สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ออกประกาศผู้ทำการในอากาศ (NOTAM) ฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 เพื่อแจ้งสายการบินและภาคการบินที่เกี่ยวข้องทั่วโลกทราบมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตามที่มีการปรับปรุง ภายหลังได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งประเมินสถานการณ์และกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่เกิดผลกระทบด้านการท่องเที่ยว หรือเกิดอุปสรรคแก่ผู้เดินทางเข้าประเทศเกินความจำเป็น
เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยบวกหลายด้าน โดยเฉพาะการรับวัคซีนจำนวนมากทั้งคนไทยและต่างชาติทั่วโลก อีกทั้งไม่พบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นต้นเหตุของการระบาดของโรค COVID-19 สรุปสาระสำคัญของประกาศฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 ในเรื่องดังกล่าวเปรียบเทียบกับฉบับก่อนหน้า ได้แก่
การยกเลิกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สายการบินไม่ต้องตรวจสอบผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง รวมทั้งจะไม่มีการสุ่มตรวจเมื่อเดินทางมาถึงอีก ซึ่งเป็นไปตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ได้แถลงข่าวการต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางถึงประเทศไทยเที่ยวแรก หลังจีนเปิดประเทศ เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา
ส่วนประเด็นเรื่องการประกันสุขภาพสำหรับผู้โดยสารเข้าประเทศที่ต้องเดินทางกลับไปยังประเทศที่มีข้อกำหนดให้ต้องมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ได้พิจารณาปรับลดมาตรการให้อ่อนตัวลงในระยะนี้ โดยยังคงเน้นให้ผู้เดินทางเข้าประเทศกลุ่มดังกล่าว ต้องมีประกันสุขภาพในวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาโรค COVID-19 ในกรณีติดเชื้อและบวกเพิ่มอีก 7 วัน ซึ่งวงเงินนี้เป็นวงเงินต่ำสุดที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้และพิจารณาแล้วว่าครอบคลุมเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้การกำหนดให้ผู้โดยสารกลุ่มนี้ต้องมีประกันสุขภาพเพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารเองและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล จะยังไม่ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขใด ๆ ในการปฏิเสธการขึ้นเครื่อง ณ สนามบินต้นทาง แต่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ท่าอากาศยานจะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้โดยสารจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้โดยสารนั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และอาจยกระดับมาตรการใด ๆ เพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม ซึ่งสายการบินจะต้องปรับแนวทางดำเนินการเพื่อให้การนำผู้โดยสารเข้าประเทศเป็นไปตามระเบียบหรือข้อกำหนดที่ประกาศขึ้นภายหลัง
สำหรับรายละเอียดเนื้อหาตามประกาศใน NOTAM ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ดังนี้ NOTAM ฉบับที่ A0071/23
กระทรวงสาธารณสุขปรับมาตรการในการเข้าประเทศไทยสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดังนี้
1. ยกเลิกข้อกำหนดการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย
2. ผู้โดยสารที่มาจากประเทศที่กำหนดผลตรวจ RT-PCR TEST จะต้องมีประกันสุขภาพวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมการรักษาโควิดตลอดช่วงระยะเวลาเดินทางในประเทศไทยและบวกเพิ่มอีก 7 วัน
2.1 สำหรับผู้มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรือ นักเรียน อาจจะใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพหรือเอกสารแสดงถึงการมีประกันรูปแบบอื่นรับรองแทน
2.2 ผู้โดยสารที่ไม่มีประกันสุขภาพจะไม่เป็นเหตุของการถูกปฏิเสธการขึ้นเครื่อง
2.3 เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้โดยสารจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้โดยสารนั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
2.4 หากมีระเบียบหรือข้อกำหนดอื่นใดจากกระทรวงสาธารณสุข ให้สายการบินดำเนินการตามระเบียบข้อกำหนดนั้น
3. ผู้โดยสารที่ถือหนังสือเดินทางไทย และผู้โดยสารที่เปลี่ยนเครื่องหรือต่อเครื่องได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบเอกสารประกันสุขภาพ
4. สายการบินต้องยึดตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามคู่มือแนวทางตามความเหมาะสม เช่น ขอให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง ยกเว้นช่วงรับประทานอาหาร หรือในภาวะฉุกเฉิน
5. ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคโควิด 19 ระหว่างการเดินทาง จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจการติดเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย
6. หากมีคำถาม ข้อสงสัย ติดต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือตรวจสอบข้อมูลจาก Health Insurance Instruction and Requirements
ข้อปฏิบัติดังกล่าว เริ่มใช้วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 08.00 น. ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 23.59 น.
นอกจากนั้น CAAT ยังได้ออกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แจ้งมาตรการทางสาธารณสุขในการเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อแจ้งให้สาธารณะและผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้ทราบอย่างเป็นทางการอีกทางหนึ่งด้วย ( รายละเอียดเพิ่มเติม www.caat.or.th)
เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยบวกหลายด้าน โดยเฉพาะการรับวัคซีนจำนวนมากทั้งคนไทยและต่างชาติทั่วโลก อีกทั้งไม่พบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นต้นเหตุของการระบาดของโรค COVID-19 สรุปสาระสำคัญของประกาศฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 ในเรื่องดังกล่าวเปรียบเทียบกับฉบับก่อนหน้า ได้แก่
การยกเลิกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สายการบินไม่ต้องตรวจสอบผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง รวมทั้งจะไม่มีการสุ่มตรวจเมื่อเดินทางมาถึงอีก ซึ่งเป็นไปตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ได้แถลงข่าวการต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางถึงประเทศไทยเที่ยวแรก หลังจีนเปิดประเทศ เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา
ส่วนประเด็นเรื่องการประกันสุขภาพสำหรับผู้โดยสารเข้าประเทศที่ต้องเดินทางกลับไปยังประเทศที่มีข้อกำหนดให้ต้องมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ได้พิจารณาปรับลดมาตรการให้อ่อนตัวลงในระยะนี้ โดยยังคงเน้นให้ผู้เดินทางเข้าประเทศกลุ่มดังกล่าว ต้องมีประกันสุขภาพในวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาโรค COVID-19 ในกรณีติดเชื้อและบวกเพิ่มอีก 7 วัน ซึ่งวงเงินนี้เป็นวงเงินต่ำสุดที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้และพิจารณาแล้วว่าครอบคลุมเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้การกำหนดให้ผู้โดยสารกลุ่มนี้ต้องมีประกันสุขภาพเพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารเองและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล จะยังไม่ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขใด ๆ ในการปฏิเสธการขึ้นเครื่อง ณ สนามบินต้นทาง แต่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ท่าอากาศยานจะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้โดยสารจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้โดยสารนั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และอาจยกระดับมาตรการใด ๆ เพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม ซึ่งสายการบินจะต้องปรับแนวทางดำเนินการเพื่อให้การนำผู้โดยสารเข้าประเทศเป็นไปตามระเบียบหรือข้อกำหนดที่ประกาศขึ้นภายหลัง
สำหรับรายละเอียดเนื้อหาตามประกาศใน NOTAM ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ดังนี้ NOTAM ฉบับที่ A0071/23
กระทรวงสาธารณสุขปรับมาตรการในการเข้าประเทศไทยสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดังนี้
1. ยกเลิกข้อกำหนดการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย
2. ผู้โดยสารที่มาจากประเทศที่กำหนดผลตรวจ RT-PCR TEST จะต้องมีประกันสุขภาพวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมการรักษาโควิดตลอดช่วงระยะเวลาเดินทางในประเทศไทยและบวกเพิ่มอีก 7 วัน
2.1 สำหรับผู้มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรือ นักเรียน อาจจะใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพหรือเอกสารแสดงถึงการมีประกันรูปแบบอื่นรับรองแทน
2.2 ผู้โดยสารที่ไม่มีประกันสุขภาพจะไม่เป็นเหตุของการถูกปฏิเสธการขึ้นเครื่อง
2.3 เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้โดยสารจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีประกันสุขภาพ ผู้โดยสารนั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง
2.4 หากมีระเบียบหรือข้อกำหนดอื่นใดจากกระทรวงสาธารณสุข ให้สายการบินดำเนินการตามระเบียบข้อกำหนดนั้น
3. ผู้โดยสารที่ถือหนังสือเดินทางไทย และผู้โดยสารที่เปลี่ยนเครื่องหรือต่อเครื่องได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบเอกสารประกันสุขภาพ
4. สายการบินต้องยึดตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามคู่มือแนวทางตามความเหมาะสม เช่น ขอให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง ยกเว้นช่วงรับประทานอาหาร หรือในภาวะฉุกเฉิน
5. ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคโควิด 19 ระหว่างการเดินทาง จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจการติดเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย
6. หากมีคำถาม ข้อสงสัย ติดต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือตรวจสอบข้อมูลจาก Health Insurance Instruction and Requirements
ข้อปฏิบัติดังกล่าว เริ่มใช้วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 08.00 น. ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 23.59 น.
นอกจากนั้น CAAT ยังได้ออกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แจ้งมาตรการทางสาธารณสุขในการเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อแจ้งให้สาธารณะและผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้ทราบอย่างเป็นทางการอีกทางหนึ่งด้วย ( รายละเอียดเพิ่มเติม www.caat.or.th)