การเปลี่ยนผ่านพลังงาน สู่ ศก.ยุคใหม่ เรื่องเร่งด่วน?

29 มี.ค. 2568 - 03:15

  • Economist Impact และพันธมิตร ขับเคลื่อนการพูดคุย ‘ความยั่งยืนในเอเชีย’

  • เปิดตัว Sustainability Week Asia ประจำปี ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย

  • เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เจาะลึกถึงการบรรลุเป้าหมาย Net Zero, การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานยั่งยืน ลดผลกระทบ

4th-annual-sustainability-week-asia-SPACEBAR-Hero.jpg

เพิ่งจะผ่านพ้น สัปดาห์ความยั่งยืนแห่งเอเชีย หรือคืองาน Sustainability Week Asia ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย ไปไม่นาน (25-26 มีนาคม 68 ที่โรงแรมดิ แอทธินี กรุงเทพฯ) ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหว สะท้อนให้เห็นความเสี่ยง-หายนะของโลกและมนุษย์ ที่รอไม่ได้ ... สัมมนา Sustainability Week Asia ครั้งที่ 4 ที่จัดโดย Economist Impact ในเครือ The Economist Group จึงพยายามชี้ให้เห็น “การเร่งเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ”

การเปลี่ยนผ่านพลังงาน สู่เศรษฐกิจยุคใหม่

แน่นอน ในหัวข้อ ‘การเปลี่ยนผ่านพลังงาน สู่เศรษฐกิจยุคใหม่’ โจทย์ใหญ่ที่สำคัญ โดย การเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy) ที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงต่างๆ สร้างนวัตกรรมใหม่ เพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในอนาคต

นพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชั่นธุรกิจอุตสาหกรรม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บอกเล่าว่า ประเทศไทยตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2065 แต่ยังต้องพัฒนาในด้านนโยบายและโครงสร้างพื้นฐาน ความต้องการพลังงานของศูนย์ข้อมูลในประเทศ อันเป็นผลมาจากการเติบโตของ AI ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 100 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,000 เมกะวัตต์ ภายในทศวรรษหน้า รัฐบาลจึงมีมาตรการจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุนในศูนย์ข้อมูลสีเขียว (Green Data Center)

4th-annual-sustainability-week-asia-SPACEBAR-Photo01.jpg

แนะใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ-อนุรักษ์น้ำ-รีไซเคิล

นพเดช ยังแนะนำ ว่า ต้องให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์น้ำ และการรีไซเคิลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน เทคโนโลยีใหม่ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ (Perovskite Solar Cell) และการนำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แล้วมาใช้ในระบบกักเก็บพลังงานของโครงข่ายไฟฟ้า จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ปล่อยคาร์บอนต่ำได้

สำหรับ การเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง โดยมีความเชื่อมโยงทั้งในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยที่การเปลี่ยนผ่านพลังงานนั้น หมายถึงการเปลี่ยนจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) ไปสู่การใช้ พลังงานสะอาด (Clean Energy) เช่น พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อย่าง พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ และ ไฮโดรเจนสีเขียว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม ในความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนผ่านพลังงานกับเศรษฐกิจยุคใหม่ จึงมีส่วนสำคัญเชื่อมโยงกันดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation & Technology)
- พลังงานสะอาดกระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่น Smart Grid, EV (รถยนต์ไฟฟ้า), แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง
- สร้างโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ เช่น ตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) และพลังงานไฮโดรเจน

2. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
-  การเปลี่ยนผ่านพลังงานส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรีไซเคิลวัสดุแบตเตอรี่และของเสียอุตสาหกรรม

3. การลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment)
- นักลงทุนมุ่งเน้นไปยัง ESG (Environmental, Social, Governance) ส่งผลให้บริษัทที่ปรับตัวสู่พลังงานสะอาดดึงดูดเงินทุนได้มากขึ้น

4. การจ้างงานใหม่ (Green Jobs)
- การเปลี่ยนผ่านพลังงานสร้างงานใหม่ในภาคอุตสาหกรรมสีเขียว เช่น วิศวกรพลังงานทดแทน นักวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งแวดล้อม

ความเร่งด่วนของสถานการณ์

อย่างไรก็ตาม ในความถี่ของสภาพอากาศที่เลวร้ายซึ่งส่งผลถึงภัยพิบัติต่างๆ ที่มนุษย์ได้รับ ทั้งภัยแล้ง, น้ำท่วม, พายุ, ไฟป่า และแผ่นดินไหว ที่เพิ่งเกิดล่าสุดในเมียนมา ที่ส่งผลให้รับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เป็นปรกฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่เราต้องช่วยกันดูแลแก้ไข ช่วยรัฐขับเคลื่อนในมิติของตัวเองอย่างรอบด้าน เพื่อเอาชนะหรือบรรเทาการทวีความรุนแรงของธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อมอาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า

4th-annual-sustainability-week-asia-SPACEBAR-Photo02.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์