S&P Global รายงานว่านักลงทุนทุ่มเงินมากกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 40,000 ล้านบาท ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาไปกับการสร้างโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plants (VPPs) ในจำนวนนั้นมี General Motors, Ford, Google และ SunPower กำลังเจรจาร่วมมือกันพัฒนาโรงไฟฟ้าเสมือนจริงด้วย ใช่แล้ว ‘เสมือน’ หรือ ‘Virtual’ ที่ไม่มีตัวตนโรงไฟฟ้าจริงๆ นั่นแหละ

ข้อดีของโรงไฟฟ้าเสมือนจริง
- ทุกคนได้ผลประโยชน์เป็นเงิน เพราะทุกคนร่วมเป็นโรงไฟฟ้าได้ เพียงแค่ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า โอกาสนี้เราจะได้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง เหลือก็ขาย มีรายได้จากการประหยัดไฟ
- ได้ซื้อไฟฟ้าในราคาต่ำลง เพราะผู้บริโภคผลิตและขายกันเองผ่านระบบ AI
- พลังงานที่ได้จากผู้บริโภคเป็นพลังงานสะอาด
- พลังงานไฟฟ้าเพียงพอเสมอ แม้ในฤดูที่ใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติ เพราะระบบ AI จะคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้ แล้วดึงจากคนที่เหลือใช้มาให้
โรงไฟฟ้าเสมือนจริงทำงานอย่างไร
โรงไฟฟ้าเสมือนจริงมันทำงานเหมือนระบบคลาวด์ มีแค่ซอฟต์แวร์ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาควบคุม เชื่อมต่อ แหล่งผลิต และแหล่งใช้งานพลังงานไฟฟ้า ทั้งเล็กทั้งใหญ่หลายๆ แหล่งพร้อมๆ กัน เช่น เชื่อมต่อบ้านที่มีหลังคาโซลาร์เซลล์ ระบบเก็บพลังงานแบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า เทอร์โมสแต็ต ปลั๊กต่ออัจฉริยะ โรงงานอุตสหกรรม รถยนต์ไฟฟ้า โรงไฟฟ้า และแหล่งกระจายพลังงานไฟฟ้าอีกหลายรูปแบบ
โดยตัวควบคุมส่วนกลาง หรือหมายถึงโรงไฟฟ้าเสมือนจริง จะทำหน้าที่หลัก 3 อย่างคือ คาดการณ์ปริมาณการใช้พลังงาน, คาดการณ์ปริมาณการผลิต, และคาดการณ์ราคาไฟฟ้า แล้วจัดสรรให้ทุกอย่างเข้าล็อคลงตัวแบบไม่มีเหลือทิ้ง
แก้ปัญหาการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีพลังงานเหลือทิ้ง ต้นทุนต่ำลง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการกดดัยผู้ผลิตในที่มีความต้องการสูง
ใช้ AI กำนดการผลิตให้เท่ากับความต้องการใช้อย่างแม่นยำ
โรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant เป็นการโยงต้นกำเนิดไฟฟ้านับพันๆ แหล่ง หรือเรียกว่า ‘แบบกระจายศูนย์กลาง (Decentralized)’ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI มาควบคุมแหล่งผลิต แหล่งกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากระยะไกล และคอยประเมิณกำลังการผลิตไฟฟ้าให้พอดีกับความต้องการใช้อย่างแม่นยำ
ใช้ AI ช่วยปิดระบบไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
ถ้าลูกค้ายินยอมระบบจะสามารถเข้าไปจัดการกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้พร้อมกันนับพันๆ เครื่องเมื่อเวลาที่กระแสไฟฟ้าไม่พอ เช่น การปิดการทำงานของแบตเตอรี่ตามบ้านที่ไม่ได้ใช้ เปลี่ยนโหมดชาร์จที่เต็มแล้วให้หยุดชาร์จ
ซื้อไฟฟ้าจากใครก็ได้
ระบบกระจายศูนย์กลางจะทำให้เราสามารถซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตอื่นๆ นอกเหนือจากโรงงานไฟฟ้าได้ เรียกว่าซื้อจากใครก็ได้ที่อยากขาย จะทำให้เราสามารถซื้อไฟฟ้าราคาถูกที่ผลิตจากผู้บริโภคด้วยกันเอง ไม่ว่าจะขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์หรือพลังงานหมุนเวียนแบบอื่นๆ ก็ได้
ใช้เงินกระตุ้น ความไม่อยากใช้ไฟ้า เก็บมาขายดีกว่า
โรงไฟฟ้าเสมือนจะช่วยพลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยน Negawatt มาจากคำว่า No Megawatt หรือหน่วยวัดพลังงานที่ไม่ถูกใช้งาน เรียกง่ายๆ ว่าพลังงานไฟฟ้าที่เหลือ ซึ่งสามารถเอาไปขายได้ ตอบโจทย์ความต้องการของโรงงานหรือบริษัทที่ต้องการใช้พลังงานสูง
พอมีเงินมาเป็นตัวกระตุ้น คน และ องค์กรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นต้ิงใช้ไฟจริงๆ ก็จะพยายามใช้ไฟให้น้อยลงเอง ตรงนี้ไม่ใช่แค่พลังงานที่เหลือ แต่รวมถึง หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ถูกใช้งาน ก็ขายได้ด้วย
VVP มีใช้งานที่ไหนแล้วบ้าง
โรงไฟฟ้าเสมือนจริงเริ่มต้นระบบแล้วที่ประเทศออสเตรเลีย เยอรมัน และสหรัฐอเมริกาบางส่วน ส่วนในประเทศไทยมี TOSHIBA ทำวิจัยและพัฒนาระบบอยู่
อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าเสมือนจริงเพิ่งเริ่มต้นรูปแบบการใช้งาน และหน้าตาการใช้งานของจริงอาจไม่ตรงตามข้อมูลข้างต้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวิธีการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ด้วย แต่ที่น่าจับตามองคือการมาของโรงไฟฟ้าเสมือนจริงจะทำให้เกิดระบบธุรกิจแบบกระจายศูนย์กลาง คือทุกคนได้เป็นเจ้าของ และทุกคนได้ประโยชน์ จากนี้จะมีธุรกิจไหนมาและธุรกิจไหนไป จากเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าเสมือนจริงรอติดตามที่ SPACEBAR
