คุณกำลังเบื่อทวิตเตอร์อยู่หรือเปล่า?
ฟังดูเหมือนประโยคโฆษณาชวนเชื่อ แต่เชื่อไหมว่าแม้แต่สาวกทวิตเตอร์ก็กำลังถามตัวเองแบบนี้อยู่เหมือนกัน
ก่อนหน้านี้ทวิตเตอร์มีสารพัดปัญหาและผ่านมรสุมมานับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเรื่องการยิงโฆษณา หน้าฟีดที่เต็มไปด้วยข่าวปลอม การเมือง ไซเบอร์บูลลี่ วัฒนธรรมแคนเซิล การล่วงละเมิดอย่างรุนแรง การปะทะกันระหว่างกลุ่มซ้ายกับขวาจัด หรือแม้แต่พวกฝักใฝ่นาซี ทำให้ผู้ใช้ต่างเบื่อ เอือมระอา ที่ผ่านมามีหลายเคสที่ต้องเจอกับการคุกคามและเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ นานา จนเลิกเล่นโซเชียลมีเดียไปเลย หรือลงเอยด้วยเรื่องน่าสลด แต่ก็ยังมีผู้ใช้แพลตฟอร์มนี้ทั่วโลก
ปรากฏว่าสถานการณ์ของบริษัทดูจะเลวร้ายลงไปทุกที หลังจากอีลอน มัสก์ เข้ามาคุมบริษัทและเร่งปรับเปลี่ยนกฎไม่เว้นวัน รวมถึงทวีตไล่พนักงานออกกลางทวิตเตอร์ ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากไม่พอใจและเหลืออดกับการกระทำเช่นนี้
จะด้วยซีอีโอคนใหม่หรือเหตุผลใดก็ตาม มันกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับผู้ใช้ที่อยากหนีจากแพลตฟอร์มนี้เต็มทน มีรายงานข่าวออกมาไม่เว้นวันว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์เปลี่ยนไปใช้แอปฯ โซเชียลอื่น แม้แต่แบรนด์ต่างๆ ก็เริ่มตีตัวออกห่าง
หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง คือ กลุ่มนักข่าวและวงการสื่อระดับโลกที่กำลังย้ายบ้านไปสู่แพลตฟอร์มที่ชื่อ ‘Mastodon’
เช้าวันนี้ (18 ก.ย.) Paul Krugman คอลัมนิสต์แห่ง New York Times ได้ทวีตข้อความว่า “โอเค ถ้าทวิตเตอร์จะตายในเร็วๆ นี้ —ซึ่งจู่ๆ ก็ดูมีความเป็นไปได้จริงๆ — ผมมีบัญชี Mastodon mastodon.online/@pkrugman บรรดาคอลัมน์และข่าวสารต่างๆ สามารถหาอ่านได้ที่นี่”
ขณะที่ Dave Lee นักข่าวแห่ง Financial Times ก็ทวีตเล่าว่าบรรดานักข่าวกำลังย้ายจากทวิตเตอร์ไปยังแพลตฟอร์ม Mastodon กัน พวกเขายังสร้างวิธีการยืนยันตัวตนและแชร์ข้อมูลโปรไฟล์ของนักข่าว ผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ใดก็ได้ของ Mastodon

Mastodon คืออะไร ทำไมคนหันไปใช้แทนทวิตเตอร์

คำตอบแรกคือ Mastodon มีในสิ่งที่ทวิตเตอร์ไม่มี และทำในสิ่งที่ทวิตเตอร์ไม่ทำ (หรืออาจจะเคยทำในยุคแรกๆ) นั่นคือ
Mastodon ไม่ใช่แพลตฟอร์มน้องใหม่มาแรง แต่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กประเภท open-source บนระบบกระจายศูนย์ (decentralized) ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 ถือว่าเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กที่กล้าแหวกขนบ และตั้งใจเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกที่ต่อต้านโฆษณา ขณะที่ทวิตเตอร์และโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่นั้นขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายที่จะสร้างเอนเกจเมนต์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้คนใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มนานที่สุด (และกอบโกยรายได้จากโฆษณา)
สรุปง่ายๆ ก็คือ Mastodon ก็คือทวิตเตอร์ที่ไม่มีโฆษณานั่นเอง ผู้ใช้สื่อสารกันผ่านโพสต์ข้อความสั้นๆ (microblogging) และมีเครื่องมือตรวจจับข้อความที่เข้าข่ายการล่วงละเมิดตามมาตรฐาน
ฟีเจอร์เหล่านี้สะท้อนถึงความตั้งใจของการออกแบบโซเชียลมีเดียเพื่อไม่ให้คนหมกมุ่นกับยอดไลก์ จนกลายเป็นคอมมูนิตี้ที่บ่อนทำลายสุขภาพจิตเหมือนแพลตฟอร์มอื่นๆ
แล้วเราจะดูโพสต์สาธารณะของคนอื่นได้ไหม? คำตอบคือได้ เพียงแค่กด Explore หน้าฟีดก็จะเปลี่ยนเป็นโพสต์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในเวลานั้น และสามารถค้นหาข้อความหรือโพสต์ที่สนใจผ่านแฮชแท็กได้เช่นกัน
การหาเพื่อนบนแพลตฟอร์มนี้อาจจะยุ่งยากสักหน่อย เพราะยังมีผู้ใช้ไม่เยอะ คุณอาจจะต้องทวีตแจ้งข่าวเพื่อบอกเพื่อนๆ หรือผู้ติดตามบนทวิตเตอร์ว่า คุณกำลังจะย้ายไปเปิดบัญชีใหม่ พร้อมแนบลิงก์ ทำให้ผู้ติดตามเข้ามาเป็นเพื่อนกับคุณบนแพลตฟอร์มใหม่ได้ (ดูเป็นวิธีที่ย้อนแย้งอย่างบอกไม่ถูก)
อย่างไรก็ดี แพลตฟอร์มนี้ยังเป็นที่นิยมกันแค่เฉพาะกลุ่มในสหรัฐฯ เท่านั้น ส่วนในไทย คนส่วนใหญ่น่าจะยังคงใช้ทวิตเตอร์กันต่อไปตามความเคยชิน จนกว่าบริษัททวิตเตอร์จะเจ๊งจริงๆ
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ลองหาตัวเลือกไว้ก่อนก็น่าจะดีไม่น้อย
- Mastodon (ณ ตอนนี้) เป็นเพียงคอมมูนิตี้ออนไลน์
- (ยัง) ไม่มีโฆษณา การติดตามข้อมูลผู้ใช้ การสร้างรายได้ (Monetization) จากโฆษณา ข้อมูล หรืออื่นๆ (อ้างอิงจากบทความโดย WIRED และ PC Mag)
Mastodon ไม่ใช่แพลตฟอร์มน้องใหม่มาแรง แต่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กประเภท open-source บนระบบกระจายศูนย์ (decentralized) ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 ถือว่าเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กที่กล้าแหวกขนบ และตั้งใจเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกที่ต่อต้านโฆษณา ขณะที่ทวิตเตอร์และโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่นั้นขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายที่จะสร้างเอนเกจเมนต์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้คนใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มนานที่สุด (และกอบโกยรายได้จากโฆษณา)
สรุปง่ายๆ ก็คือ Mastodon ก็คือทวิตเตอร์ที่ไม่มีโฆษณานั่นเอง ผู้ใช้สื่อสารกันผ่านโพสต์ข้อความสั้นๆ (microblogging) และมีเครื่องมือตรวจจับข้อความที่เข้าข่ายการล่วงละเมิดตามมาตรฐาน
ใช้ยังไง เวิร์กไหม
ในแง่ประสบการณ์การใช้งาน อาจยังไม่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นชีวิตจิตใจ หน้าฟีดจะแสดงแค่โพสต์ของคนที่เราติดตามเท่านั้น และเราสามารถเข้าไปตอบหรือคอมเมนต์โพสต์ไหนก็ได้ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ ‘ไลก์’ หรือ ‘บุ๊กมาร์ก’ (บันทึกโพสต์) เหมือนกับทวิตเตอร์ และใช้วิธี ‘บูสต์’ (boost) แทนการรีทวีต ที่สำคัญหน้าฟีดจะไม่แสดงยอดไลก์และบูสต์ของโพสต์นั้นๆ เว้นแต่ว่าเราจะคลิ๊กกดเข้าไปดูเองฟีเจอร์เหล่านี้สะท้อนถึงความตั้งใจของการออกแบบโซเชียลมีเดียเพื่อไม่ให้คนหมกมุ่นกับยอดไลก์ จนกลายเป็นคอมมูนิตี้ที่บ่อนทำลายสุขภาพจิตเหมือนแพลตฟอร์มอื่นๆ
แล้วเราจะดูโพสต์สาธารณะของคนอื่นได้ไหม? คำตอบคือได้ เพียงแค่กด Explore หน้าฟีดก็จะเปลี่ยนเป็นโพสต์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในเวลานั้น และสามารถค้นหาข้อความหรือโพสต์ที่สนใจผ่านแฮชแท็กได้เช่นกัน
การหาเพื่อนบนแพลตฟอร์มนี้อาจจะยุ่งยากสักหน่อย เพราะยังมีผู้ใช้ไม่เยอะ คุณอาจจะต้องทวีตแจ้งข่าวเพื่อบอกเพื่อนๆ หรือผู้ติดตามบนทวิตเตอร์ว่า คุณกำลังจะย้ายไปเปิดบัญชีใหม่ พร้อมแนบลิงก์ ทำให้ผู้ติดตามเข้ามาเป็นเพื่อนกับคุณบนแพลตฟอร์มใหม่ได้ (ดูเป็นวิธีที่ย้อนแย้งอย่างบอกไม่ถูก)
อย่างไรก็ดี แพลตฟอร์มนี้ยังเป็นที่นิยมกันแค่เฉพาะกลุ่มในสหรัฐฯ เท่านั้น ส่วนในไทย คนส่วนใหญ่น่าจะยังคงใช้ทวิตเตอร์กันต่อไปตามความเคยชิน จนกว่าบริษัททวิตเตอร์จะเจ๊งจริงๆ
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ลองหาตัวเลือกไว้ก่อนก็น่าจะดีไม่น้อย