นายทุน กับ แรงงาน ใครควรได้มากกว่ากัน?
นายทุน กับ แรงงาน นโยบายการเมืองที่เอื้อฝ่ายไหน เศรษฐกิจโตกว่ากัน และใครควรได้กินมากกว่า ติดตามกับการวิเคราะห์เทียบกับทฤษฎีเศรษฐกิจของ Ray Dalio เรามาค่อยๆทำความเข้าใจไปด้วยกัน
เศรษฐกิจโตอย่างไร?
วิธีการที่ทำให้เศรษฐกิจโต ตามหลักของ Ray Dalio คือ
ตัวอย่างหมูปิ้งที่เติบโต
เช่น คุณจ่ายเงินซื้อหมูปิ้ง 1 ไม้ ราคา 10 บาท 10 บาท นี้ก็คือรายรับของพ่อค้าหมูปิ้ง
แต่ถ้าคุณอยากได้หมูปิ้ง 1 แสนไม้ นอกจากคุณต้องมีเงิน 1 ล้านบาทแล้ว ต้องถามด้วยว่าพ่อค้าคนนั้นมีกำลังผลิตพอไหม ถ้าพอเงิน 1 ล้าน เป็นรายรับของพ่อค้าหมูปิ้งทันที แต่ถ้ามีกำลังผลิตไม่พอ ล้านนึงที่ว่าก็ = อด..
มันคือภาพการขยายเศรษฐกิจแบบง่ายๆ ว่าถ้าอยากขยายการขายหมูปิ้ง 1 เป็น 1 แสนไม้ ใช้แรงงานคนอย่างเดียวไม่พอแน่ ต้องมีเครื่องจักร เครื่องจักรก็มาจากนายทุนที่มีหน้าที่ขยายเศรษฐกิจ หรือผู้เขียนจะเปรียบเป็น ‘ก้อนเค้ก’
แรงงาน + นายทุน = Teamwork
เอาแค่คอนเซปต์ง่ายๆ ที่ว่ามา นั่นแปลว่าปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจโต คือ Teamwork ของ แรงงาน + นายทุน 2 อย่างนี้ถ้าแตกแยก หรือข้างใดข้างหนึ่งพัง เศรษฐกิจมันจะโตไม่ค่อยไหวค่ะ
Teamwork ที่แตกแยกเศรษฐกิจพัง
ระบบเอื้อนายทุนเกินไป เช่นระบบผูกขาดนายทุน สร้างความไม่เท่าเทียมในการแข่งขัน ประชาชนหาเงินได้ไม่พอกิน คนหิว นำไปสู่ความโกรธเคือง ต่อต้าน
ระบบเอื้อแรงงานมากเกินไป เช่น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทันที 450 บาททันที นายทุนจ่ายไม่ไหวก็ต้องตัดแรงงานทิ้ง หรือหิ้วเงินหนีไปที่อื่น
ทีนี้เศรษฐกิจเจ้าเค้กก้อนนี้นอกจากไม่โตแล้ว ยังเล็กลงด้วย ก้อนเท่าเดิมยังแย่งกันจะแย่ ถ้าเล็กลงจะสภาพไหน
ตัวเลขการซื้อขายหุ้นในตลาด ที่หนักไปทางเทขายมากกว่าซื้ออย่างมหาศาล คือ สัญญานที่บอกว่านักลงทุนไม่พร้อมวางเงินไว้ที่นี่แล้ว
คำตอบของคำถามแรก ใครควรได้ส่วนแบ่งมากกว่ากัน
ถ้าขยายเค้ก (เศรษฐกิจ) ไม่ได้ การดึงเค้กจากมือคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่งมีแต่สร้างความแตกแยก พอมีคนโกรธปาทิ้งหรือหิ้วหนี เค้กจะเล็กลง
แต่ถ้าทำให้เค้กโตได้ ทุกคนต้องได้เพิ่ม โดยให้รัฐบาลช่วยออกกฎอัตราการแบ่งสัดส่วนเค้กที่เป็นธรรม จะขึ้นค่าแรงหรือเสียภาษีก็แล้วแต่ เป็นไปตามความสามารถและความรับผิดชอบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำลง
ซึ่งทางออกน่าจะเป็นการเร่งขยายเศรษฐกิจโดยรวมให้โต ขยายก้อนเค้กก่อนแล้วค่อยวางกฎให้นายทุนต้องแบ่งก้อนเค้กที่มากขึ้นนั้นมาด้วยภาษีหรือขึ้นค่าแรง
รวมถึงสร้างทักษะแรงงานให้มีความสามารถมากพอที่จะเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้เหมาะสมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
นายทุน กับ แรงงาน นโยบายการเมืองที่เอื้อฝ่ายไหน เศรษฐกิจโตกว่ากัน และใครควรได้กินมากกว่า ติดตามกับการวิเคราะห์เทียบกับทฤษฎีเศรษฐกิจของ Ray Dalio เรามาค่อยๆทำความเข้าใจไปด้วยกัน
เศรษฐกิจโตอย่างไร?
วิธีการที่ทำให้เศรษฐกิจโต ตามหลักของ Ray Dalio คือ
- มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน บวกกับ
- มีผลผลิตมากขึ้น
ตัวอย่างหมูปิ้งที่เติบโต
เช่น คุณจ่ายเงินซื้อหมูปิ้ง 1 ไม้ ราคา 10 บาท 10 บาท นี้ก็คือรายรับของพ่อค้าหมูปิ้ง
แต่ถ้าคุณอยากได้หมูปิ้ง 1 แสนไม้ นอกจากคุณต้องมีเงิน 1 ล้านบาทแล้ว ต้องถามด้วยว่าพ่อค้าคนนั้นมีกำลังผลิตพอไหม ถ้าพอเงิน 1 ล้าน เป็นรายรับของพ่อค้าหมูปิ้งทันที แต่ถ้ามีกำลังผลิตไม่พอ ล้านนึงที่ว่าก็ = อด..
มันคือภาพการขยายเศรษฐกิจแบบง่ายๆ ว่าถ้าอยากขยายการขายหมูปิ้ง 1 เป็น 1 แสนไม้ ใช้แรงงานคนอย่างเดียวไม่พอแน่ ต้องมีเครื่องจักร เครื่องจักรก็มาจากนายทุนที่มีหน้าที่ขยายเศรษฐกิจ หรือผู้เขียนจะเปรียบเป็น ‘ก้อนเค้ก’
แรงงาน + นายทุน = Teamwork
เอาแค่คอนเซปต์ง่ายๆ ที่ว่ามา นั่นแปลว่าปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจโต คือ Teamwork ของ แรงงาน + นายทุน 2 อย่างนี้ถ้าแตกแยก หรือข้างใดข้างหนึ่งพัง เศรษฐกิจมันจะโตไม่ค่อยไหวค่ะ
Teamwork ที่แตกแยกเศรษฐกิจพัง
ระบบเอื้อนายทุนเกินไป เช่นระบบผูกขาดนายทุน สร้างความไม่เท่าเทียมในการแข่งขัน ประชาชนหาเงินได้ไม่พอกิน คนหิว นำไปสู่ความโกรธเคือง ต่อต้าน
ระบบเอื้อแรงงานมากเกินไป เช่น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทันที 450 บาททันที นายทุนจ่ายไม่ไหวก็ต้องตัดแรงงานทิ้ง หรือหิ้วเงินหนีไปที่อื่น
ทีนี้เศรษฐกิจเจ้าเค้กก้อนนี้นอกจากไม่โตแล้ว ยังเล็กลงด้วย ก้อนเท่าเดิมยังแย่งกันจะแย่ ถ้าเล็กลงจะสภาพไหน
ตัวเลขการซื้อขายหุ้นในตลาด ที่หนักไปทางเทขายมากกว่าซื้ออย่างมหาศาล คือ สัญญานที่บอกว่านักลงทุนไม่พร้อมวางเงินไว้ที่นี่แล้ว
คำตอบของคำถามแรก ใครควรได้ส่วนแบ่งมากกว่ากัน
ถ้าขยายเค้ก (เศรษฐกิจ) ไม่ได้ การดึงเค้กจากมือคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่งมีแต่สร้างความแตกแยก พอมีคนโกรธปาทิ้งหรือหิ้วหนี เค้กจะเล็กลง
แต่ถ้าทำให้เค้กโตได้ ทุกคนต้องได้เพิ่ม โดยให้รัฐบาลช่วยออกกฎอัตราการแบ่งสัดส่วนเค้กที่เป็นธรรม จะขึ้นค่าแรงหรือเสียภาษีก็แล้วแต่ เป็นไปตามความสามารถและความรับผิดชอบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำลง
ซึ่งทางออกน่าจะเป็นการเร่งขยายเศรษฐกิจโดยรวมให้โต ขยายก้อนเค้กก่อนแล้วค่อยวางกฎให้นายทุนต้องแบ่งก้อนเค้กที่มากขึ้นนั้นมาด้วยภาษีหรือขึ้นค่าแรง
รวมถึงสร้างทักษะแรงงานให้มีความสามารถมากพอที่จะเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้เหมาะสมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
<iframe src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=476&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FSpacebarMediaTH%2Fvideos%2F1008234260198684%2F&show_text=false&width=476&t=0" width="476" height="476" style="border:none;overflow:hidden" scrolling="no" frameborder="0" allowfullscreen="true" allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowFullScreen="true"></iframe>