ในช่วงเฟสทีฟ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทุกปีแบบนี้ ถือเป็นโมเมนต์ใหญ่ของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ค่ายต่างๆ ที่มักออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาพร้อมกับ ‘บิ๊ก อีเวนต์’ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคในช่วงโค้งท้ายปี และจากปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ยังส่งอานิสงส์ถึงตลาดคราฟต์เบียร์ในประเทศ ให้มีความสดชื่นตามไปด้วย หลังจากเหงาหงอยมาตลอดสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา
อาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ กรรมการ บริษัท ไอเอสทีบี จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเบียร์ไทย-ต่างประเทศ เจ้าของคราฟต์เบียร์แบรนด์ไลเกอร์ และอัลเลมองท์ เปิดเผยในฐานะนายกสมาคมคราฟท์เบียร์ประเทศไทย กับ ‘Spacebar’ ถึงสถานการณ์ตลาดคราฟต์เบียร์ ของไทย ในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา เริ่มเห็นการฟื้นตัวในภาพรวมของอุตสาหกกรรมฯ โดยเฉพาะแบรนด์สินค้าคราฟต์เบียร์ไทย ที่เริ่มทยอยกลับมาทำตลาดมากขึ้นแล้ว จากปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาขิกผู้ผลิตคราฟต์เบียร์อยู่ประมาณกว่า 100 ราย
“เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจัยหลักที่ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงคราฟต์เบียร์จากต่างประเทศด้วย มีต้นทุนสูงขึ้นจากการชิปปิง ขณะที่คราฟต์เบียร์ของผู้ผลิตคนไทย ได้ปรับตัวรอบด้าน รวมถึงราคาที่ปรับลงมาในราคาสมเหตุสมผลมากขึ้นเฉลี่ยราวๆ 170 บาทต่อกระป๋อง ทำให้ลูกค้าคนไทยหันกลับมาบริโภคคราฟต์เบียร์ที่ผลิตในไทยมากขึ้น” อาชิระวัสส์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากการที่มีผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำตลาดผลิตภัณฑ์ ‘เบียร์ อันพาสเจอไรซ์’ พร้อมวางกลยุทธ์ปักหมุดทำเลการตลาดในหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย และ เชียงใหม่ นั้นมองว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อเซ็กเมนต์คราฟต์เบียร์ ของผู้ผลิตไทย ที่มีการทำตลาดในภูมิภาคนี้พอสมควร ด้วยถือเป็นขนาดที่ยังเล็กมาก แต่มองว่าเป็นการเข้ามาท้าชิงพื้นที่การตลาดของแบรนด์คู่แข่งที่ครองตลาดในภูมิภาคนี้ก่อนหน้า มากกว่า
อาชิระวัสส์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลิตภัณฑ์เบียร์อันพาสเจอร์ไรซ์ มีกรรมวิธีผลิตแตกต่างกับคราฟต์เบียร์ โดยเฉพาะในด้านการถนอมคุณภาพของเครื่องดื่มเบียร์ และกระบวนการจัดส่งสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งการทำตลาดของผู้ผลิตแอลกอฮอล์รายใหญ่ดังกล่าว มองว่าเป็นการสร้างสีสันและความเคลื่อนไหวในการทำตลาดผ่านแบรนด์สินค้าในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก้าต้อนรับปีใหม่ โดยเฉพาะการที่ประเทศไทย เริ่มทยอยฟื้นตัวจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปีนี้
อาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ กรรมการ บริษัท ไอเอสทีบี จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเบียร์ไทย-ต่างประเทศ เจ้าของคราฟต์เบียร์แบรนด์ไลเกอร์ และอัลเลมองท์ เปิดเผยในฐานะนายกสมาคมคราฟท์เบียร์ประเทศไทย กับ ‘Spacebar’ ถึงสถานการณ์ตลาดคราฟต์เบียร์ ของไทย ในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา เริ่มเห็นการฟื้นตัวในภาพรวมของอุตสาหกกรรมฯ โดยเฉพาะแบรนด์สินค้าคราฟต์เบียร์ไทย ที่เริ่มทยอยกลับมาทำตลาดมากขึ้นแล้ว จากปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาขิกผู้ผลิตคราฟต์เบียร์อยู่ประมาณกว่า 100 ราย
“เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจัยหลักที่ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงคราฟต์เบียร์จากต่างประเทศด้วย มีต้นทุนสูงขึ้นจากการชิปปิง ขณะที่คราฟต์เบียร์ของผู้ผลิตคนไทย ได้ปรับตัวรอบด้าน รวมถึงราคาที่ปรับลงมาในราคาสมเหตุสมผลมากขึ้นเฉลี่ยราวๆ 170 บาทต่อกระป๋อง ทำให้ลูกค้าคนไทยหันกลับมาบริโภคคราฟต์เบียร์ที่ผลิตในไทยมากขึ้น” อาชิระวัสส์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากการที่มีผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำตลาดผลิตภัณฑ์ ‘เบียร์ อันพาสเจอไรซ์’ พร้อมวางกลยุทธ์ปักหมุดทำเลการตลาดในหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย และ เชียงใหม่ นั้นมองว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อเซ็กเมนต์คราฟต์เบียร์ ของผู้ผลิตไทย ที่มีการทำตลาดในภูมิภาคนี้พอสมควร ด้วยถือเป็นขนาดที่ยังเล็กมาก แต่มองว่าเป็นการเข้ามาท้าชิงพื้นที่การตลาดของแบรนด์คู่แข่งที่ครองตลาดในภูมิภาคนี้ก่อนหน้า มากกว่า
อาชิระวัสส์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลิตภัณฑ์เบียร์อันพาสเจอร์ไรซ์ มีกรรมวิธีผลิตแตกต่างกับคราฟต์เบียร์ โดยเฉพาะในด้านการถนอมคุณภาพของเครื่องดื่มเบียร์ และกระบวนการจัดส่งสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งการทำตลาดของผู้ผลิตแอลกอฮอล์รายใหญ่ดังกล่าว มองว่าเป็นการสร้างสีสันและความเคลื่อนไหวในการทำตลาดผ่านแบรนด์สินค้าในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก้าต้อนรับปีใหม่ โดยเฉพาะการที่ประเทศไทย เริ่มทยอยฟื้นตัวจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปีนี้

ช้าง อันพาสเจอไรซ์’ ยึดหัวเมืองภาคเหนือ
ขณะที่ความเคลื่อนไหวในตลาดแอลกอฮอล์ ในช่วงท้ายปี 2565 ล่าสุด บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาขน) ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เบียร์ใหม่ลงตลาด ‘ช้าง อันพาสเจอไรซ์’ วางตำแหน่งระดับพรีเมียม จำหน่ายในราคา 500 บาท/ขวด ปริมาณ 1.5 ลิตร โดยจะทำตลาดในช่องทางร้านอาหาร-โรงแรมโดยเปิดตัว 2 จังหวัดแรกก่อน ที่ เชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งมองได้ว่าเป็นสองจังหวัดยอดนิยมการท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวของไทย ซึ่ง ช้าง อันพ่สเจไรซื จะยังเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ ในการสร้างแบรนด์ ‘ช้าง’ ให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นด้วย
ต่อเรื่องนี้ เลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย บริษัท ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ระบุว่า ช้าง อันพาสเจอไรซ์ จะเป็นเบียร์ในเซ็กเมนต์พรีเมียมของไทยเบฟ จากกระบวนการผลิตเบียร์ที่ไม่ผ่านความร้อน แต่ใช้เทคนิคใหม่ในการผลิต คือ การใช้ก๊าซไนโตรเจนแทนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการใช้ระบบขนส่งแบบ Cold Chain พร้อมลงตู้แช่พิเศษที่ร้านพันธมิตร เพื่อให้เบียร์รักษาอุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียสตลอดการขนส่ง
โดย เบียร์ช้าง อันพาสเจอไรซ์ จะผลิตจากโรงงานจังหวัดกำแพงเพชร ต้องขนส่งในระยะทางไม่เกิน 4-6 ชั่วโมงจากโรงงานเพื่อรักษาความเย็น เป็นเหตุผลให้ไทยเบฟเลือกเปิดตัวใน 2 จังหวัดแรกก่อน เชียงใหม่ และ เชียงราย ก่อน ด้วยเป็นตลาดที่ให้การตอบรับแบรนด์ช้างมาอย่างดีตลอด และช้างก็มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในตลาดเหล่านี้