รูดม่านเวที APEC CEO Summit 2022  ย้ำสันติภาพ-ยั่งยืน หนุนเศรษฐกิจภูมิภาค

19 พ.ย. 2565 - 10:10

  • ‘มาครง’ ย้ำสันติภาพ-ความร่วมมือ กุญแจไขสู่ความรุ่งเรือง

  • ‘แฮร์ริส’ ยืนนโยบายเคลื่อนไหวเงินทุนเสรี เพิ่มลงทุนตรงจากต่างประเทศ

  • IMF ชี้โลกเผชิญ ‘มรสุมที่สมบูรณ์แบบ’ ขัดแย้งการเมือง-อาหาร-สุขภาพ-วิกฤตพลังงาน

Economy- APECCEOSummit2022-summary-SPACEBAR-Thumbnail
การประชุม APEC CEO Summit 2022 จัดขึ้น ณ The Athenee Hotel, A Luxury Collection Hotel, Bangkok เวทีคู่ขนานกับการประชุมเอเปค 2022 ดำเนินการมาถึงวันสุดท้ายในวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ด้วยเวทีแห่งนี้ เป็นการเจรจา อภิปราย และแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ผู้นำทางความคิด และนักวิชาการต่างๆ ในประเด็นทางธุรกิจที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญ ภายใต้แนวทาง ‘Embrace Engage Enable’

โดยบทสนทนาตลอดสองวันที่ผ่านมา ได้ครอบคลุมทั้งประเด็นด้านการขับเคลื่อนทางเศรษกิจ การค้า และการลงทุน ที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของชุมชนเอเชียแปซิฟิกจากทั้งผู้นำเอเปค ผู้นำทางความคิด และซีอีโอชั้นนำ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีความหมาย และจะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในอนาคต 

สำหรับข้อสรุปที่สำคัญของการประชุม APEC CEO Summit 2022 ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ได้มีประเด็นที่สำคัญ อันได้แก่ 
 

ประเด็นที่ 1:  สันติภาพ เสถียรภาพ และความร่วมมือ คือกุญแจสู่ความเจริญรุ่งเรือง 

 
  • เอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้เรียกร้องให้ยุติสงคราม และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ กลับมาเคารพกฎระเบียบระหว่างประเทศ และสนับสนุนกลไกพหุภาคีเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของโลก ตลอดจนเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม เพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมและความไร้เสถียรภาพ 
  • คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เน้นย้ำถึงพันธสัญญาของสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความเป็นหุ้นส่วนอย่างทั่วถึงในภูมิภาค นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการไหลเวียนของเงินทุนอย่างเสรี และเรียกร้องให้เขตเศรษฐกิจต่างๆ สร้างความมั่นใจว่าการเติบโตจะเท่าเทียมกันทั่วทั้งสังคม 
  • กฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการแผนกเอเชียและแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่านโยบายปกป้องทางการค้าและปัญหาการแบ่งแยกของระบบการเงิน จะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อเศรษฐกิจโลก 
  • ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าความร่วมมือกันจากใจและความเป็นหุ้นส่วนกัน คือปัจจัยที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่พอสำหรับการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในเชิงนโยบาย 

ประเด็นที่ 2: การเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึง 

  • เกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ Executive Director, APEC CEO Summit 2022 กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อและราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น อาจนำไปสู่ความไม่สงบในสังคม และสร้างความตึงเครียดทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนโยบายทางการเงินและงบประมาณการคลังมีความเข้มงวดขึ้น 
  • กฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการแผนกเอเชียและแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า เมื่อโลกเผชิญกับ ‘มรสุมที่สมบูรณ์แบบ’ ของความขัดแย้งทางการเมือง อาหาร สุขภาพ รวมถึงวิกฤตพลังงาน ผู้กำหนดนโยบายต้องไปให้ไกลกว่าการแก้ปัญหาระยะสั้น และต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
  • การผลักดันด้านนโยบาย ความร่วมมือข้ามพรมแดน และการส่งเสริมด้านนวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยจัดการกับความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารและพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน 
  • เทคโนโลยีสามารถเป็นเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่ในการช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงตลาดและโอกาสใหม่ๆ ได้ แม้ว่าความรู้ด้านดิจิทัล มาตรฐานระหว่างประเทศ และความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นประเด็นที่น่ากังวล 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/57rEWgYbkpyKUKiLC9XSoX/2dc2120a9062de662d7a5186ec2349a7/Economy-_APECCEOSummit2022-summary-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2i3kXnYOCEXeCj8Js1ZCNX/b817c16d4da3f3eea0270974f08679fb/Economy-_APECCEOSummit2022-summary-SPACEBAR-Photo02

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์