ถอด DATA จับฉลากของขวัญปีใหม่ คนไทยลงทุนน้อยแต่หวังสูง

16 ธ.ค. 2565 - 11:14

  • SPACEBAR • DATAOPS เก็บข้อมูลพร้อมถอดรหัสผู้คนพบว่า มีการเตรียมตัวซื้อของขวัญเพื่อจับฉลากร่วมงานกิจกรรมปีใหม่กันตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม

  • โดยเริ่มจัดหาของรางวัลมาร่วมกิจกรรมราวกลางเดือน เพราะได้ธีมการจัดงานปีใหม่มาแล้ว ซึ่งก็น่าสนใจว่าในปี 2023 นี้ ‘ไอเทม’ อะไรที่ผู้คนสนใจกันมากที่สุด

It-tech-data-analytics-new-year-raffle2023-SPACEBAR-Thumbnail
คนไทยเป็นคนชอบเสี่ยงดวง และคงไม่มีกิจกรรมไหนที่จะเร้าใจคนไทยได้เท่ากับการจับฉลาก และช่วงเวลาที่การจับฉลากคึกคักที่สุดก็คือช่วงปลายปีเก่าต่อต้นปีใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคมของปีที่จะผ่านไปและเดือนมกราคมของปีที่กำลังจะมาถึง  

จากการเก็บข้อมูลโดยทีม SPACEBAR • DATAOPS ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2021 – 31 มกราคม 2022 เราได้ทำการถอดข้อมูลและพบว่าผู้คนเริ่มนึกถึงการจัดกิจกรรมการจับฉลากของขวัญปีใหม่ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม แต่จากดาต้าที่ได้มาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ผู้คนทั่วไปรู้ว่าถึงเวลาแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะซื้ออะไรกันดีเป็นของขวัญฤดูกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7vjp8EDzasWQTOsru3anHH/8e3002bf505d290d187b73b2c4932438/INFO_It-tech-data-analytics-new-year-raffle2023_EDIT-01
จนกระทั่งเมื่อถึงกลางเดือนธันวาคม ส่วนใหญ่จึงเริ่มมาขอไอเดียในการซื้อของขวัญสำหรับทำกิจกรรมจับฉลาก เพราะได้ธีมในการจับฉลากกันมาแล้ว  

จากจุดนี้เองความสนใจในการเลือกซื้อของขวัญก็เริ่มเทคออฟ และทำให้เรารู้ว่าของขวัญที่ถูกหมายปองมากที่สุดคืออะไร?   

และช่วงพีคที่สุดคือในวันคริสต์มาส เพราะหลายๆ บริษัทจะมีการจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันตั้งแต่ช่วงก่อนวันคริสต์มาส ซึ่งเป็นช่วงที่คนออกมารีวิวของขวัญที่ตัวเองจับได้  

หลังจากนั้นการพูดถึงของขวัญจะเริ่มลดลง แม้ว่าจะมีการเอ่ยถึงเป็นครั้งคราวจนกว่าจะถึงสิ้นเดือนมกราคม เพราะบางบริษัทจัดงานกิจกรรมรับปีใหม่หลังผ่านพ้นวันปีใหม่ไปแล้ว
 

อะไรที่ถูกเอ่ยถึงมากที่สุด?

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘งบประมาณ’ ซึ่งก็คือจะใช้ ‘เงิน’ ซื้อของขวัญเท่าไรดี คีย์เวิร์ดนี้มีอัตราส่วนสูงสุดคือ 32% 

ช่วงงบประมาณที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือ 101 – 300 บาท คิดเป็นสัดส่วน 57% งบประมาณที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุดคือ 1,000  คิดเป็นสัดส่วน 2% จะเห็นได้ว่าผู้คนต้องการใช้จ่ายให้น้อยที่สุดกับการจับฉลาก

นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ไหนๆ ในโลก ชาวออฟฟิศต่างก็มองหาของขวัญที่มีราคาถูกที่สุดแต่พอดูได้สำหรับเข้าร่วมกิจกรรมจับฉลากในที่ทำงานช่วงสิ้นปี   

เมื่อดูบทความยอดนิยมในสื่อต่างๆ ของต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสื่อสายธุรกิจหรือสื่อในสายไลฟ์สไตล์ เราจะพบบทความแนะนำประเภท ‘ของขวัญวันปีใหม่สำหรับเพื่อนร่วมงานของคุณที่มีราคาต่ำกว่า 20 ดอลลาร์’ หรือบทความทำนองเดียวกันแต่แนะนำงบประมาณใกล้เคียงกันระหว่าง 20 - 30 ดอลลาร์ไม่มากไปกว่านี้ 

หากเทียบกับข้อมูลในไทยที่ SPACEBAR เก็บมาได้ งบประมาณ 20 - 30 ดอลลาร์ของต่างประเทศก็คงเทียบได้กับงบประมาณ 101 – 300 บาทนั่นเอง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5C63656dcnX71r6TgHsnGu/fa399d372255cbda3cfbb1e0c3a05376/INFO_It-tech-data-analytics-new-year-raffle2023-02

‘หมวดอักษร’ กติกาการจับฉลากสุดฮิต

นอกจากเรื่องเงินๆ ทองๆ แล้ว ผู้คนอื่นๆ ยังพูดถึง ‘หมวดอักษร’ มากพอๆ กับการพูดถึงเรื่องเงินและทองคำ (อัตราส่วน 18%) การพูดถึงหมวดอักษร ก็คือการพูดถึงกติกาการจับฉลากโดยอิงกับตัวอักษร เช่น ตัวอักษรแรกของชื่อผู้ร่วมกิจกรรม หรือกำหนดตัวอักษรสำหรับธีมของขวัญที่จะซื้อมาจับฉลากกัน   

แต่กิจกรรมจากการเล่นกับตัวอักษรมีอะไรมากกว่านั้น จากการเก็บดาต้า เราพบว่า
  1. 63% ของหมวดตัวอักษร พูดถึงตัวอักษรจากการ ‘สุ่ม’ หรือ ‘จับฉลาก’ เช่น มีผู้ใช้ Twitter เล่าว่ากิจกรรมที่ใช้ธีมอักษร ส เสือ มีผู้นำปลาสลิดกับสารส้มมาจับฉลากกับเขาด้วย  
  2. 27% ของหมวดตัวอักษร พูดถึงตัวอักษรตาม ‘ปีนักษัตร’ ปีนั้น (ปีเสือ จะใช้อักษรเป็น ส เสือ)  
  3. 11% ของหมวดตัวอักษร พูดถึงตัวอักษรตัวหน้าตาม ‘ชื่อเล่น’ หรือ ‘ชื่อจริง’ (แล้วแต่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3Auh5v1uNAZgNBlvaAt64d/94eed4e207817a4abe4a5b7941eb05cb/INFO_It-tech-data-analytics-new-year-raffle2023-03

ลงทุนน้อยแต่หวังสูง

สิ่งที่ผู้คนต้องการจับฉลากได้เป็นของขวัญปีใหม่มากที่สุดยังเป็น ‘เงิน’  และนอกจากเงินแล้วยังมี ‘ทองคำ’ ทั้งเงินและทองมีสัดส่วนการคนหาถึง 18%  

ในหัวข้อนี้การพูดถึง ‘เงินสด’ ได้รับการพูดถึงมากที่สุดอยู่ที่ 72% รองลงมาเป็น ‘ทองคำ’ อยู่ที่ 22% และมีการพูดถึง ‘หวย’ อยู่ที่ 7%  

จะว่าไปแล้วก็ถือเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งพอสมควร เพราะเมื่อย้อนกลับไปดูดาต้าข้างต้นเราจะพบว่าคนส่วนใหญ่ค้นหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับของขวัญที่ราคาไม่แพง แต่เมื่อมาดูความคาดหวังต่อมา คือ คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับของขวัญประเภทไหนที่ผู้คนค้นหามากที่สุด กลับเป็น 'เงินสด' กับ 'ทองคำ'  

ในส่วนของเงินสด มันสามารถเป็นเงินใส่ซอง 101 – 300 บาทได้ แต่สำหรับทองคำ แทบไม่มีทางที่จะซื้อได้ด้วยเงิน 101 – 300 บาทได้เลย  

ดังนั้น ทองคำจึงเป็นของขวัญในฝันของหลายคนที่ต้องการลงทุนน้อยๆ แต่ฝันอยากจะได้ของขวัญอันเลอค่า  

มันยังโยงมาถึงของขวัญที่ผู้คนต้องการมากพอๆ กัน คือ 'หวย' แม้ว่าหวยจะมีราคาไม่แพงนัก แต่มันมีโอกาสที่สร้างมูลค่ามหาศาลได้ถ้าเกิดถูกรางวัลขึ้นมา แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ หวยมี ‘มูลค่าแห่งความคาดหวัง’ แฝงอยู่  

ดังนั้น ถึงแม้ว่ามันจะถูกซื้อมาด้วยราคา 101 – 300 บาท แต่ผู้ที่ได้รับอาจจะไม่รู้สึกผิดหวังในทันที เพราะอย่างน้อยยังพอหวังว่าจะถูกรางวัลจากมันได้  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5OVWBgk1V1UHSlSfMaUCvD/5307202e2ad505baace765bbd3aa9dd4/INFO_It-tech-data-analytics-new-year-raffle2023-04

ของกินและเครื่องใช้ไฟฟ้า

คำค้นที่รองลงมาคือ ‘ของกิน’ ที่ยังคงมีคนนำมาจับฉลากอยู่ มีอัตราส่วนการถูกพูดถึง 7% ซึ่งของกินที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ ‘คุกกี้’ มากถึง 67% แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงคุกกี้กับของขวัญปีใหม่ สิ่งแรกที่ผู้คนนึกถึงคือเดนิชคุกกี้ในกล่องเหล็ก เช่น คุกกี้กล่องแดงของ Imperial  

แต่คุกกี้กล่องเหล็กก็ยังไม่แปลกเท่ากับการพูดถึงของกินอย่างมาม่า พริกเผา ไข่ไก่ แตงโม เป็นต้น ที่มีบางคนเปรยว่าจะนำมาร่วมกิจกรรมจับฉลาก  

นอกจากของกิน คีย์เวิร์ดรองลงมา คือ ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า' และ 'Gadget’ ในการจับฉลากมีอัตราส่วน 5%  

เราพบว่า 61% พูดถึง ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ คาดว่าเพราะเป็นสิ่งที่คนเรายังรู้สึกว่าจับได้ และเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคุ้มค่าและสามารถใช้งานได้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีการพูดถึงบนโซเชียลมีเดียในช่วงที่เราทำการเก็บข้อมูลก็เช่น เครื่องดูดฝุ่น ไดร์เป่าผม และพัดลม เป็นต้น   

ส่วน 39% พูดถึง ‘Gadget’ ของประเภท Gadget ที่ได้รับความนิยมในการนำมาจับฉลากมากที่สุดได้แก่ ลำโพงบลูทูธ คิดเป็น 50% ของ Gadget ทั้งหมด ในส่วนของ Gadget อื่นๆ  ที่ถูกพูดถึงก็จะเป็น iPad iPhone Airpods และกล้อง 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์