• Timeline เกิดอะไรกับ TikTok?
1. ในปี 2020 รัฐบาลสหรัฐพิจารณาแบน TikTok เพราะประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มองว่าแอปฯ นี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ในฐานที่เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีน2. วันที่ 30 ธันวาคม 2022 ประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้อนุมัติกฎหมาย No TikTok on Government Devices Act ห้ามใช้แอปฯ บนอุปกรณ์ของรัฐบาลกลาง
3. วันที่ 7 มีนาคม 2023 มีการเสนอกฎหมายต่อรัฐสภาสหรัฐ ที่จะให้อำนาจรัฐบาลตรวจสอบและอาจสั่งแบนเว็บไซต์/แอปฯ ใด ๆ ที่พวกเขาเห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
4. วันที่ 17 มีนาคม 2023 FBI และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เปิดการสอบสวน TikTok อย่างเป็นทางการ รวมถึงข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทสอดแนมนักข่าวชาวอเมริกัน
5. วันที่ 23 มีนาคม 2023 CEO ของ TikTok คือ Shou Zi Chew ให้การต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐ และถูกไต่ส่วนเรื่องความความเกี่ยวพันระหว่าง TikTok กับรัฐบาลจีน
• การไต่สวนที่ทำให้คนอเมริกันตาสว่าง
ในขณะที่สื่ออเมริกันรายงานข่าวในทำนองว่า CEO ของ TikTok ถูกสมาชิกกรรมาธิการของคองเกรส ‘ย่างสด’ (grilled) กลางที่ประชุม แต่ภาพที่ออกมาสู่สายตาประชาชนกลับไปกันคนละทาง เพราะสาธารณชนมองว่าการไต่สวนครั้งนี้ไม่เป็นธรรม และสมาชิกสภาฯ ไม่มีความเป็นมืออาชีพ เพราะมักพูดแทรก CEO ของ TikTok และขาดความรู้เรื่องไอทีอย่างน่าตกใจ
สิ่งที่ทีม Spacebar•Dataops ค้นพบหลังการทำ Social listening เพื่อสำรวจความรู้สึกและความเห็นของคนอเมริกันหลังการไต่สวน TikTok ก็คือ ความไม่พอใจต่อรัฐบาลที่พวกเขาเชื่อว่าต้องการโจมตีจีน แต่ TikTok กลับต้องมารับกรรม เพียงแค่เป็นแอปฯ ที่มีบริษัทแม่เป็นบริษัทสัญชาติจีน นั่นคือ ByteDance และคีย์เวิร์ดแต่ละคำที่กล่าวถึงการแบน (ban) แอปฯ TikTok สะท้อนความไม่พอใจต่อรัฐบาล (government) ที่เดินหน้าแบน ความไม่พอใจต่อผู้นำสหรัฐที่ผลักดันการแบน (president/trump/biden) และแสดงความเห็นว่าการแบนคือผลพวงจากการเมืองสหรัฐที่ตั้งใจจะขัดขวางอิทธิพลของจีน (chinese) แม้ว่าจะอ้างเรื่องความมั่นคง (security) ก็ตาม
เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนและไม่ลำเอียง ทีม Spacebar•Dataops พบว่า ความเห็นของโซเชียลฯ ตามแพลตฟอร์มต่างๆ นอก TikTok ก็มีทิศทางแบบเดียวกัน ทีมงานทำการสำรวจเสียงโซเชียลฯ พบว่าใน Twitter มีการเอ่ยถึงการไต่สวนและการแบน TikTok มากที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะ Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนมักแสดงความเห็นทางการเมือง ความเห็นเรื่องนี้ร้อนแรงที่สุดในวันที่ 23 – 24 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่มีการไต่สวน และ 1 วันหลังจากนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่อารมณ์ของผู้คนกำลังดุเดือดที่สุด
• สำรวจพลังดาต้าแห่งความไม่พอใจ
ระหว่างและหลังการไต่สวนโดยคองเกรส feed ใน TikTok อัดแน่นไปด้วยคลิปวิจารณ์สมาชิกคองเกรสและคลิปแสดงความเห็นใจ CEO ของ TikTok ที่ต้องมาเจอกับการไต่สวนแบบนี้ รวมถึงความเห็นอีกมากมายที่ต่อต้านรัฐบาลสหรัฐ ตำหนิสภาคองเกรสที่ปราศจากความยุติธรรม เสียงเชียร์ TikTok และคอมเมนต์ชื่นชมความมีวุฒิภาวะของ Shou Zi Chewเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนและไม่ลำเอียง ทีม Spacebar•Dataops พบว่า ความเห็นของโซเชียลฯ ตามแพลตฟอร์มต่างๆ นอก TikTok ก็มีทิศทางแบบเดียวกัน ทีมงานทำการสำรวจเสียงโซเชียลฯ พบว่าใน Twitter มีการเอ่ยถึงการไต่สวนและการแบน TikTok มากที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะ Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนมักแสดงความเห็นทางการเมือง ความเห็นเรื่องนี้ร้อนแรงที่สุดในวันที่ 23 – 24 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่มีการไต่สวน และ 1 วันหลังจากนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่อารมณ์ของผู้คนกำลังดุเดือดที่สุด

แต่ทีมงานพบว่า หลังจากวันที่ 25 มีนาคม กระแสการพูดถึงการแบน TikTok เริ่มซาลง ซึ่งอาจเป็นเพราะแพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผิดกับยูสเซอร์ใน TikTok ที่ยังวิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้กันอย่างต่อเนื่อง
• ความไม่พอใจที่อาจนำไปสู่การโค่นอำนาจ
สิ่งที่ Spacebar•Dataops พบคือความรู้สึกไม่พอใจต่อการไต่สวนและความพยายามแบน TikTok ที่มีสูงมากถึง 95% ต่อเสียงในด้านบวกที่มีเพียง 5%
ความเห็นด้านบวกก็ไม่ใช่ว่าจะสะท้อนท่าทีเห็นด้วย เราพบว่าความเห็นด้านบวกบางความเห็นเป็นการพูดประชดผสมกับความเห็นสนับสนุนการแบนจริงๆ ดังนั้น ในอัตราส่วนความเห็นด้านบวกที่น้อยอยู่แล้ว ยังปนเปไปด้วยเสียงกระแนะกระแหนรัฐบาลสหรัฐ
ส่วนความเห็นด้านลบที่ท่วมท้นอย่างเป็นเอกฉันท์ มีความหลากหลายยิ่งกว่าในแง่ของการวิจารณ์การแบน ตั้งแต่กลุ่มที่บอกว่าการแบน TikTok คือการบั่นทอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of speech) ของคนอเมริกัน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกหวงแหนโดยคนอเมริกันมากที่สุด บางความเห็นถึงกับกล่าวว่าพวกเขาพร้อมที่จะยกดาต้าให้กับจีนไปเลย เพราะเชื่อว่าจีนไม่สามารถทำอะไรกับดาต้าของพวกเขาได้ แต่สิ่งที่พวกเขาจะถูกริบไปโดยน้ำมือของรัฐบางของพวกเขาเอง คือเสรีภาพส่วนบุคคลของพวกเขา
บางความเห็นสะท้อนความโกรธแค้นต่อนักการเมืองทั้ง 2 พรรคใหญ่ที่รวมหัวกันต่อต้าน TikTok และยูสเซอร์เหล่านี้ขู่ว่าพวกเขาจะไม่เลือกพรรคใหญ่ทั้งสองแน่นอน หากการแบน TikTok เกิดขึ้นจริง และบางความเห็นไปไกลถึงขั้นบอกว่า การแบน TikTok จะปลุกกระแสการปฏิวัติ (American revolution) ให้เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงที่ใช้ TikTok อาจจะไม่เลือกสองพรรคใหญ่ที่กุมอำนาจการเมืองของประเทศอีก แต่อาจจะเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่พร้อมจะรักษา “เสรีภาพในการแสดงความเห็น (ผ่าน TikTok) ของพวกเขา”
ส่วนความเห็นด้านลบที่ท่วมท้นอย่างเป็นเอกฉันท์ มีความหลากหลายยิ่งกว่าในแง่ของการวิจารณ์การแบน ตั้งแต่กลุ่มที่บอกว่าการแบน TikTok คือการบั่นทอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of speech) ของคนอเมริกัน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกหวงแหนโดยคนอเมริกันมากที่สุด บางความเห็นถึงกับกล่าวว่าพวกเขาพร้อมที่จะยกดาต้าให้กับจีนไปเลย เพราะเชื่อว่าจีนไม่สามารถทำอะไรกับดาต้าของพวกเขาได้ แต่สิ่งที่พวกเขาจะถูกริบไปโดยน้ำมือของรัฐบางของพวกเขาเอง คือเสรีภาพส่วนบุคคลของพวกเขา
บางความเห็นสะท้อนความโกรธแค้นต่อนักการเมืองทั้ง 2 พรรคใหญ่ที่รวมหัวกันต่อต้าน TikTok และยูสเซอร์เหล่านี้ขู่ว่าพวกเขาจะไม่เลือกพรรคใหญ่ทั้งสองแน่นอน หากการแบน TikTok เกิดขึ้นจริง และบางความเห็นไปไกลถึงขั้นบอกว่า การแบน TikTok จะปลุกกระแสการปฏิวัติ (American revolution) ให้เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงที่ใช้ TikTok อาจจะไม่เลือกสองพรรคใหญ่ที่กุมอำนาจการเมืองของประเทศอีก แต่อาจจะเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่พร้อมจะรักษา “เสรีภาพในการแสดงความเห็น (ผ่าน TikTok) ของพวกเขา”

ปืนฆ่าคนได้ แต่กลายเป็น TikTok ที่ถูกแบน
ระหว่างเกิดกระแสคัดค้านการแบน TikTok เสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนอเมริกัน 2 เรื่องถูกนำมาเปรียบเทียบ ฝ่ายต่อต้านการแบน TikTok ชี้ว่า ในขณะที่นักการเมืองพยายามแบน ‘แอปฯ ที่ไม่มีพิษมีภัย’ อย่าง TikTok ประเทศสหรัฐเผชิญยังจมปลักอยู่กับปัญหาที่เลวร้ายมากมายที่ยังได้ถูกแก้ไข เช่น ปัญหาข้าวของแพงจากภาวะเงินเฟ้อ การมีระบบสวัสดิการสาธารณสุขที่แย่ที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และปัญหาการถือครองอาวุธปืนโดยเสรี จนนำไปสู่การเหตุกราดยิงครั้งแล้วครั้งเล่าฝ่ายสนับสนุนการครอบครองอาวุธปืนโดยเสรีมักอ้างสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 (Second Amendment) ทำให้การแก้ปัญหากราดยิงไม่ประสบความสำเร็จสักที เพราะนักการเมืองอเมริกันกลัวจะถูกโจมตีว่าลดทอนเสรีภาพส่วนบุคคล แต่เมื่อ TikTok จะถูกแบบ นักการเมืองกลับไม่สนใจสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
ในขณะที่การดีเบตเรื่องการแบน TikTok ยังร้อนแรง และในขณะที่ Spacebar•Dataops กำลังเก็บข้อมูลเรื่องนี้อยู่ วันที่ 27 มีนาคม ก็เกิดเหตุกราดยิงขึ้นอีกครั้ง ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนนเสซี มีผู้เสียชีวิต 6 ราย
เหตุที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้ชาว TikTok เชื่อว่าความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศสหรัฐไม่ใช่การแบน TikTok แต่เป็นการหยุดซื้อขายและครอบครองอาวุธปืนโดยเสรีมากกว่า