 กิโลเมตร) และกว้าง 2.5 ไมล์ (ประมาณ 4 กิโลเมตร) โดยมีความสูงระหว่าง 0.8 ถึง 1.1 ไมล์ (1.3 ถึง 1.7 กิโลเมตร) 
 
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์มีความคิดว่ารอยประทับของธารน้ำแข็งเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยพิจารณาจากหลักฐานของวัสดุภูเขาไฟในภูมิภาค เมื่อส่วนผสมของเถ้าภูเขาไฟ ลาวา และแก้วภูเขาไฟ จากนั้น ภูเขาไฟทำปฏิกิริยากับน้ำ จะเกิดชั้นเกลือที่มีลักษณะแข็ง 
 
“บริเวณนี้ของดาวอังคารมีประวัติของการปะทุของภูเขาไฟ และเมื่อวัสดุภูเขาไฟบางส่วนสัมผัสกับน้ำแข็งจากธารน้ำแข็ง ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นที่รอยต่อระหว่างทั้งสองเพื่อสร้างชั้นเกลือซัลเฟตที่แข็งตัวขึ้น ซึ่งนี่เป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับไฮเดรตและไฮดรอกซิเลตซัลเฟตที่เราสังเกตเห็นในคราบสีอ่อนนี้” ซูราบห์ ชุบแฮม ผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาเอกด้านธรณีวิทยากล่าว  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์