ถ้า Grab กลายเป็นธนาคารเสมือนจริง เราจะได้เห็นอะไร?

24 กุมภาพันธ์ 2566 - 09:37

Business-Virtualbank-Grab-GXS-Singapore-SPACEBAR-Thumbnail
  • Grab มีข้อได้เปรียบด้านข้อมูลมาปล่อยกู้แบบดิจิทัล

  • เทรนด์ธุรกิจเดินขบวนกลายร่างเป็นธนาคารเสมือนจริง

  • โอกาสที่มาพร้อมยุคดิจิทัลการเงิน

Virtual Bank หรือธนาคารเสมือนจริง พูดถึงเรื่องนี้ในประเทศไทยเราคงยังไม่เห็นภาพ วันนี้ SPACEBAR เอาตัวอย่างจากสิงคโปร์มาเล่าให้ฟัง  

GXS ธนาคารดิจิทัลที่ Grab เป็นเจ้าของถึง 60% และมีบริษัทเทเลคอมต่างๆในสิงคโปร์ถืออีก 40% มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดลูกค้าอายุน้อย 

เมื่อ Grab มาเป็นธนาคารเสมือนจริง ก็มีข้อได้เปรียบทางด้านข้อมูลที่สามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อขายเราได้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้นด้วย เพราะตัวอย่างจากสิงคโปร์ Charles Wong, CEO ของGXS ให้สัมภาษณ์กับ asia nikkei ว่า ข้อได้เปรียบที่ Grab เข้ามาเป็นธนาคารเสมือนจริงก็คือ สามารถใช้ข้อมูลผู้บริโภคในท้องที่ราว 3 ล้านคน ซึ่งบอกได้ทั้ง ลูกค้าชอบกินอะไร ใช้โทรศัพท์อะไร ใช้โทรศัพท์มาก น้อยแค่ไหน พร้อมข้อมูลที่อยู่เบอร์โทร ซึ่ง GXS เชื่อว่าการนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์จะสามารถให้บริการเงินกู้ขนาดย่อยและผลิตภัณฑ์ประกันได้ 

Charles Wong ยังบอกว่า GXS คือธนาคารที่เป็นดิจิทัลโดยกำเนิด เพื่อประชากรที่เป็นดิจิทัลโดยกำเนิดเช่นกัน 

เป้าหมายหลักของ GXS คือกลุ่มคนตัวเล็กในสังคม อย่างไรเดอร์ขนส่งอาหารของ Grab เด็กจบใหม่เพิ่งเริ่มทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการจึงเน้นตอบโจทย์กลุ่มเงินทุนไม่มากด้วย ทั้งไม่มีขั้นต่ำการเปิดบัญชี ไม่มีค่าธรรมเนียม  

กลยุทธ์จูงใจการออมด้วยการโชว์จำนวนดอกเบี้ยที่เข้าบัญชีทุกวัน ผู้ให้บริการเชื่อว่า พอผู้ฝากได้เห็นตัวเลขที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องจะมีกำลังใจในการออมเงินมากขึ้น เรทดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ปกติ คือ 0.08% ส่วนบัญชีที่ออมเป็นวาระพิเศษ ที่ธนาคารจะเปิดในโอกาสพิเศษ จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 3.48% 

เทรนด์ที่ธุรกิจทั่วไปที่ไม่ใช่ธนาคารเข้ามาเป็น ธนาคารเสมือนจริงได้ เริ่มต้นใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี 2017 เริ่มจากประเทศเกาหลีใต้ บริษัทแอปฯ แชตยักษ์ใหญ่อย่าง Kakao เริ่มให้บริการแบบธนาคาร ตามมาด้วยฮ่องกง ให้ใบอนุญาตการธนาคารกับธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารตั้งแต่ปี 2019 และที่สิงคโปร์ Monetary Authority Singapore (MAS) ให้ Grab เข้ามาเป็นผู้ปล่อยกู้ดิจิทัลได้เมื่อปี 2019 

“เราต้องใช้โอกาส ที่มาพร้อมการเงินยุคดิจิทัล ไม่ใช่ให้ความเปลี่ยนแปลงนี้มาทำลายเรา” Tharman Shanmugaratnam ประธาน Monetary Authority Singapore 

หลังจากสิงคโปร์เริ่มให้ใบอนุญาต ก็มีบริษัทอีก 21 แห่ง ทั้งของสิงคโปร์เองและต่างชาติยื่นขอเป็นธนาคารดิจิทัล อย่างเช่น Xiaomi, ByteDance 

สำหรับประเทศไทยก็มีบริษัทผู้ประกอบการอย่าง Market Place ชื่อดัง อีกหลายเจ้าที่ งบการเงินติดลบมาหลายปีต่อเนื่องซึ่งเราอาจจะได้เห็นเป้าหมายที่แท้จริงของการให้บริการราคาไม่แพงต่างๆว่า แท้จริงแล้วเป้าหมายอาจจะไม่ใช่เป็นแค่ตลาดขายของออนไลน์ ไม่ใช่แค่เป็นแอปส่งอาหาร แต่อาจจะกำลังรวบรวมข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่เพื่อมาทำผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อย่างปล่อยกู้ หรือขายประกันผ่านระบบธนาคารเสมือนจริงก็ได้ 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์