ออมสิน เตือนอย่าเชื่อ ‘ชวนลงทุน’ ชี้ โจรไซเบอร์ปั่นข่าวปลอมซ้ำซาก

7 มีนาคม 2566 - 03:10

DES-GSB-bank-cyber-thief-fake-news-do-not-believe-SPACEBAR-Thumbnail
  • ดีอีเอส เผยตัวเลขเฟคนิวส์รายสัปดาห์ ประชาชนแห่สนใจเรื่องการลงทุน และการปล่อยกู้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ

  • หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นธนาคารออมสิน และหน่วยงานด้านการลงทุนอื่นๆ ชวนลงทุน

  • เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ และเช็คข้อมูลให้ครบถ้วน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,201,848 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 247 ข้อความ แบ่งได้ดังนี้ 
  • ข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 203 ข้อความ  
  • ข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 43 ข้อความ  
  • และข้อความที่มาจาก Website จำนวน 1 ข้อความ  
รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 137 เรื่อง ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 
กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 60 เรื่อง 
กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 43 เรื่อง 
กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 9 เรื่อง 
กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 25 เรื่อง 

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 1 เรื่อง 

ด้านภาพรวมที่ประชาชนสืบค้นในสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่พบข่าวปลอมเกี่ยวกับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารออมสิน โดยมีการสร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยการทำข้อความชวนเชื่อ และนำโลโก้ธนาคารพาณิชย์มาใช้เป็นสัญลักษณ์ แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้จากสถาบันการเงิน หลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางต่างๆ  

ขณะเดียวกัน ข่าวปลอมที่เป็นกระแสอย่างมากในช่วงการยื่นแบบภาษีเงินได้ โดยกรมสรรพากร ก็ถูกมิจฉาชีพใช้แอบอ้างว่ามีการส่ง SMS แจ้งการยื่นภาษีไม่สำเร็จ  

นอกจากนี้ ยังมี กรมการจัดหางาน ที่มีการทำความชวนเชื่อว่ามีการรับสมัครพนักงานช่วยยืนยันสินค้านำเข้าจากจีน จึงอยากเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นผู้ให้บริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพย์สิน 

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566 ดังนี้ 
อันดับที่ 1 เรื่อง บางจากชวนลงทุนหุ้นพลังงานผ่านมือถือ เพียง 1,000 บาท 
อันดับที่ 2 เรื่อง กรมสรรพากรส่ง SMS แจ้งการยื่นภาษี ประจำปี 2566 ไม่สำเร็จ 
อันดับที่ 3 เรื่อง ออมสินปล่อยสินเชื่อเพื่อการใช้จ่าย ผ่านเพจ Mymo สินเชื่ออาชีพอิสระ 
อันดับที่ 4 เรื่อง ดื่มเบียร์ช่วยรักษาโรคความดันต่ำ 
อันดับที่ 5 เรื่อง พจ Adrain Erdman เป็นเพจทางการของธ.ออมสิน 
อันดับที่ 6 เรื่อง กรมการจัดหางานรับสมัครพนักงานช่วยยืนยันสินค้านำเข้าจากจีน 
อันดับที่ 7 เรื่อง ออมสินปล่อยกู้สินเชื่อพ่อค้าแม่ค้า ไม่ต้องมีคนค้ำ ผ่านเพจ Mymo สินเชื่อด่วน 
อันดับที่ 8 เรื่อง เพจธนาคารออมสินชื่อ Eliseo เปิดให้กู้สินเชื่อเพื่อคุณ 
อันดับที่ 9 เรื่อง เตือนสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย 
อันดับที่ 10 เรื่อง เพจสินเชื่อ ธนาคารออมสิน เปิดให้กู้เงินฉุกเฉิน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/vyyRJ1scdOndjEAH7u0jb/35d18782f6af1f1e1d27c4cf76cbb56c/DES-GSB-bank-cyber-thief-fake-news-do-not-believe-SPACEBAR-Photo01

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์