คำกล่าวของ คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่เผยขณะเข้าร่วมการประชุมเอเปคที่กรุงเทพฯ (เสาร์ 19 พฤศจิกายน) ว่า เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกเอเปคส่วนใหญ่กำลังชะลอตัวลง และอย่างน้อย 1 ใน 3 ของโลกที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยสหรัฐ จีน และยุโรป เผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หลังทั้ง 3 ถือเป็นหัวแรงหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก แต่ในบางพื้นที่ของอาเซียนยังคงมีความสดใส เช่นบางประเทศที่ได้ผลประโยชน์จากเงื่อนไขการค้าที่ดีขึ้น
โดยจากรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของ IMF แสดงให้เห็นว่า ไทยและจีน เป็นเพียงสองประเทศในเอเชียที่เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2566 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ปีก่อนหน้า ไม่นับรวมฮ่องกงและมาเก๊า โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยนั้น มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.8% ในปีนี้ เป็น 3.7% ในปี 2566
นอกจากนี้ คาดการณ์อัตราว่างงานของไทยด้วยว่า อยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกที่ 1.0% ทั้งในปีนี้และปีหน้า ขณะที่ในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 1.5% เป็นรองแค่คูเวตที่ 1.3%
ทันทีที่ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับทราบรายงาน IMF ที่ให้มุมมองคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในทิศทางที่ดีขึ้น ก็กล่าว รู้สึกยินดี ที่ IMF มองเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตสวนทางเศรษฐกิจโลก
โดย ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย นายกฯ ย้ำชัด ความชัดเจนของนโยบายรัฐ ส่งผลสำคัญต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน นักท่องเที่ยวและผู้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งนับตั้งแต่ไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้ โดยรัฐบาลได้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเตรียมภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ แรงงานจำนวนมากให้พร้อมรับนักท่องเที่ยว การมีมาตรการดึงดูดนักลงทุน เปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ มาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย
“ในภาคการท่องเที่ยวรัฐบาล ได้เตรียมตัวมาตั้งแต่กลางปี 2564 ด้วยการนำร่องภูเก็ตแซนด์บ็อก แล้วทยอยเปิดประเทศอย่างระมัดระวัง จนถึงขณะนี้สามารถเปิดประเทศได้เต็มที่ นักท่องเที่ยวทั่วโลกก็เดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากจีนที่เป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญของไทยผ่อนคลายนโยบายจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งความชัดเจนของนโยบายนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งนักลงทุน นักท่องเที่ยว และผู้ที่ทำการประเมินประเทศไทย” ไตรศุลี กล่าว
โดยจากรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของ IMF แสดงให้เห็นว่า ไทยและจีน เป็นเพียงสองประเทศในเอเชียที่เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2566 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ปีก่อนหน้า ไม่นับรวมฮ่องกงและมาเก๊า โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยนั้น มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.8% ในปีนี้ เป็น 3.7% ในปี 2566
นอกจากนี้ คาดการณ์อัตราว่างงานของไทยด้วยว่า อยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกที่ 1.0% ทั้งในปีนี้และปีหน้า ขณะที่ในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 1.5% เป็นรองแค่คูเวตที่ 1.3%
รัฐบาลไทย รู้สึกยินดี IMF ให้มุมมองเป็นบวก
ทันทีที่ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับทราบรายงาน IMF ที่ให้มุมมองคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในทิศทางที่ดีขึ้น ก็กล่าว รู้สึกยินดี ที่ IMF มองเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตสวนทางเศรษฐกิจโลก
โดย ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย นายกฯ ย้ำชัด ความชัดเจนของนโยบายรัฐ ส่งผลสำคัญต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน นักท่องเที่ยวและผู้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งนับตั้งแต่ไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้ โดยรัฐบาลได้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเตรียมภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ แรงงานจำนวนมากให้พร้อมรับนักท่องเที่ยว การมีมาตรการดึงดูดนักลงทุน เปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ มาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย
“ในภาคการท่องเที่ยวรัฐบาล ได้เตรียมตัวมาตั้งแต่กลางปี 2564 ด้วยการนำร่องภูเก็ตแซนด์บ็อก แล้วทยอยเปิดประเทศอย่างระมัดระวัง จนถึงขณะนี้สามารถเปิดประเทศได้เต็มที่ นักท่องเที่ยวทั่วโลกก็เดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากจีนที่เป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญของไทยผ่อนคลายนโยบายจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งความชัดเจนของนโยบายนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งนักลงทุน นักท่องเที่ยว และผู้ที่ทำการประเมินประเทศไทย” ไตรศุลี กล่าว
