ไทยแข็งขัน! พาณิชย์ – สภาหอฯ นำการค้าไทย ฝ่า 4 วิกฤตโลก

27 พ.ย. 2565 - 07:22

  • ‘จุรินทร์’ โชว์วิชั่น งานสภาหอฯ ทั่วประเทศ

  • ชี้จุดยืนไทยหลังเอเปค จับมือสภาหอการค้าฯ ฝ่า 4 วิกฤตโลก

Jurin-Enhancing-Trade-Facilitation-Thailand-Competitiveness-SPACEBAR-Thumbnail
จุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้ถึงความท้าทายของการค้าโลก และของไทยว่า ยังวนอยู่กับปัญหา 4 ด้าน ที่ทำให้การเคลื่อนเศรษฐกิจมีข้อติดขัด อันได้แก่ 
1. ปัญหาโควิด  
2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์  
3. ปัญหาการกีดกันทางการค้า  
4. การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 
 
กล่าวได้ว่า ทั้งหมดนี้ คือ ‘ปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ’ ทั้งยังคลายข้อจำกัดเหล่านี้ได้ยาก เช่น ประเด็นความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ไม่มีประเทศใดในโลก ‘สั่งหยุด’ ได้ แต่ทุกประเทศต้องร่วมแก้ไขในบริบทที่ประเทศตัวเองจะเดินหน้าต่อไปได้ 
 
จุรินทร์ กล่าวว่า ตนมีหลัก 2 ข้อคือ สิ่งเกินกำลังต้องเว้นไว้ก่อน ในเมื่อสั่งให้สองประเทศหยุดทำสงครามไม่ได้ ก็ต้องเผชิญหน้า-พาไปสู่ปัจจัยที่ควบคุมได้ ไทยจึงเร่งทำตัวเลขส่งออก จะเห็นได้ว่า ตนเองมอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ทุกหน่วย เร่งหารือกับภาคเอกชน และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหาช่องทางการส่งออก 
 
ขณะที่อีกด้าน ยังมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจการค้า รวมทั้งภาคเอกชนที่จะช่วยกันหาคำตอบท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ว่าจะสามารถทำตัวเลขการส่งออกให้เติบโตต่อไปได้ได้อย่างไร หรือมีสิ่งใดที่ทำได้ในเวลาที่รวดเร็วก็ช่วยกันทำ ตลาดศักยภาพพบเจอที่ใด ก็พาบุก พร้อมเปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน มีโอกาสร่วมเปิดตลาดทำตัวเลขการส่งออกให้ประสบความสำเร็จต่อไปเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างเงินให้กับประเทศของเราให้ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3BAdrtBwwTb3r4fcstAKyE/1f8f8a5942a0b1cf748268b25d27649a/Jurin-Enhancing-Trade-Facilitation-Thailand-Competitiveness-SPACEBAR-Photo01
จุรินทร์ ยังขยายความ 4 ปัจจัยความท้าทาย ว่า ปัญหาโควิด ธุรกิจ-ประชาชน ยังต้องผจญกันต่อไป ในด้าน ความร้อนแรงของภูมิรัฐศาสตร์ แม้จะมีแนวโน้มร้อนแรง ถูกเชื่อมโยงการเมืองกับเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการแบ่งขั้วแบ่งค่าย ระหว่าง  
1) รัสเซีย-ยุโรป เป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดวิกฤติอาหาร-พลังงาน  
2) สหรัฐฯ-จีน ในทางเศรษฐกิจ-การเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้าหลายตัวทั่วโลก ทั้งห่วงโซ่อาหาร เซมิคอนดักเตอร์ กลายเป็นผลลบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เกิดการตั้งวงหาพวก  
- จีนมีวง RCEP ที่เป็นวงใหญ่  
- สหรัฐฯเคยใช้วง CPTPP ต่อมาถอนตัวและมาตั้งวงใหม่ คือ อินโด-แปซิฟิก เป็นโจทก์ว่าต้องทำอย่างไร
 
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไทย ยังมีความได้เปรียบ ที่สามารถเข้าได้ทั้งสองฝั่ง โดย RCEP ตนเคยเป็นประธานในที่ประชุมจนประสบความสำเร็จ และวงของสหรัฐฯ อินโด-แปซิฟิก ล่าสุด ไทยเรายังประกาศเข้าร่วมแล้ว ขณะที่ในช่วงประชุมเอเปค ยังมีโอกาสพบผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เจรจาทวิภาคีเห็นความพยายามในการเร่งเครื่องอินโด-แปซิฟิก และพยายามหาพันธมิตรเพิ่มเติม กำหนดกฎกติกาเพิ่มเติม เพื่อให้เอกชนพอทราบว่าเป็นอย่างไร จะจับมือกับรัฐบาลเดินหน้าเข้าวงไหน เพราะบางกลุ่มยังอยากเดินหน้า CPTPP อยู่ อย่างน้อยในการประชุมเอเปค สะท้อนให้เห็นว่าเรามีพันธมิตรใหม่เพิ่มเติม ที่น่าจะเป็นที่พึ่งได้ในอนาคต คือ ‘ซาอุดิอาระเบีย’ เป็นตลาดใหญ่ทั้งการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว ‘ไทย-ซาอุฯ’ เป็นต้น 
 
ด้าน ปัญหาการกีดกันทางการค้า จะมีรูปแบบใหม่เข้ามามากขึ้น ในรูปแบบที่ไม่ใช่ภาษีและไม่ใช่ประเด็นเดิม รัฐ-เอกชนจึงต้องเตรียมรับมือ แต่กล่าวได้ว่า ที่ประชุมเอเปคทำไทยมีสัญญาณดีหลายด้าน เช่น
 
  • เห็นพ้องว่าควรใช้เวทีพหุภาคีเป็นเวทีขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าการลงทุนในกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อไม่ให้ประเทศเล็กเสียเปรียบประเทศใหญ่และเอเปคยอมรับการขับเคลื่อน BCG Model  
  • คืบหน้ายอมรับธีม Open. Connect. Balance.ของประเทศไทย  
  • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี ที่ได้ให้ความสำคัญกับสตรีรวมทั้งกลุ่มเปราะบาง เข้ามามีโอกาสและบทบาททางเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวของกลุ่มสมาชิกเอเปคมากขึ้น
ส่วน ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นเรื่องน่าห่วง โดยปี 2564 เศรษฐกิจโลกโต +6% แต่ปีนี้แนวโน้มจะเหลือแค่ 3.2% และปีหน้าจะเหลือแค่ 2.7% โดยประมาณ สะท้อนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกลดลง จนอาจกระทบตัวเลขการลงทุน การค้า การส่งออกและการท่องเที่ยว ต้องเร่งความร่วมมือจากภาครัฐกับเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหานี้ต่อไปในอนาคต
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6JLZjxd8kHxYhR1ZFBaZp3/ac935dc560ab9ae510f24f2f58202271/Jurin-Enhancing-Trade-Facilitation-Thailand-Competitiveness-SPACEBAR-Photo02
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผย การทำงานระหว่างรัฐ-เอกชน ที่ผ่านมา มีกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ หรือ กรอ.พาณิชย์ ช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคได้เป็นอย่างดี ตอกย้ำ 7 เดือนที่ผ่านมา พาณิชย์ช่วยเพิ่มยอดส่งออกโตได้ถึง 11.5% ต้องขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีดูแลภาคเอกชน ช่วยขจัดอุปสรรค์หลายด้าน เช่น การแก้ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ เรื่องผลไม้ที่ติดขัดในการส่งไปประเทศจีน ช่วยกระตุ้นให้พวกเราจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ และการจับคู่ธุรกิจมีความสำคัญมาก ทั้งยังพาบุกตลาดที่ซาอุดีอาระเบีย ด้วย  
 
ไม่เพียงในไทย ที่มีการช่วยภาคเอกชนเท่านั้น แต่สมาคมหอการค้าญี่ปุ่น ยังฝากขอบคุณท่านรองนายกฯ จุรินทร์ ที่ช่วยแก้ปัญหาการเจรจาที่ติดขัดระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์เป็นเวลาช้านาน ทำให้การส่งยานยนต์ไปฟิลิปปินส์เป็นไปด้วยความราบรื่น และทำให้ญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการลงทุน ขยายการลงทุนรถอีวีในประเทศไทยด้วย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์