เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ (NSL Foods) ผู้ผลิตสินค้าเบเกอรีรายใหญ่ของไทย ภายใต้แบรนด์ ปังไท, Natural Bites และ Bitterfin มานานร่วม 19 ปี ล่าสุดมองเห็นโอกาสพัฒนาสินค้าแบรนด์ใหม่ ‘ข้าวแท่ง’ (Rice Bar) ที่จะเข้ามาสร้างเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาดหมวดอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) ที่มีมูลค่ารวมกว่า 20,000-30,000 ล้านบาทในปัจจุบัน และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องทุกปี
สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ใช้งบลงทุนราว 70-80 ล้านบาท ขยายสายการผลิต (ไลน์) สินค้าใหม่ ‘ข้าวแท่ง’ มีกำลังการผลิตเต็มที่ 1.5 แสนตันต่อวัน เพื่อทำตลาดกลุ่มใหม่ในหมวดอาหารพร้อมรับประทาน
สำหรับสินค้าแบรนด์ ‘ข้าวแท่ง’ วางตำแหน่งทางการตลาดเป็นอาหารรองท้อง รองรับกลุ่มป้าหมายลูกค้า ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นไหม่ วัยทำงาน ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแข่งกับเวลา และต้องการอาหารเมนูคาว หรือ หวานให้ความอิ่มท้องในปริมาณที่ไม่มากนักในชั่วโมงเร่งรีบ ของแต่ละวัน
นอกจากนี้ เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ ยังทำงานร่วมกับ ‘เชฟ บีม-ภวินวัชร์ โชคเศรษฐปวินท์’ ท็อป เชฟ ประเทศไทย ในฐานะ เอ็กคลูซีฟ เชฟ ในการพัฒนาเมนูอาหารหมวดของหวานร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่ชื่นชอบเมนูของหวานมีรสชาติอร่อย
โดยแบรนด์ข้าวแท่ง ประกอบไปด้วยเมนูอาหารคาวหวานรวม 18 รายการแบ่งเป็นเมนูคาว 9 รายการ อาทิ ข้าวกระเพราไก่คลุก ข้าวผัดหมู ข้าวไก่กระเทียม ข้าวเหนียวหมูย่าง ข้าวเหนียวลาบหมู และเมนู เบเกอรี 9 รายการ อาทิ ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน ข้าวเหนียวสังขยานย้ำตาลอ้อย ข้าวเหนียวเผือกแปะก๊วย และข้าวเหนียวซุปครีมข้าวโพด เป็นต้น
“อีกหนึ่งจุดเด่นสินค้า คือต้องการตอบโจทย์การกินข้าวด้วยมือเดียว เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ด้วย” สมชาย กล่าว
สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ใช้งบลงทุนราว 70-80 ล้านบาท ขยายสายการผลิต (ไลน์) สินค้าใหม่ ‘ข้าวแท่ง’ มีกำลังการผลิตเต็มที่ 1.5 แสนตันต่อวัน เพื่อทำตลาดกลุ่มใหม่ในหมวดอาหารพร้อมรับประทาน
สำหรับสินค้าแบรนด์ ‘ข้าวแท่ง’ วางตำแหน่งทางการตลาดเป็นอาหารรองท้อง รองรับกลุ่มป้าหมายลูกค้า ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นไหม่ วัยทำงาน ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแข่งกับเวลา และต้องการอาหารเมนูคาว หรือ หวานให้ความอิ่มท้องในปริมาณที่ไม่มากนักในชั่วโมงเร่งรีบ ของแต่ละวัน
นอกจากนี้ เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ ยังทำงานร่วมกับ ‘เชฟ บีม-ภวินวัชร์ โชคเศรษฐปวินท์’ ท็อป เชฟ ประเทศไทย ในฐานะ เอ็กคลูซีฟ เชฟ ในการพัฒนาเมนูอาหารหมวดของหวานร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่ชื่นชอบเมนูของหวานมีรสชาติอร่อย
โดยแบรนด์ข้าวแท่ง ประกอบไปด้วยเมนูอาหารคาวหวานรวม 18 รายการแบ่งเป็นเมนูคาว 9 รายการ อาทิ ข้าวกระเพราไก่คลุก ข้าวผัดหมู ข้าวไก่กระเทียม ข้าวเหนียวหมูย่าง ข้าวเหนียวลาบหมู และเมนู เบเกอรี 9 รายการ อาทิ ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน ข้าวเหนียวสังขยานย้ำตาลอ้อย ข้าวเหนียวเผือกแปะก๊วย และข้าวเหนียวซุปครีมข้าวโพด เป็นต้น
“อีกหนึ่งจุดเด่นสินค้า คือต้องการตอบโจทย์การกินข้าวด้วยมือเดียว เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ด้วย” สมชาย กล่าว

จะทัชใจลูกค้าแมส ต้องใช้กลยุทธ์ราคาช่วย
สมชาย กล่าวอีกว่า บริษัทฯ วางกลยุทธ์ราคาสินค้า (Pricing Strategy) แบรนด์ข้าวแท่งทั้งเมนูคาวหวานในเบื้องต้นอยู่ที่ 29 บาทต่อชิ้น เพื่อทำตลาดสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยบริษัทได้ลดทอนกำไรสินค้าและหันไปบริหารจัดการต้นทุนการผลิตในภาพรวมแทน“หากนับราคาหนึ่งอิ่มทั้งเมนูคาวหวานของข้าวแท่งจะอยู่ที่เกือบ 60 บาทซึ่งถือว่าค่อนข้างคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาอาหารจานเดียวในปัจจุบัน โดยที่ลูกค้าเองก็สามารถเลือกจ่ายข้าวแท่งหมวดคาวหรือหวานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ในราคา 29 บาทต่อหนึ่งมื้อได้ ซึ่งจากการสำรวจยังพบว่าปัจจุบันผู้บริโภคยอมจ่ายค้าอาหารให้กับเมนูของหวานหรือเบเกอรี โดยง่ายกว่าเมื่อเทียบกับอาหารคาว” สมชาย กล่าว

ซอฟต์เพาเวอร์ไทย พาโกอินเตอร์
สำหรับการทำตลาดสินค้าข้าวแท่ง ในเบื้องต้น ผ่าน 2 รูปแบบหลัก คือ- ร้านสาขาต้นแบบ (Flagship store) แห่งแรกภายใต้ชื่อ Rice Bar by NSL ที่ สยามสแควร์วัน เพื่อสะท้อนและสร้างการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยในอนาคตจะขยายไปยังสาขาอื่นๆ อาทิ สถานีรถไฟฟ้า อาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย รวมถึงการจำหน่ายแบบตู้กดสินค้าอัตโนมัติ (Vending machine) ในชุมชนต่างๆ ด้วย
- ทำตลาดผ่านโมเดลแฟรนไชส์ ซึ่งคาดว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมราวปีหน้า
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในปีแรกปีแรก (2566) จะมียอดขายสินค้าข้าวแท่งประมาณ 50-60 ล้านบาท และจะมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องทุกปีจากการขยายช่องทางการขายใหม่ๆ พร้อมหารือกับพันธมิตรช่องทางค้าปลีกสะดวกซื้อ โดยในสิ้นปี 2565 บริษัทวางเป้าหมายผลประกอบการอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท เติบโตจากปี 2564 มีรายได้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนปรับสัดส่วนรายได้เพื่อบริหารความเสี่ยงธุรกิจ โดยในปี 2569 จะมีรายได้จากช่องทางขายร้านค้าปลีกสะดวกซื้อ (เซเว่นอีเลฟเว่น) สัดส่วน 70% จากปัจจุบันอยู่ที่ 85% และ จากช่องทางอื่นๆ (นอน-เซเว่นอีเลฟเว่น) อยู่ที่ 30% ปัจจุบันอยู่ที่ 15%
