คนไทยจะได้อะไรจากคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ

22 ธ.ค. 2565 - 08:15

  • มติคณะรัฐมนตรีตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ NBDI ( Natioal Big Data Institute ) อาจจะคิดช้าไปไหมเพิ่งคิดได้ตั้งหน่วยงาน Big data

  • หาเป็นเช่นนั้นไม่ ความจริงเรามีหน่วยงานที่ทำงานจริงจังกับ Bid data ของประเทศมานานแล้ว

It-Tech-BigData-NBDi-Natioal Big Data Institute-SPACEBAR-Thumbnail
รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi Government Big Data Institute) เล่าว่า จริงๆ แล้ว NBDi ก็คือ GBDi เราภายใต้การดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) GBDi มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ และ Big data ภาครัฐ มติของค.ร.ม.ไม่ได้ตั้งหน่วยงาน Big data ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการออกมาจากการดูแลของ Depa แล้วอัปเกรด GBDi เป็น NBDi
 

มีอะไรบ้างที่ GBDi ทำ

สิ่งที่ GBDi ทำไปแล้ว คือ การพัฒนากำลังคนด้านดาต้า นำร่องการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ สร้างแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูล สนับสนุนเครือข่ายระดับสากลและสร้างความตระหนักรู้ คือ GBDi ได้ทำพันธกิจเสร็จสิ้นแล้ว เมื่องาน Big data ขยายมากขึ้น GBDi ต้องเปลี่ยนแปลง นั่นคือ เหตุผลที่ GBDi ต้องเปลี่ยนเป็น NBDi เพราะปริมาณและขอบข่ายการทำงานของ GBDi ที่เชื่อมโยงงาน Bigdata ภาครัฐใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ถึงเวลาที่ต้องเพิ่มคน ขยายขนาดขององค์กร

 

อะไรที่คนไทยจะได้จาก NBDi

สิ่งที่ทำไปแล้ว คือ พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลให้กับหน่วยงานภาครัฐประมาณ 100 โครงการ ทำให้กับหน่วยงานภาครัฐ 67 หน่วยงาน อยู่เบื้องหลัง แพลตฟอร์ม Co-Link จุดเชื่อมโยงข้อมูลด้านโควิด-19 ให้กับกระทรวงสาธารณสุข กำลังทำแพลตฟอร์ม Health Link (Health Information Exchange ) เชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาข้ามโรงพยาบาลที่มาจากต่างสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร  

“ต่อไปจะดีมากเลยถ้า คนใช้แอปพลิเคชันอะไรแล้วต่อการเชื่อมกับประวัติการรักษาของแต่ละคนก็สามารถทำได้ การทำ Health Link คือการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูล”  

Health Link เชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาทั่วประเทศ โดยพัฒนาแพลตฟอร์มกลางสำหรับเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติการรักษา เริ่มต้นโครงการด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และโรงพยาบาล 100 แห่ง ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน  ปัจจุบันดำเนินการมา 12 เดือน ระบบเริ่มถูกใช้งานจริง โดยมีประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมจำนวนมาก Health Link เชื่อมโยงกับ Health Hub ของกรมการแพทย์ และ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมวางระบบเชื่อมโยงข้อมูลในเขตกรุงเทพฯ และคาดว่าจะขยายผลไปทั่วประเทศต่อไป ประโยชน์ที่เกิดจาก Health Link ที่เสร็จสมบูรณ์ คือผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐ จะย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐแห่งอื่นได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่สามารถนำประวัติการรักษาไปทำรักษาตัวต่อได้ทันที
 

ภารกิจอะไรที่ NBDiจะเร่งทำ

“เราคงยังผลักดันให้เกิดแพลตฟอร์มใหญ่ทั้ง Health Link และ Travel Link ให้จบ แล้วเปิดแผนกให้ที่สร้าง Value chain ของ Big data ประเทศ ครอบคลุมการลงทุน สนับสนุน ส่งเสริม ฝึกอบรม การเทรนนิ่ง จะมีแพลตฟอร์มรองรับการถ่ายทอดความรู้ เพื่อเพิ่มกำลังคนทางด้านดาต้าให้มากขึ้น”

นอกจากทำเรื่องสุขภาพคู่ขนานกันไปได้ทำ Travel Link (Thai Tourism Data Platform ) เป็นระบบบริการข้อมูลอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวในฐานวิถีชีวิตใหม่ ระหว่าง 22 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยการจัดเก็บรวบรวมรายละเอียดชุดข้อมูลกว่า 90 ชุดในบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เช่น ชุดข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ชุดข้อมูลที่พักแรม ชุดข้อมูลการเดินทางโดยสารสาธารณะ ทำมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ  

“ภายในไตรมาสแรกของปี 2566 เราจะเริ่มทำในจังหวัดภูเก็ต หลังจากนั้นจะคุยต่อถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มรองรับสามเหลี่ยมอันดามัน ภูเก็ต กระบี่ พังงา และทำที่กรุงเทพฯ ไปพร้อมกัน ถ้าทำเสร็จแล้วจะไปเชียงใหม่ต่อ เราเขียนบอตกวาดความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากโซเชียลมีเดีย ทั้งจากรัฐและเอกชน มาพัฒนาระบบบริการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ระบบค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และแดชบอร์ด Dashboard ด้านการท่องเที่ยว  

กลุ่มเป้าหมายคือ อุตสาหกรรม เอกชนที่ทำจะเอาข้อมูลนี้ไปออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทื่เหมาะสมตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว ขณะที่หน่วยงานภาครัฐให้มีเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย รวมถึงการสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถใช้ข้อมูลและระบบปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวในการวางแผนหลังสถานการณ์ โควิด–19”
 

ความยากของการสร้าง Data Science

“เงินเดือน Data Science คงไม่ใช่ 15,000 บาท เราต้องหารายได้เพิ่มเพื่อมาเติมในส่วนที่ขาดไป ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนทุน อีกส่วนหนึ่งเป็นจบมาใหม่ ทุกคนต้องการประสบการณ์ เรามีโจทย์จริงมีงบจริง คนที่เข้ามาจะได้ทำงานจริง แต่เมื่อเขาเก่งแล้วทำงาน 2-3 ปี เป็นธรรมดาที่อยากจะไปอยู่กับเอกชน เราเป็นรัฐเรามีหน้าที่พัฒนาคนให้เอกชนใช้ แต่เรายังคงมีกำลังคนเติมเข้ามา เด็กรุ่นใหม่บางคนอยากทำงานจริง แล้วสร้าง Impact แม้เงินเดือนจะน้อย”  
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/AJCQqhJoltKqc13ADKiJg/4894875d5ed0b26dbe6e0174ed8a7e82/It-Tech-BigData-NBDi-Natioal_Big_Data_Institute-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4D7M42ZLMB9MxqJJvE9pTz/f4ea5d74c6b54a2858a90e0561f27d9a/It-Tech-BigData-NBDi-Natioal_Big_Data_Institute-SPACEBAR-Photo02__1_
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/8YN8XaFytNuw9GL0B0R7Z/f0547eefb69cfa5bbea1f3fa5a6c9056/It-Tech-BigData-NBDi-Natioal_Big_Data_Institute-SPACEBAR-Photo03

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์