รถไฟฟ้า หมดเวลาฟรี! ดีเดย์เก็บตังค์ ทั้ง ‘เหลือง-เขียว’

3 ก.ค. 2566 - 03:15

  • รฟม.ดีเดย์พร้อมกัน 3 กรกฎาคม 66 สีเหลือง เริ่มเก็บค่าโดยสาร ด้านประชาชนมีงง อัตราเริ่มต้น 15 บาท จ่ายจริง 19 บาท?

  • ขณะที่สีเขียว ‘จอดแล้วจร’ สถานีคูคต และ แยก คปอ. เริ่มเก็บค่าบริการวันเดียวกัน แล้วต้องเสียเท่าไร เช็ก!

BTS-green-line-Monorail-yellow-pay-money-fare-park-and-ride-SPACEBAR-Thumbnail
มิติใหม่ของรถไฟฟ้า หลังทดลองวิ่งและให้ใช้ฟรี กับสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง วันนี้ 3 กรกฎาคม 66 ไม่ฟรีแล้ว! รฟม. ใช้โอกาสวันเดียวกัน เริ่มเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และการใช้บริการอาคารจอดแล้วจร 2 สถานีของรถไฟฟ้าสายสีเขียว แล้วอะไรจ่ายเท่าไร? 
 
อัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 
กล่าวได้ว่า อัตราค่าโดยสาร ที่ รฟม.ประกาศ คือ ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ใครใช้กี่สถานีเสียเท่าไร เช็ก! 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4RmpgP3RFsWSI3T6oLzrxx/1b35393af572b702f96ea75128ae2b4c/BTS-green-line-Monorail-yellow-pay-money-fare-park-and-ride-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1rETOSW2LuMimutxK2h7i5/11e34a3a27d1997340716c2483db816d/BTS-green-line-Monorail-yellow-pay-money-fare-park-and-ride-SPACEBAR-Photo02
ทันทีที่ รฟม.แจ้งข่าวสาร ก็มีประชาชนหลายคนให้มุมมองถึงอัตราค่าโดยสารในเชิงคำถามว่า แพงไปหรือไม่ เช่นการใช้บริการเพียง 1 สถานี ทำไมถึงต้องจ่าย 19 บาท ต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นที่ให้บริการอยู่ และผิดจากสิ่งที่แจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ ว่าราคาเริ่ม 15 บาท และหากเทียบหลายๆ จุดที่ไม่ได้ไกล หรือไม่ใช่จุดรถติดมาก อาจทำให้คนลาดพร้าว เลือกใช้รถโดยสารประจำทางเช่นเดิม
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/66aZ4pE7xMyjqjJXcWQIRs/279a24cac85169645cd6e8016b494320/BTS-green-line-Monorail-yellow-pay-money-fare-park-and-ride-SPACEBAR-Photo_V01
ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ถือเป็นหนึ่งในโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในความรับผิดชอบของ รฟม. ที่ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (Feeder Line) ที่จะใช้ขนส่งผู้โดยสารจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ และพื้นที่บางส่วนในจังหวัดสมุทรปราการ เข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายหลักอื่นๆ มีระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของประเทศไทย โครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 23 สถานี โดยมีอาคารจอดแล้วจรสำหรับผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวสามารถเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ได้บริเวณสถานีศรีเอี่ยม และสถานีลาดพร้าว  

ซึ่งอาคารจอดแล้วจรดังกล่าว ก็มีการแจ้งการเก็บอัตราค่าใช้บริการ โดยมีอัตราค่าใช้บริการที่แตกต่าง ระหว่างผู้จอดแล้วจรด้วย ‘รถไฟฟ้า’ กับผู้จอดแล้วจรด้วย ‘รถสาธารณะอื่น’ ดังต่อไปนี้ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3B6zA5EFHBSztsAl0LKFUW/502c1ae89334c67eb7d4a0e81f77cb12/BTS-green-line-Monorail-yellow-pay-money-fare-park-and-ride-SPACEBAR-Photo03
สายสีเขียว เริ่มเก็บค่าบริการ ‘จอดแล้วจร’ ด้วย 
โอกาสเดียวกันนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วง หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ที่แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการโดยสารรถไฟฟ้าในสายนี้ แต่ก็มีการแจ้งเรื่องการเริ่มเก็บค่าบริการอาคารจอดแล้วจร ซึ่งรถไฟสายนี้ มี 2 จุดจอด คือที่สถานีปลายทาง คูคต และสถานีแยก คปอ. อัตราค่าบริการ เป็นดังนี้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3xgOcFBFhDsAFDZHKb6pKV/23ef27b0e88304c21d07e1e9b2b4f085/BTS-green-line-Monorail-yellow-pay-money-fare-park-and-ride-SPACEBAR-Photo_V02
กล่าวได้ว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียว และอาคารจอดแล้วจรในเส้นทางนี้ทดลองให้บริการฟรีมาถึงกว่า 3 ปีครึ่ง หรือตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มาบัดนี้ รฟม.บอกว่า การทดสอบสมรรถนะของเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ‘ระบบจอดรถอัจฉริยะ’ (Smart Parking) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มเก็บค่าใช้บริการนับจาก 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป 

ซึ่งอาคารจอดทั้งหมดของ รฟม. เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 01.00 น. ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถนำรถมาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ห้องทำบัตรรายเดือน หรือโหลดแอปพลิเคชั่น MRTA Parking 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์