กุ้งนครศรีฯ เฮ! ค้าภายใน บรรเทาขาดทุนผู้เลี้ยงกุ้ง

17 ก.ค. 2566 - 07:07

  • รองอธิบดีค้าภายใน เยี่ยมจุดกระจายกุ้ง ปากพนัง นครศรีธรรมราช

  • ชี้ กุ้งราคาตก เพราะประเทศผู้ส่งออกชะลอซื้อ แต่แก้ปัญหาภายในช่วยเปิดจุดกระจายผลผลิตแล้ว

  • พร้อมหารือสถานการณ์การผลิต และการจับกุ้ง เพื่อเตรียมแผนรับมือระยะข้างหน้าด้วยแล้ว

DIT-shrimp-distribution-point-Nakhon-Si-Thammarat-agricultural-SPACEBAR-Thumbnail
อุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งนำคณะลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เผย หลังคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คบท.) เห็นชอบให้กรมการค้าภายในดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566 เพื่อดำเนินการเชื่อมโยงการจำหน่ายกุ้งภายในประเทศ เป้าหมาย 5,000 ตัน  
 
วันนี้ (17 กรกฎาคม 66) ได้ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช เพื่อติดตามจุดรวบรวมและกระจายกุ้ง ณ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566 ของกรมการค้าภายใน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (ไตรรัตน์ ไชยรัตน์) พาณิชย์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ประมงจังหวัด และหน่วยงานในพื้นที่ ร่วมด้วย...ทุกฝ่าย ยังร่วมหารือสถานการณ์การผลิต การจับกุ้งของเกษตรกร ณ พื้นที่อำเภอปากพนัง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือในระยะต่อไป 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3BdHmrZ4KCgQZjWAZ46tkB/e83d47328931929e5b481843f00bf7e2/DIT-shrimp-distribution-point-Nakhon-Si-Thammarat-agricultural-SPACEBAR-Photo02
รองอธิบดีกรมการค้าภายในเผยด้วยว่า ราคากุ้งตกต่ำหนัก เพราะเหตุหลักมาจากการชะลอซื้อจากประเทศส่งออกรายใหญ่ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น เมื่อผลผลิตล้นตลาดจึงหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ยาก  
 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยเหลือจากภาครัฐขณะนี้ ในกิจกรรมและโครงการเปิดจุดซื้อขายกุ้งในพื้นที่ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จะช่วยกระตุ้นการบริโภคกุ้งภายในประเทศได้เป็นอย่างดี  
 
สำหรับที่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งผลิตกุ้งขาวแวนนาไมแหล่งใหญ่ของไทย และมีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากที่สุดของภาคใต้ มีเกษตรกรแจ้งประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.) ที่มีการเลี้ยงจริง ณ ปัจจุบัน 978 ราย  
 
ผลกระทบราคาตกตลอดช่วงที่ผ่านมา จ.นครศรีธรรมราชได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมการค้าภายในเพื่อดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566 ไปแล้ว จำนวน 17.7 ล้านบาท และเป็นจังหวัดแรกที่เปิดรับสมัครผู้รวบรวมและกระจายกุ้งที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) กำหนด  
 
โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม 397 ราย กำหนดซื้อขายกุ้งระหว่าง 10 กรกฎาคม - 30 กันยายน 66 ซึ่ง ปัจจุบัน จ.นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการเชื่อมโยงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแล้ว 85 ราย จำนวนกุ้งรวมทั้งสิ้น 150 ตัน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1CUGLFIUXmGlb0bzTPQ1Vo/44c217992266d8f8c38d0199f0098bcc/DIT-shrimp-distribution-point-Nakhon-Si-Thammarat-agricultural-SPACEBAR-Photo03

แล้วผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดอื่น ได้รับความช่วยเหลือหรือไม่? 

รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เพิ่มเติมว่า กรมการค้าภายใน ได้จัดสรรงบประมาณ ให้จังหวัดแหล่งผลิตกุ้งที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณผ่านคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร อันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) รวมทั้งสิ้น 23 จังหวัด โดยได้รับจัดสรรงบประมาณตามสัดส่วนจำนวนเกษตรกรที่จดทะเบียนสถานประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.) ที่เข้าใช้งานระบบ APD เพื่อจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายกุ้งทะเล (Active farm) ของกรมประมง  
 
ในขณะนี้มีจังหวัดแหล่งผลิตกุ้งที่ดำเนินการโครงการฯแล้ว 14 จังหวัด สำหรับจังหวัดที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ โดยพิจารณาจากช่วงเวลาเหมาะสมในการจับกุ้งของแต่ละจังหวัด คาดว่า จะทยอยดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6xrFOsdFQbBLwtu5pLrChe/ef7f83e3d50c66127dbef9e8260008b3/DIT-shrimp-distribution-point-Nakhon-Si-Thammarat-agricultural-SPACEBAR-Photo04
นอกจากนี้ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหลายแห่ง ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการเชื่อมโยงและเปิดจุดจำหน่ายให้เกษตรกร เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด เช่น จังหวัดชุมพร เปิดจุดจำหน่ายให้เกษตรกร ทุกวันศุกร์  จังหวัดอยุธยาเชื่อมโยงกุ้งร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ชลบุรี เปิดรับออร์เดอร์สั่งซื้อกุ้งจากจากหน่วยงานต่างๆ ให้เกษตรกร เป็นต้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2oRFu7O8pSI38pMYZad0Mp/d20fb927b451a3dbc4276390d14e5b3c/DIT-shrimp-distribution-point-Nakhon-Si-Thammarat-agricultural-SPACEBAR-Photo05

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์