AIS เปิดตัว ‘E-Waste+’ แอปฯ กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ บน Blockchain

7 ธ.ค. 2565 - 10:34

  • AIS พลิกโฉมระบบนิเวศการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain

  • บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ รายแรกในเอเชียอาคเนย์

AIS-E-Waste-electronics-Blockchain-SPACEBAR-Hero
สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า เอไอเอสให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมในบริบทของเอไอเอส คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในธุรกิจ ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ใช้ดิจิทัลมาให้บริการ ส่งเสริมให้ลูกค้าใช้บริการบนแอปพลิเคชัน ลดขยะในกระบวนการผลิต ส่งเสริมให้คนไทยบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องและเป็นระบบ เริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้ สร้างพันธมิตรเพื่อชักชวนคนมาช่วยกันขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์  

“เรามุ่งหวังจะเป็นฮับของ E- waste แต่ความมุ่งมั่นต้องเกิดจากความร่วมมือ โดยปัจจุบันมีพันธมิตร 142 องค์กร มี 2484 จุดทิ้งขยะ เอไอเอส จึงใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 5G รวมกับ Blockchain สร้างเป็นระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม E-waste สามารถคิดจากการทิ้งขยะ และรู้ได้ว่าขยะที่นำไปทิ้งนำไปรีไซเคิลกลับมาเป็นอะไร เท่าไร” 

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า ปัญหาของ E-waste ในประเทศไทย คือการมีโรงงานจำกัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงพอ การร่วมมือกันกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นโจทย์ร่วมกับพันธมิตร เมื่อเอา blockchain มาใช้จึงทำให้เกิดความโปร่งใสในการกำจัดขยะและทำให้เกิดความมีส่วนร่วม โดยทุกคนจะเชื่อมั่นในระบบ โดยการส่งต่อประสบการณ์ทางดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มเพื่อให้ทุกคนแข่งกันทำความดี blockchain นี้จึงอยู่บนโครงสร้างพื้นฐาน 5G โดยเราเขียนกติกาขึ้นมาใหม่ให้รองรับการใช้งาน 

“แพลตฟอร์มสามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้ โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้ Carbon Scores ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย” 

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อธิบายเพิ่มเติมว่า การเคลื่อนการทำงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero GHG Emission และเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านก๊าซเรือนกระจก ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของหน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น แต่ในระดับภาคประชาชนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน  

การทำงานร่วมกับ AIS ในครั้งนี้ทำให้เห็นว่า เทคโนโลยีสามารถเชื่อมต่อระบบการทำงานและพฤติกรรมของทุกคนให้เห็นถึงปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันได้ เรารู้สึกดีใจที่จะมีความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูล/กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับแพลตฟอร์มการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ส่วนบุคคล อีเว้นท์ และกิจกรรมประเภทต่างๆ เช่น การคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่ได้จากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามาใช้เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/59SgBdl9sDphKLLX6XB5PQ/100982cf5f2aa78861a3824242f275e0/AIS-E-Waste-electronics-Blockchain-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4pv6iNQ4pXWfY3gTM9ei4k/989a1be86710210f634097da1be7a6f2/AIS-E-Waste-electronics-Blockchain-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/lG47c3z7DSWIjiyXMiEEl/54c2a4ca2dac612ad9ff84428a32c795/AIS-E-Waste-electronics-Blockchain-SPACEBAR-Photo03
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/Ps7VlRbp0RyNhV9z8Y8OV/6e26ae92fe724fc4c807a81387725eb2/AIS-E-Waste-electronics-Blockchain-SPACEBAR-Photo04
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2dGYC5NeCso4tpsmfqEAGO/8b90e663e16701643c69815b7545f533/AIS-E-Waste-electronics-Blockchain-SPACEBAR-Photo05

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์