บรรยายแห่งการโหยหาอดีต (Nostalgia) ความหวนกลับมาอีกครั้ง คราวนี้เป็นอดีตที่มีอายุแค่ 20 กว่าปี ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากทศวรรษที่ 1990s เข้าสู่ทศวรรษใหม่ ศตวรรษใหม่ และสหัสวรรษใหม่ นั่นคือยุค 2000s
แต่การเปลี่ยนผ่านยุคนั้นไม่ใช่เรื่องปกติแต่เหมือนอย่างเคย เพราะระบบดิจิทัลต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นมาในทศวรรษก่อนเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น แต่มันกลับไม่ได้ถูกตั้งปฏิทินเอาไว้รองรับตัวเลข 2000s เพราะที่ผ่านมากำหนดปีโดยใช้เล็ก 2 หลัก เช่น 98 หรือ 99 (หมายถึงปี 1998 และ 1999) และเมื่อถึงเวลานั้นระบบจะกลายเป็น 00 (ไม่ใช่ 98 หรือ 99) จึงเกิดความกลัวกันว่า เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนมาถึงเวลา 00.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ. 2000 ระบบจะทำงานไม่ได้ และเครือข่ายออนไลน์จะล่มลง
บางคนเกิดอาการผวาถึงขนาดกลัวว่าอารยธรรมโลกจะถึงกาลสิ้นสุดลงเพราะระบบล่ม นี่คือที่มาของความตื่นตระหนกในช่วง Y2K ที่ย่อมาจากคำว่า Year 2 kilo (kilo หมายถึงหลักพัน 2K จึงหมายถึง 2000)
ในแง่ธุรกิจมันทำให้เกิดความโกลาหลไม่น้อยเลย และนักเศรษฐศาสตร์พยากรณ์ว่ามันจะเป็นเหมือนน้ำท่วมใหญ่ที่ทำลายล้างผลผลิตทางเศรษฐกิจ บางบริษัทตื่นตระหนกถึงขนาดคิดว่าอาจะต้องใช้เงินทั้งหมดที่มีเพื่อแก้ไขปัญหา Y2K อย่างน้อยก็ไม่ให้สิ่งที่สร้างมาต้องพังทลายภายในเวลาแค่ไม่กี่วินาที
นอกจากกลัวว่าธุรกิจของตัวเองจะย่อยยับแล้ว บางธุรกิจที่เริ่มพึ่งพาระบบดิจิทัลยังปล่อยให้ระบบล่มไม่ได้ เช่น ธนาคาร ถ้าหาก Y2K ทำให้ระบบกลายเป็น 00 จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็น 00 (หรือสูญสิ้น) ไปด้วย
ธนาคารในยุคนั้นยังไม่ได้ใช้ระบบดิจิทัลเต็มตัว ความกลัวเรื่องเงินในบัญชีลูกค้าจะหายไปจากระบบดิจิทัลจึงมีอยู่บ้างแต่ไม่มาก แต่ปัญหาไม่ได้มีแค่นั้น ภาคธนาคารยังกลัวว่าบั๊กในระบบอาจคำนวณดอกเบี้ยเป็นเวลา 1,000 ปี (1,000 ถึง 1999) แทนที่จะเป็นวันเดียว ปัญหาพวกนี้ทำให้กลัวกันว่าธนาคารจะล้มละลายไปตามๆ กัน และระบบการเงินทั้งระบบจะล่มสลายไปด้วย
เอาแค่ยังไม่ถึงวันดีเดย์ ก็มีผู้คนไม่น้อยถอนเงินจำนวนมากเพื่อรอวันโลกาวินาศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ แม้แต่ในประเทศไทยก็เกิดกระแสนี้ ความต้องการถือเงินสดจึงสูงมากในช่วงนั้น ธนาคารบางแห่งจึงมีเงินสดไม่พอที่จะตอบสนองสถานการณ์ และเสี่ยงที่จะทำให้เกิดธนาคารล่ม (Bank run) ก่อนที่ Y2K จะมาถึงด้วยซ้ำ
ดังนั้น ในปลายปี 1999 ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงได้เพิ่มคลังธนบัตรของตนเองเป็นประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ธนาคารพร้อมใช้ตามความจำเป็น และยังซื้อสินทรัพย์การลงทุนของธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันไปด้วย แต่มันก็ยังเสี่ยง เพราะแม้ว่าประชาชนจะถอนเงินฝากธนาคารเป็นเงินสดเพียงหนึ่งในห้าของจำนวนนั้น ก็จะทำให้เงินสำรองทั้งหมดของระบบธนาคารหมดลง
ความตื่นตระหนกของผู้บริโภคก็เรื่องหนึ่ง แต่ความตื่นตระหนกของภาคอื่นๆ ใช้เงินมหาศาลยิ่งกว่า ในรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปและกำกับดูแลภาครัฐ (ประเทศสหรัฐ) ระบุว่าบริษัทต่างๆ คาดการณ์ว่าความเสียหายทั่วโลกที่เกิดจากข้อผิดพลาดของระบบคอมพิวเตอร์ที่จะเกิดจาก Y2K จะต้องใช้เงินระหว่าง 400 ล้านถึง 600,000 ล้านดอลลาร์ในการแก้ไข (Gartner บริษัทวิจัยประเมินว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลกในการหลีกเลี่ยง Y2K อาจสูงถึง 600,000 ล้านดอลลาร์เช่นกัน)
พอเอาเข้าจริงตัวเลขมันอาจจะสูงกว่านั้นมาก การศึกษาเมื่อปี 2002 โดยผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์และที่ปรึกษาทางธุรกิจของอังกฤษ Cap Gemini (และมีบริการปรึกษาและรัวมือปัญหา Y2K) ประมาณการว่าต้นทุนในการแก้ปัญหา Y2K ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาสูงถึง 858,000 ล้านดอลลาร์
แม้จะผ่านมาถึง 20 ปีแล้ว แต่ตัวเลขนี้ก็ยังสูงกว่า GDP ของประเทศไทยเมื่อปี 2022 (ที่ 534,7000 ล้านดอลลาร์) ถึงเกือบ 2 เท่า มันสะท้อนว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และถ้าเกิดทันยุคนั้นก็ย่อมจะทราบดีว่ามันสับสนอลหม่านและสร้างความหวาดผวาแค่นั้น ขนาดที่บริษัทใหญ่ไม่ลังเลที่จะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อรับมือวิกฤตครั้งนั้น
ตัวอย่างเช่นบริษัท General Motors ยักษ์ใหญ่ด้านยนยนต์ (ในขณะนั้น) ระบุว่าจะต้องใช้เงิน 565 ล้านดอลลาร์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากบั๊ก Y2K ในขณะที่บิ๊กการเงินอย่าง Citicorp เผยว่าจะใช้เงิน 600 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่บริษัทโทรคมนาคม MCI ระบุว่าต้องใช้เงิน 400 ล้านดอลลาร์
แต่ในท่ามกลางความปั่นป่วนยังมีบางธุรกิจที่รุ่งเรืองเสียอย่างนั้น เพราะความตื่นตระหนกทำให้บางคนต้องกักตุนอาหาร น้ำ และอาวุธปืน ซื้อเครื่องปั่นไฟสำรอง สินค้าจำเป็นเหล่านี้กลายเป็นผู้ได้รับผลพลอยได้ไปแบบไม่รู้ตัว
พอถึงเวลาเกิด Y2K ขึ้นจริงๆ มันกลับไม่เป็นอย่างที่คาดไว้ แน่นอนว่าความตื่นตระหนกทำให้มีการทุ่มเงินมหาศาลเพื่อรับมือกับมัน แต่พอถึงเวลาเศรษฐกิจโลกกลับไม่ต้องเสียเงินมากขนาดนั้น และปัญหาทางเทคนิคที่คิดว่าจะทำให้เกิดวันโลกาวินาศ กลายเป็นแค่ความขัดข้องเล็กๆ น้อยที่เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ความขัดข้องนี้เกิดขึ้นถี่ในเดือนมกราคม 2000 และเกิดขึ้นอีกครั้งระหว่างสิ้่นปี 2001 - ปีใหม่ 2001 พอผ่านหลังวันที่ 1 มกราคม 2001 ปัญหา Y2K ก็กลายเป็นอดีตไป
ส่วนค่าเสียหายก็ไม่ได้แพงมากอย่างที่คิด ในส่วนของสหรัฐประเทศเดียวใช้เงินแก้ไขปัญหาไป 13,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2000 - 2001 ส่วนทั่วโลกใช้เงินแก้ปัญหาไป 308,000 ล้านดอลลาร์
แต่มันมีความเสี่ยงอีกเรื่อง คือช่วงก่อน Y2K ประชาชนแห่ถอนเงินสดไปมากมาย พอปัญหานี้ผ่านพ้นไป ประชาชยนอุ่นใจขึ้นก็เริ่มจะนำเงินกลับเข้าสู่ธนาคาร ทำให้ธนาคารมีเงินสำรองล้นเกินและจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟด (หรือของสหรัฐ) ต้องทรุดลง ซึ่งเสี่ยงจะทำให้มหาอำนาจเศรษฐกิจโลกทรุดตามไปด้วย แต่โชคดีอีกนั่นแหละที่เฟดเทขายสินทรัพย์ที่ซื้อจากธนาคารต่างๆ ได้ทันการณ์ ไม่อย่างนั้นเราอาจจะเจอสึนามิทางเศรษฐกิจเพราะ Y2K แบบไม่ทันตั้งตัว
นอกจากความโกลาหลเหล่านี้แล้ว Y2K ก็ยังมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติอยู่เหมือนกัน อย่างแรกคือ เพราะความกลัวทำให้ภาคธุรกิจตื่นตัวในการปรับปรุงระบบของตัวเอง เป็นระบบที่จะรองรับการปฏิวัติดิจิทัลอีกระลอกหนึ่ง สรุปก็คือ ความตื่นกลัวทำให้มนุษยชาติปรับตัวขึ้นมา และการปรับตัวได้ปูทางไปสู่ยุคใหม่ในเวลาเดียวกัน
พอมีวิกฤตอะไรขึ้นมาหลังจากนั้น ระบบที่วางขึ้นมาใหม่ (เช่นระบบแบ็คอัป) ตอน Y2K ช่วยให้ทุกอย่างขับเคลื่อนต่อไปได้ เช่น เมื่อคราวเกิดเหตุวินาศกรรม 9/11 ที่นิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินโลก ปรากฏว่าระบบของธนาคารและสถาวันการเงินยังทำงานต่อไปไม่สะดุด แม้จะมีการโจมตีใจกลางศูนย์กลางการเงินโลก และเกิดไฟฟ้าดับนานหลายชั่วโมงที่แมนฮัตตัน แต่ผลกระทบต่อระบบธนาคารโลกมีแค่เล็กน้อยเท่านั้น
นี่คือตำนานความปั่นป่วนของ Y2K ต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งโชคดีที่มันเป็นแค่ความขัดข้องเล็กๆ น้อยๆ ไม่อย่างนั้นเราคงต้องเสียเวลาอีกนานกับการรื้อระบบเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเริ่มต้นกันใหม่อย่างทุกลักทุเล
และความทรงจำของเราต่อ Y2K ก็จะกลายเป็นความทุกข์ระทม แทนที่จะเป็นความรู้สึกระลึกถึงมันด้วยความโรแมนติก
แต่การเปลี่ยนผ่านยุคนั้นไม่ใช่เรื่องปกติแต่เหมือนอย่างเคย เพราะระบบดิจิทัลต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นมาในทศวรรษก่อนเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น แต่มันกลับไม่ได้ถูกตั้งปฏิทินเอาไว้รองรับตัวเลข 2000s เพราะที่ผ่านมากำหนดปีโดยใช้เล็ก 2 หลัก เช่น 98 หรือ 99 (หมายถึงปี 1998 และ 1999) และเมื่อถึงเวลานั้นระบบจะกลายเป็น 00 (ไม่ใช่ 98 หรือ 99) จึงเกิดความกลัวกันว่า เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนมาถึงเวลา 00.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ. 2000 ระบบจะทำงานไม่ได้ และเครือข่ายออนไลน์จะล่มลง
บางคนเกิดอาการผวาถึงขนาดกลัวว่าอารยธรรมโลกจะถึงกาลสิ้นสุดลงเพราะระบบล่ม นี่คือที่มาของความตื่นตระหนกในช่วง Y2K ที่ย่อมาจากคำว่า Year 2 kilo (kilo หมายถึงหลักพัน 2K จึงหมายถึง 2000)
ในแง่ธุรกิจมันทำให้เกิดความโกลาหลไม่น้อยเลย และนักเศรษฐศาสตร์พยากรณ์ว่ามันจะเป็นเหมือนน้ำท่วมใหญ่ที่ทำลายล้างผลผลิตทางเศรษฐกิจ บางบริษัทตื่นตระหนกถึงขนาดคิดว่าอาจะต้องใช้เงินทั้งหมดที่มีเพื่อแก้ไขปัญหา Y2K อย่างน้อยก็ไม่ให้สิ่งที่สร้างมาต้องพังทลายภายในเวลาแค่ไม่กี่วินาที
นอกจากกลัวว่าธุรกิจของตัวเองจะย่อยยับแล้ว บางธุรกิจที่เริ่มพึ่งพาระบบดิจิทัลยังปล่อยให้ระบบล่มไม่ได้ เช่น ธนาคาร ถ้าหาก Y2K ทำให้ระบบกลายเป็น 00 จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็น 00 (หรือสูญสิ้น) ไปด้วย
ธนาคารในยุคนั้นยังไม่ได้ใช้ระบบดิจิทัลเต็มตัว ความกลัวเรื่องเงินในบัญชีลูกค้าจะหายไปจากระบบดิจิทัลจึงมีอยู่บ้างแต่ไม่มาก แต่ปัญหาไม่ได้มีแค่นั้น ภาคธนาคารยังกลัวว่าบั๊กในระบบอาจคำนวณดอกเบี้ยเป็นเวลา 1,000 ปี (1,000 ถึง 1999) แทนที่จะเป็นวันเดียว ปัญหาพวกนี้ทำให้กลัวกันว่าธนาคารจะล้มละลายไปตามๆ กัน และระบบการเงินทั้งระบบจะล่มสลายไปด้วย
เอาแค่ยังไม่ถึงวันดีเดย์ ก็มีผู้คนไม่น้อยถอนเงินจำนวนมากเพื่อรอวันโลกาวินาศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ แม้แต่ในประเทศไทยก็เกิดกระแสนี้ ความต้องการถือเงินสดจึงสูงมากในช่วงนั้น ธนาคารบางแห่งจึงมีเงินสดไม่พอที่จะตอบสนองสถานการณ์ และเสี่ยงที่จะทำให้เกิดธนาคารล่ม (Bank run) ก่อนที่ Y2K จะมาถึงด้วยซ้ำ
ดังนั้น ในปลายปี 1999 ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงได้เพิ่มคลังธนบัตรของตนเองเป็นประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ธนาคารพร้อมใช้ตามความจำเป็น และยังซื้อสินทรัพย์การลงทุนของธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันไปด้วย แต่มันก็ยังเสี่ยง เพราะแม้ว่าประชาชนจะถอนเงินฝากธนาคารเป็นเงินสดเพียงหนึ่งในห้าของจำนวนนั้น ก็จะทำให้เงินสำรองทั้งหมดของระบบธนาคารหมดลง
ความตื่นตระหนกของผู้บริโภคก็เรื่องหนึ่ง แต่ความตื่นตระหนกของภาคอื่นๆ ใช้เงินมหาศาลยิ่งกว่า ในรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปและกำกับดูแลภาครัฐ (ประเทศสหรัฐ) ระบุว่าบริษัทต่างๆ คาดการณ์ว่าความเสียหายทั่วโลกที่เกิดจากข้อผิดพลาดของระบบคอมพิวเตอร์ที่จะเกิดจาก Y2K จะต้องใช้เงินระหว่าง 400 ล้านถึง 600,000 ล้านดอลลาร์ในการแก้ไข (Gartner บริษัทวิจัยประเมินว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลกในการหลีกเลี่ยง Y2K อาจสูงถึง 600,000 ล้านดอลลาร์เช่นกัน)
พอเอาเข้าจริงตัวเลขมันอาจจะสูงกว่านั้นมาก การศึกษาเมื่อปี 2002 โดยผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์และที่ปรึกษาทางธุรกิจของอังกฤษ Cap Gemini (และมีบริการปรึกษาและรัวมือปัญหา Y2K) ประมาณการว่าต้นทุนในการแก้ปัญหา Y2K ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาสูงถึง 858,000 ล้านดอลลาร์
แม้จะผ่านมาถึง 20 ปีแล้ว แต่ตัวเลขนี้ก็ยังสูงกว่า GDP ของประเทศไทยเมื่อปี 2022 (ที่ 534,7000 ล้านดอลลาร์) ถึงเกือบ 2 เท่า มันสะท้อนว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และถ้าเกิดทันยุคนั้นก็ย่อมจะทราบดีว่ามันสับสนอลหม่านและสร้างความหวาดผวาแค่นั้น ขนาดที่บริษัทใหญ่ไม่ลังเลที่จะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อรับมือวิกฤตครั้งนั้น
ตัวอย่างเช่นบริษัท General Motors ยักษ์ใหญ่ด้านยนยนต์ (ในขณะนั้น) ระบุว่าจะต้องใช้เงิน 565 ล้านดอลลาร์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากบั๊ก Y2K ในขณะที่บิ๊กการเงินอย่าง Citicorp เผยว่าจะใช้เงิน 600 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่บริษัทโทรคมนาคม MCI ระบุว่าต้องใช้เงิน 400 ล้านดอลลาร์
แต่ในท่ามกลางความปั่นป่วนยังมีบางธุรกิจที่รุ่งเรืองเสียอย่างนั้น เพราะความตื่นตระหนกทำให้บางคนต้องกักตุนอาหาร น้ำ และอาวุธปืน ซื้อเครื่องปั่นไฟสำรอง สินค้าจำเป็นเหล่านี้กลายเป็นผู้ได้รับผลพลอยได้ไปแบบไม่รู้ตัว
พอถึงเวลาเกิด Y2K ขึ้นจริงๆ มันกลับไม่เป็นอย่างที่คาดไว้ แน่นอนว่าความตื่นตระหนกทำให้มีการทุ่มเงินมหาศาลเพื่อรับมือกับมัน แต่พอถึงเวลาเศรษฐกิจโลกกลับไม่ต้องเสียเงินมากขนาดนั้น และปัญหาทางเทคนิคที่คิดว่าจะทำให้เกิดวันโลกาวินาศ กลายเป็นแค่ความขัดข้องเล็กๆ น้อยที่เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ความขัดข้องนี้เกิดขึ้นถี่ในเดือนมกราคม 2000 และเกิดขึ้นอีกครั้งระหว่างสิ้่นปี 2001 - ปีใหม่ 2001 พอผ่านหลังวันที่ 1 มกราคม 2001 ปัญหา Y2K ก็กลายเป็นอดีตไป
ส่วนค่าเสียหายก็ไม่ได้แพงมากอย่างที่คิด ในส่วนของสหรัฐประเทศเดียวใช้เงินแก้ไขปัญหาไป 13,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2000 - 2001 ส่วนทั่วโลกใช้เงินแก้ปัญหาไป 308,000 ล้านดอลลาร์
แต่มันมีความเสี่ยงอีกเรื่อง คือช่วงก่อน Y2K ประชาชนแห่ถอนเงินสดไปมากมาย พอปัญหานี้ผ่านพ้นไป ประชาชยนอุ่นใจขึ้นก็เริ่มจะนำเงินกลับเข้าสู่ธนาคาร ทำให้ธนาคารมีเงินสำรองล้นเกินและจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟด (หรือของสหรัฐ) ต้องทรุดลง ซึ่งเสี่ยงจะทำให้มหาอำนาจเศรษฐกิจโลกทรุดตามไปด้วย แต่โชคดีอีกนั่นแหละที่เฟดเทขายสินทรัพย์ที่ซื้อจากธนาคารต่างๆ ได้ทันการณ์ ไม่อย่างนั้นเราอาจจะเจอสึนามิทางเศรษฐกิจเพราะ Y2K แบบไม่ทันตั้งตัว
นอกจากความโกลาหลเหล่านี้แล้ว Y2K ก็ยังมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติอยู่เหมือนกัน อย่างแรกคือ เพราะความกลัวทำให้ภาคธุรกิจตื่นตัวในการปรับปรุงระบบของตัวเอง เป็นระบบที่จะรองรับการปฏิวัติดิจิทัลอีกระลอกหนึ่ง สรุปก็คือ ความตื่นกลัวทำให้มนุษยชาติปรับตัวขึ้นมา และการปรับตัวได้ปูทางไปสู่ยุคใหม่ในเวลาเดียวกัน
พอมีวิกฤตอะไรขึ้นมาหลังจากนั้น ระบบที่วางขึ้นมาใหม่ (เช่นระบบแบ็คอัป) ตอน Y2K ช่วยให้ทุกอย่างขับเคลื่อนต่อไปได้ เช่น เมื่อคราวเกิดเหตุวินาศกรรม 9/11 ที่นิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินโลก ปรากฏว่าระบบของธนาคารและสถาวันการเงินยังทำงานต่อไปไม่สะดุด แม้จะมีการโจมตีใจกลางศูนย์กลางการเงินโลก และเกิดไฟฟ้าดับนานหลายชั่วโมงที่แมนฮัตตัน แต่ผลกระทบต่อระบบธนาคารโลกมีแค่เล็กน้อยเท่านั้น
นี่คือตำนานความปั่นป่วนของ Y2K ต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งโชคดีที่มันเป็นแค่ความขัดข้องเล็กๆ น้อยๆ ไม่อย่างนั้นเราคงต้องเสียเวลาอีกนานกับการรื้อระบบเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเริ่มต้นกันใหม่อย่างทุกลักทุเล
และความทรงจำของเราต่อ Y2K ก็จะกลายเป็นความทุกข์ระทม แทนที่จะเป็นความรู้สึกระลึกถึงมันด้วยความโรแมนติก