คน 8% กุมเงินทั้งประเทศ เช็กชนชั้นการเงิน ฉันอยู่โซนไหน?

7 มิ.ย. 2566 - 07:31

  • คนไทย 98% มีเงินฝากแค่เท่ากับ 5% ของเงินในบัญชีทั้งประเทศ

  • ชวนเช็ก 12 ชั้นการเงิน เราเป็นคนกลุ่มไหน อยากรู้กดเลย!

BOT-Financial-class-pyramid-bank-account-90-percent-poor-SPACEBAR-Thumbnail
เงินฝากทั้งประเทศรมกันมี 16 ล้านบาท 
จากจำนวนทั้งหมด 122 ล้านบัญชี

98% หรือ 112 ล้านบัญชี คือบัญชีที่มีเงินต่ำกว่า 100,000 บาท

ซึ่ง 112 ล้านบัญชีนี้ มีเงินคิดเป็น แค่ 5% ของเงินทั้งหมดในบัญชีธนาคารทั้งประเทศเท่านั้น!!
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/785MCsB99xNnUrY4PBzehU/a9a5e35d43ad13ccc7d02c81cd9eb81a/info_BOT-Financial-class-pyramid-bank-account-90-percent-poor-01__1_
แปลว่า คนไทยส่วนใหญ่มีเงิน ต่อบัญชี ‘ไม่มาก’ แล้วตัวเลขนี้จะชี้อะไรได้ต่อ! 

จน-รวย เหลื่อมล้ำ?  
หากย้อนดูข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ซึ่งมีการอัพเดทล่าสุด เมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 พบว่า ใน 12 ชั้นเงินฝากที่ประชาชนเปิดไว้กับธนาคารพาณิชย์ 17 แห่ง มีกลุ่มผู้มีเงินฝากต่ำกว่า 50,000 บาท จำนวนมากสุด โดยมีตัวเลขถึง 108,336,940 บัญชี แต่รวมจำนวนเงินแล้ว มีแค่เพียง 446,415 ล้านบาท ต่างลิบลับกับชั้นสุดท้าย ที่มีจำนวนบัญชีเพียงแค่ 1,608 บัญชี แต่มีตัวเลขจำนวนเงินรวมกันถึง 15,953,650 ล้านบาท  

ตัวเลขจำนวนบัญชีที่มาก ถึงกว่า 108 ล้านบัญชีนั้น อาจเป็นเพราะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คนไทยจำเป็นต้องเปิดบัญชีเงินฝากเพิ่ม เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้ ‘รับสวัสดิการจากรัฐ’ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ อันเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 นั่นเอง  

สรุปแล้ว คนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชี เท่าไหร่? 
ย้อนกลับไป 1 ปี (2565) ตัวเลขกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 102.14 ล้านบัญชี เฉลี่ยเท่ากับเงินฝากต่อบัญชีในกลุ่มนี้ อยู่ที่ 4,240 บาท ขณะที่ล่าสุด ปี 2566 นี้ ตัวเลขจำนวนบัญชีมาอยู่ที่ 108.33 บัญชี เพิ่มขึ้น 6.19 ล้านบัญชี ส่งผลถึงตัวเลขบวกลบคูณหารแล้ว มีค่าเฉลี่ยต่อบัญชีที่ 4,120 บาท ลดลงไปอีก 120 บาท  

จำนวน 4,120 บาทต่อบัญชีนี้ หากคิดถึงเงินสำรองของชีวิต ท่ามกลางค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูง กินใช้วันละ 300 บาท จะอยู่ได้แค่ 13.73 (หรือเกือบ 14 วัน) เท่านั้น น่าเป็นห่วงจริงๆ!

ชวนเช็ก พีระมิดการเงิน...เราอยู่กลุ่มไหน? 
โลกการเงินในกระเป๋า ยังไม่จบค่ะ....พาไปดูแบงก์ชาติ ที่รายงานข้อมูลบัญชีเงินฝากและมูลค่ารวม ของคนไทย ซึ่งมีทั้งหมด 12 กลุ่มด้วยกัน เชื่อแน่ว่า ทุกคนรู้อยู่แล้ว ว่าตัวเองมีเงินเท่าไหร่ ดังนั้น ไปดูกันว่า ยอดเงินฝากที่เรามี พาเราเข้าไปอยู่ใน ‘พีระมิดการเงิน’ กลุ่มไหน?
1. เงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท 
    มีจำนวน 108,336,940 บัญชี เงินฝากรวม 446,415 ล้านบาท 
2. เงินฝากเกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท  
    มีจำนวน 4,257,087 บัญชี เงินฝากรวม 300,635 ล้านบาท 
3. เงินฝากเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท  
    มีจำนวน 3,411,347 บัญชี เงินฝากรวม 472,220 ล้านบาท 
4. เงินฝากเกิน 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท  
    มีจำนวน 3,187,902 บัญชี เงินฝากรวม 1,005,297 ล้านบาท 
5. เงินฝากเกินกว่า 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท  
    มีจำนวน 1,633,693 บัญชี เงินฝากรวม 1,164,883 ล้านบาท 
6. เงินฝากเกิน 1,000,000 บาทแต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท  
    มีจำนวน 1,782,263 บัญชี เงินฝากรวม 4,392,421 ล้านบาท 
7. เงินฝากเกิน 10,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 25,000,000 บาท  
    มีจำนวน 104,148 บัญชี เงินฝากรวม 1,551,294 ล้านบาท 
8. เงินฝากเกิน 25,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท  
    มีจำนวน 31,663 บัญชี เงินฝากรวม 1,105,442 ล้านบาท
9. เงินฝากเกิน 50,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท
    มีจำนวนบัญชี 14,412 บัญชี เงินฝากรวม 1,005,711 ล้านบาท
10. เงินฝากเกิน 100,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000,000 บาท  
    มีจำนวนบัญชี 6,471 บัญชี เงินฝากรวม 891,057 ล้านบาท 
11. เงินฝากเกินเกิน 200,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000,000 บาท  
    มีจำนวนบัญชี 3,455 บัญชี เงินฝากรวม 1,049,487 ล้านบาท 
12. เงินฝากเกินตั้งแต่ 500,000,000 บาทขึ้นไป  
    มีจำนวน 1,608 บัญชี มีเงินฝากรวม 2,568,787 ล้านบาท
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5BtOZEYmFx9JNt9Ik7dOhc/16272b5f4a54881b3d427ff8d504db96/info_BOT-Financial-class-pyramid-bank-account-90-percent-poor-02__1_
กล่าวได้ว่า ข้อมูลจำนวนบัญชีเงินฝากคนไทย ไม่ว่าจะปีไหน ก็สะท้อนให้เห็น ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ระหว่าง ‘คนรวยและคนจน’ ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อไป โดยคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือคือเกือบ 90% เป็นผู้มีเงินในบัญชีไม่เกิน 50,000 บาท ยิ่งมาพบค่าเฉลี่ยต่อบัญชีที่ลดลงเรื่อยๆ จาก 4,240 บาท/บัญชี ซึ่งก็ถือว่าน้อยอยู่แล้ว มาวันนี้ ยังลดลงได้อีก 120 บาท อยู่ที่ 4,120 บาท ถ้าต้องประสบข้าวยากหมากแพงไม่หยุดหย่อน ‘ความเหลื่อมล้ำ ยิ่งห่าง’ แล้วคนส่วนใหญ่ จะไหวไหม? ถ้ายังต้องอยู่ในสภาพ หากินยากลำบากต่อไปเรื่อยๆ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์