เราไม่รู้ว่าเพราะชื่อของ VinFast หรือเปล่าที่ทำให้พวกเขาดูจะทำอะไรรวดเร็วไปเสียทุกอย่าง บริษัทเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2017 พอถึงกลางปี 2018 ก็ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ระดับโลก ในปีถัดมา คือ 2019 ก็ปล่อยรถยนต์รุ่นแรกที่มีดีไซน์อิงกับ F10 BMW 5 Series
พวกเขาเริ่มต้นด้วยรถเครื่องยนต์สันดาป (ICE) ก่อนเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับกลไกของรถยนต์ก่อนที่จะทะยานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าอันเป็นเป้าหมายที่ใหญ่กว่า ดังนั้น พวกเขาจึงประกาศที่จะหยุดผลิตรถ ICE ภายในสิ้นปี 2022 ทั้งๆ ที่เพิ่งผลิตมาได้แค่ 4 ปี และทำอย่างนั้นจริงๆ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 โดยหยุดรับออเดอร์ ICE ตั้งแต่นั้นมา
ต้องยอมรับว่าจุดเด่นของ VinFast ก็คือทำอะไรทำไว ทำจริง และกล้าทำ ส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นเหตุและปัจจัยที่ทำให้รถยนต์ของพวกเขาเข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดเวียดนามในฐานะค่ายรถระดับท็อปในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์เอามากๆ
แต่เวียดนามเป็นประเทศที่ชาตินิยมและนิยมความเป็นเวียดนามอย่างจัดๆ จึงไม่ยากที่ VinFast จะเข้ามาปักหมุดในตลาดประเทศตัวเอง แต่กับความฝันที่จะปักหมุดตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาดต่างประเทศที่พวกเขาหมายตามากที่สุด มันกลับดูเป็นนิยายแฟนตาซีจนเกินไป จนกระทั่งเพื่อนบ้านในอาเซียนไม่อยากจะเชื่อ และทุกครั้งที่มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับ VinFast ทุกคนก็จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ว่าแล้วเชียว”
ท่ามกลางข่าวด้านลบก็ยังมีข่าวด้านบวกออกมาเรื่อยๆ ไม่กี่วันก่อนคริสต์มาสปี 2022 ปรากฏว่า VinFast ทำสำเร็จด้วยการได้รับอนุญาตให้ขาย SUVs ที่เป็น EV ในสหรัฐได้เป็นครั้งแรก
นั่นยังไม่น่าสนใจเท่ากับที่ VinFast เป็นค่ายรถจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายแรกที่ผลิต EV เพื่อบุกตลาดใหญ่อย่างสหรัฐ (และยุโรป) ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่พร้อมกว่าในเรื่อง EV ยังขยับถึงขั้นนี้
เรื่องนี้ค่อนข้างสวนทางกับความเป็นจริงในเวียดนาม ที่สาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับ EV ในเวียดนามยังไม่พร้อมเอามากๆ จนทำให้บางคนอดสงสัยไม่ได้ว่าการที่ VinFast ที่ต้องการจะเป็นเจ้าแห่ง EV ในภูมิภาค และบุกตลาดโลกนั่น มันเป็นเรื่องจริงแค่ไหน หรือว่าเป็นแค่การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำอีกครั้งของเวียดนามกันแน่?
‘แชบอล’ เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะรัฐบาลเผด็จการของเกาหลีใต้ต้องการใช้บริษัทใหญ่ๆ เป็นเครื่องมือในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่ทรงพลัง โดยมอบสัมปทานใหญ่ๆ ให้พวกเขา แล้วแชบอลเหล่านี้มีหน้าที่สร้างงานและเงินเข้าประเทศ เมื่อผลประโยชน์ลงตัว รัฐบาลก็จะช่วยคุ้มครองบริษัทให้ มันจึงเป็นโมเดลระบบอุปถัมภ์ที่แข็งแกร่งมาก
แต่มันก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นที่เลวร้ายมากเช่นกัน อย่างที่เราจะเห็นว่าจนถึงวันนี้ที่เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เราก็ยังได้ยินข่าวการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นกับประธานของแชบอลและคนระดับประธานาธิบดีของเกาหลีใต้
เช่นเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามกำลังปั้นให้ Vingroup มีลักษณะเหมือนแชบอล และคุ้มครอง Vingroup เหมือนกับรัฐบาลเกาหลีใต้คุ้มหัวแชบอล สื่อบางรายจึงตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อมีข่าวด้านลบเกี่ยวกับ Vingroup ออกมาในเวียดนาม มันจะถูกแก้ไข (หรือปิดข่าว?) อย่างรวดเร็ว
ในกรณีของเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับแชบอลจะดูคลุมเครือ แต่มันถูกชดเชยด้วยการที่แชบอลเป็นตัวผลักดันความก้าวหน้าของประเทศ ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้น ในขณะที่แชบอลดูจะอยู่ในพื้นที่สีเทาในตอนแรก แต่มันเริ่มจะโปร่งใสเรื่อยๆ ผ่านการพัฒนาตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ จากระบบอุปถัมภ์ที่อิงกับการที่รัฐประเคนทรัพยากรให้ มาเป็นองค์กรที่ช่วยค้ำชูประเทศด้วยนวัตกรรม
ความยั่งยืนของโมเดลแชบอลขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นเลิกพึ่งประเทศชาติ (หรือรัฐบาล) ได้แค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับการมีโทคโนโลยีในมือนั่นเอง และเกาหลีใต้ทำได้ เพราะพวกเขาเริ่มจากการลองผิดลองถูกตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมหนัก เช่น การต่อเรือและการผลิตเหล็กกล้า
แต่เวียดนามต่างออกไป พวกเขาล้มเหลวในการลอกเกาหลีใต้ตั้งแต่แรก บริษัทใหญ่ของเวียดนามที่เลียนแบบฮุนได แดวู หรือซัมซุงด้วยโมเดลอุตสาหกรรมหนักและการต่อเรือและเหล็กกล้า พากันล้มเหลวกันไปทีละบริษัทสองบริษัท เพราะก้าวไม่พ้นปัญหาคอร์รัปชั่น ตัวอย่างสำคัญคือ Vinashin รัฐวิสาหกิจต่อเรือที่ร่วมลงทุนกับฮุนได แต่ขาดทุนย่อยยับและยังเจอปัญหาคอร์รัปชั่นที่รุนแรง
วิชันที่ดีอาจทำให้ ‘วิน’
Vingroup เองเพิ่งจะกำหนดสถานะตัวเองเป็นบริษัทอุตสาหกรรมหนักเพียงไม่กี่ปีนี้เองโดยเริ่มจากการผลิตรถยนต์ นั่นคือ VinFast แต่เงินที่พวกเขานำมาถลุงในอุตสาหกรรมนี้ มาจากธุรกิจที่ไม่สร้างนวัตกรรมเอาเสียเลย นั่นคืออสังหาริมทรัพย์
และการที่ VinFast ยังพึ่งพาเทคโนโลยีจากค่ายรถภายนอก ทำให้ถูกมองว่ามันยังไม่ใช่รถของ ‘Vietnamese’ จริงๆ มีแต่ชื่อเท่านั้น ‘Vin’ ที่เป็นเวียดนาม แต่เทคโนโลยีซื้อจากต่างประเทศ จนบางครั้งมันดูเหมือนว่า VinFast จะทำพีอาร์เพื่อให้ชาวโลกได้เข้าใจว่าเวียดนามมีศักยภาพที่จะผลิตรถยนต์ของตัวเองเสียมากกว่า
แม้ว่ามันจะดูเหมือนการประโคมพีอาร์ครั้งใหญ่ แต่ต้องยอมรับว่า VinFast อาจกำลังพีอาร์ตัวเองถูกจุด เพราะพวกเขาไม่ได้มุ่งผลิตรถยนต์สันดาปอีกต่อไป พวกเขามุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็นผู้นำรถ EV โดยไม่ได้เน้นที่ตลาดอาเซียนด้วยกัน แต่พวกเขามุ่งสู่ตลาดโพ้นทะเลที่ไกลแสนไกลจากเวียดนาม และมีความท้าทายอย่างเหลือเชื่อ นั่นคือ ตลาดสหรัฐและตลาดยุโรป
ในตลาดสหรัฐ พวกเขาถูกตั้งข้อสงสัยว่าทะเยอทะยานเกินไปหรือเปล่าที่จะมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของยักษ์ใหญ่อย่าง Tesla? และมันเป็นไปได้แค่ไหนที่ค่ายรถโนเนมจากประเทศโนเนมจากบุกตลาดสหรัฐ? และทำไมพวกเขาถึงกล้าไปมองหาที่ตั้งฐานการผลิตในเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่พวกเขาซื้อ (หรือเลียนแบบ) เทคโนโลยีรถยนต์มาทำเอง? คำถามเหล่านี้ไม่สำคัญเท่ากับว่า VinFast มีวิสัยทัศน์อย่างไรถึงได้บุกตลาดตะวันตก?
ต้องแตกต่างถึงจะชนะ
ในกรณีของสหรัฐ เราเชื่อว่า VinFast ต้องการชิงพื้นที่ของ EV ราคาถูก แต่ราคา Tesla รุ่นถูกสุดของปี 2023 ดูเหมือนจะถูกกว่ารถเวียดนามเสียอีก คือ Model 3 ราคาเริ่มต้นที่ 43,990 ดอลลาร์ ขณะที่ราคาในปี 2023 ของ VinFast VF 8 ในสหรัฐอยู่ที่ 40,700 ดอลลาร์ ราคาห่างกันไม่มากนัก แต่ชื่อเสียงของแบรนด์จะเป็นตัวชี้ขาดแน่นอน
มันเป็นสิ่งที่พวกเขาภาคภูมิใจมากถึงขนาดบอกว่า “โปรแกรม VinFast Battery Subscription เป็นรูปแบบบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ทุกคนเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียม (EV) ได้มากขึ้น”
ด้วยบริการที่ไม่เหมือนใครแบบนี้ ทำให้พวกเขาโดดเด่นขึ้นมาได้ในตลาดที่เขี้ยวลากดินสุดๆ
อีกปัจจัยสำคัญก็คือ ประเทศตะวันตกมีนโยบายที่เอื้อต่อการซื้อ EV มากขึ้นแบบที่ไม่ซื้อไม่ได้ และไม่มาขายก็ไม่ได้ อย่างเช่น VF 8 จะได้ลดหย่อนภาษีรัฐบาลกลางถึง 7,500 ดอลลาร์ ส่วนตลาดยุโรปมีกำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าภายในทศวรรษนี้จะเลิกผลิตรถยนต์สันดาป ดังนั้นอนาคตอีกไม่นานต่อจากนี้ ยุโรปจะมีแต่ EV บนท้องถนน และก่อนที่จะถึงวันนั้น ค่ายรถไหนที่มองเห็นโอกาสก็ต้องรีบไปปักหมุดในยุโรปกันก่อน
VinFast อาจจะคิดแบบนี้ พวกเขาถึงกล้าที่จะเดินหน้าสู่โลกแห่ง EV เต็มตัว และเหตุที่พวกเขามุ่งสู่โลกตะวันตกก่อนเอเชีย ก็เพราะที่นั่นมีความพร้อมมากกว่านั่นเอง แต่มันจะเป็นการปักหมุดที่สำเร็จหรือไม่ เรื่องนี้ต้องติดตามกันต่อไปยาวๆ
พวกเขาเริ่มต้นด้วยรถเครื่องยนต์สันดาป (ICE) ก่อนเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับกลไกของรถยนต์ก่อนที่จะทะยานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าอันเป็นเป้าหมายที่ใหญ่กว่า ดังนั้น พวกเขาจึงประกาศที่จะหยุดผลิตรถ ICE ภายในสิ้นปี 2022 ทั้งๆ ที่เพิ่งผลิตมาได้แค่ 4 ปี และทำอย่างนั้นจริงๆ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 โดยหยุดรับออเดอร์ ICE ตั้งแต่นั้นมา
ต้องยอมรับว่าจุดเด่นของ VinFast ก็คือทำอะไรทำไว ทำจริง และกล้าทำ ส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นเหตุและปัจจัยที่ทำให้รถยนต์ของพวกเขาเข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดเวียดนามในฐานะค่ายรถระดับท็อปในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์เอามากๆ
แต่เวียดนามเป็นประเทศที่ชาตินิยมและนิยมความเป็นเวียดนามอย่างจัดๆ จึงไม่ยากที่ VinFast จะเข้ามาปักหมุดในตลาดประเทศตัวเอง แต่กับความฝันที่จะปักหมุดตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาดต่างประเทศที่พวกเขาหมายตามากที่สุด มันกลับดูเป็นนิยายแฟนตาซีจนเกินไป จนกระทั่งเพื่อนบ้านในอาเซียนไม่อยากจะเชื่อ และทุกครั้งที่มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับ VinFast ทุกคนก็จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ว่าแล้วเชียว”
ท่ามกลางข่าวด้านลบก็ยังมีข่าวด้านบวกออกมาเรื่อยๆ ไม่กี่วันก่อนคริสต์มาสปี 2022 ปรากฏว่า VinFast ทำสำเร็จด้วยการได้รับอนุญาตให้ขาย SUVs ที่เป็น EV ในสหรัฐได้เป็นครั้งแรก
นั่นยังไม่น่าสนใจเท่ากับที่ VinFast เป็นค่ายรถจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายแรกที่ผลิต EV เพื่อบุกตลาดใหญ่อย่างสหรัฐ (และยุโรป) ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่พร้อมกว่าในเรื่อง EV ยังขยับถึงขั้นนี้
เรื่องนี้ค่อนข้างสวนทางกับความเป็นจริงในเวียดนาม ที่สาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับ EV ในเวียดนามยังไม่พร้อมเอามากๆ จนทำให้บางคนอดสงสัยไม่ได้ว่าการที่ VinFast ที่ต้องการจะเป็นเจ้าแห่ง EV ในภูมิภาค และบุกตลาดโลกนั่น มันเป็นเรื่องจริงแค่ไหน หรือว่าเป็นแค่การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำอีกครั้งของเวียดนามกันแน่?
จะ Fast ได้ไกลแค่ไหน?
เหมือนกับว่าความพยายามของ Vingroup จะสอดคล้องกับความหวังของเวียดนามที่จะเดินตามรอยเกาหลีใต้ อย่างที่ Vingroup เองก็พยายามที่จะทำตัวให้คล้ายกับ ‘แชบอล’ (Chaebol) หรือกลุ่มบริษัทของเกาหลีใต้ที่มีธุรกิจครอบคลุมทุกมิติของวิถีชีวิตประชาชนและยังมีความเกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกกับการกำหนดนโยบายของรัฐ‘แชบอล’ เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะรัฐบาลเผด็จการของเกาหลีใต้ต้องการใช้บริษัทใหญ่ๆ เป็นเครื่องมือในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่ทรงพลัง โดยมอบสัมปทานใหญ่ๆ ให้พวกเขา แล้วแชบอลเหล่านี้มีหน้าที่สร้างงานและเงินเข้าประเทศ เมื่อผลประโยชน์ลงตัว รัฐบาลก็จะช่วยคุ้มครองบริษัทให้ มันจึงเป็นโมเดลระบบอุปถัมภ์ที่แข็งแกร่งมาก
แต่มันก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นที่เลวร้ายมากเช่นกัน อย่างที่เราจะเห็นว่าจนถึงวันนี้ที่เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เราก็ยังได้ยินข่าวการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นกับประธานของแชบอลและคนระดับประธานาธิบดีของเกาหลีใต้
เช่นเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามกำลังปั้นให้ Vingroup มีลักษณะเหมือนแชบอล และคุ้มครอง Vingroup เหมือนกับรัฐบาลเกาหลีใต้คุ้มหัวแชบอล สื่อบางรายจึงตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อมีข่าวด้านลบเกี่ยวกับ Vingroup ออกมาในเวียดนาม มันจะถูกแก้ไข (หรือปิดข่าว?) อย่างรวดเร็ว
ในกรณีของเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับแชบอลจะดูคลุมเครือ แต่มันถูกชดเชยด้วยการที่แชบอลเป็นตัวผลักดันความก้าวหน้าของประเทศ ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้น ในขณะที่แชบอลดูจะอยู่ในพื้นที่สีเทาในตอนแรก แต่มันเริ่มจะโปร่งใสเรื่อยๆ ผ่านการพัฒนาตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ จากระบบอุปถัมภ์ที่อิงกับการที่รัฐประเคนทรัพยากรให้ มาเป็นองค์กรที่ช่วยค้ำชูประเทศด้วยนวัตกรรม
ความยั่งยืนของโมเดลแชบอลขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นเลิกพึ่งประเทศชาติ (หรือรัฐบาล) ได้แค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับการมีโทคโนโลยีในมือนั่นเอง และเกาหลีใต้ทำได้ เพราะพวกเขาเริ่มจากการลองผิดลองถูกตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมหนัก เช่น การต่อเรือและการผลิตเหล็กกล้า
แต่เวียดนามต่างออกไป พวกเขาล้มเหลวในการลอกเกาหลีใต้ตั้งแต่แรก บริษัทใหญ่ของเวียดนามที่เลียนแบบฮุนได แดวู หรือซัมซุงด้วยโมเดลอุตสาหกรรมหนักและการต่อเรือและเหล็กกล้า พากันล้มเหลวกันไปทีละบริษัทสองบริษัท เพราะก้าวไม่พ้นปัญหาคอร์รัปชั่น ตัวอย่างสำคัญคือ Vinashin รัฐวิสาหกิจต่อเรือที่ร่วมลงทุนกับฮุนได แต่ขาดทุนย่อยยับและยังเจอปัญหาคอร์รัปชั่นที่รุนแรง
วิชันที่ดีอาจทำให้ ‘วิน’
Vingroup เองเพิ่งจะกำหนดสถานะตัวเองเป็นบริษัทอุตสาหกรรมหนักเพียงไม่กี่ปีนี้เองโดยเริ่มจากการผลิตรถยนต์ นั่นคือ VinFast แต่เงินที่พวกเขานำมาถลุงในอุตสาหกรรมนี้ มาจากธุรกิจที่ไม่สร้างนวัตกรรมเอาเสียเลย นั่นคืออสังหาริมทรัพย์
และการที่ VinFast ยังพึ่งพาเทคโนโลยีจากค่ายรถภายนอก ทำให้ถูกมองว่ามันยังไม่ใช่รถของ ‘Vietnamese’ จริงๆ มีแต่ชื่อเท่านั้น ‘Vin’ ที่เป็นเวียดนาม แต่เทคโนโลยีซื้อจากต่างประเทศ จนบางครั้งมันดูเหมือนว่า VinFast จะทำพีอาร์เพื่อให้ชาวโลกได้เข้าใจว่าเวียดนามมีศักยภาพที่จะผลิตรถยนต์ของตัวเองเสียมากกว่า
แม้ว่ามันจะดูเหมือนการประโคมพีอาร์ครั้งใหญ่ แต่ต้องยอมรับว่า VinFast อาจกำลังพีอาร์ตัวเองถูกจุด เพราะพวกเขาไม่ได้มุ่งผลิตรถยนต์สันดาปอีกต่อไป พวกเขามุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็นผู้นำรถ EV โดยไม่ได้เน้นที่ตลาดอาเซียนด้วยกัน แต่พวกเขามุ่งสู่ตลาดโพ้นทะเลที่ไกลแสนไกลจากเวียดนาม และมีความท้าทายอย่างเหลือเชื่อ นั่นคือ ตลาดสหรัฐและตลาดยุโรป
ในตลาดสหรัฐ พวกเขาถูกตั้งข้อสงสัยว่าทะเยอทะยานเกินไปหรือเปล่าที่จะมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของยักษ์ใหญ่อย่าง Tesla? และมันเป็นไปได้แค่ไหนที่ค่ายรถโนเนมจากประเทศโนเนมจากบุกตลาดสหรัฐ? และทำไมพวกเขาถึงกล้าไปมองหาที่ตั้งฐานการผลิตในเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่พวกเขาซื้อ (หรือเลียนแบบ) เทคโนโลยีรถยนต์มาทำเอง? คำถามเหล่านี้ไม่สำคัญเท่ากับว่า VinFast มีวิสัยทัศน์อย่างไรถึงได้บุกตลาดตะวันตก?
ต้องแตกต่างถึงจะชนะ
ในกรณีของสหรัฐ เราเชื่อว่า VinFast ต้องการชิงพื้นที่ของ EV ราคาถูก แต่ราคา Tesla รุ่นถูกสุดของปี 2023 ดูเหมือนจะถูกกว่ารถเวียดนามเสียอีก คือ Model 3 ราคาเริ่มต้นที่ 43,990 ดอลลาร์ ขณะที่ราคาในปี 2023 ของ VinFast VF 8 ในสหรัฐอยู่ที่ 40,700 ดอลลาร์ ราคาห่างกันไม่มากนัก แต่ชื่อเสียงของแบรนด์จะเป็นตัวชี้ขาดแน่นอน
ถึงขนาดนี้แล้วทำไม VinFast ถึงกล้าเสี่ยงในตลาดใหญ่ขนาดนี้?
นั่นเพราะพวกเขามีแผนที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ บริการหลังการขายที่เรียกว่า VinFast Battery Subscription ซึ่งเมื่อลูกค้าซื้อ VinFast EV ค่าแบตเตอรี่จะไม่รวมอยู่ในราคาซื้อรถยนต์ แต่ลูกค้าจะจ่ายค่าสมัครรายเดือนตามแผนที่เหมาะสมกับความต้องการ (VF 8 มูลค่า 169 ดอลลาร์ต่อเดือน VF 9 มูลค่า 219 ดอลลาร์ต่อเดือน) โดย VinFast จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม บำรุงรักษา และเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยที่ลูกค้าจะขับไปไกลเท่าไรก็ได้ไม่มีจำกัด (Unlimited Range)
มันเป็นสิ่งที่พวกเขาภาคภูมิใจมากถึงขนาดบอกว่า “โปรแกรม VinFast Battery Subscription เป็นรูปแบบบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ทุกคนเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียม (EV) ได้มากขึ้น”
ด้วยบริการที่ไม่เหมือนใครแบบนี้ ทำให้พวกเขาโดดเด่นขึ้นมาได้ในตลาดที่เขี้ยวลากดินสุดๆ
อีกปัจจัยสำคัญก็คือ ประเทศตะวันตกมีนโยบายที่เอื้อต่อการซื้อ EV มากขึ้นแบบที่ไม่ซื้อไม่ได้ และไม่มาขายก็ไม่ได้ อย่างเช่น VF 8 จะได้ลดหย่อนภาษีรัฐบาลกลางถึง 7,500 ดอลลาร์ ส่วนตลาดยุโรปมีกำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าภายในทศวรรษนี้จะเลิกผลิตรถยนต์สันดาป ดังนั้นอนาคตอีกไม่นานต่อจากนี้ ยุโรปจะมีแต่ EV บนท้องถนน และก่อนที่จะถึงวันนั้น ค่ายรถไหนที่มองเห็นโอกาสก็ต้องรีบไปปักหมุดในยุโรปกันก่อน
VinFast อาจจะคิดแบบนี้ พวกเขาถึงกล้าที่จะเดินหน้าสู่โลกแห่ง EV เต็มตัว และเหตุที่พวกเขามุ่งสู่โลกตะวันตกก่อนเอเชีย ก็เพราะที่นั่นมีความพร้อมมากกว่านั่นเอง แต่มันจะเป็นการปักหมุดที่สำเร็จหรือไม่ เรื่องนี้ต้องติดตามกันต่อไปยาวๆ