สหรัฐฯ ตัดสินขั้นต้น โซลาร์เซลล์ไทย ‘เลี่ยง AD/CVD’

25 ธ.ค. 2565 - 10:53

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ ระยะสั้นส่งผลจำกัดส่งออก ทั้งยังอาจต้องเสี่ยงแข่งขันกับเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น

  • ประเมินตัวเลขส่งออกไปสหรัฐปี 2566 เติบโตราวร้อยละ 57

KR-impact-US-preliminary-judgment-Thai-solar-cells-AD-CVD-SPACEBAR-Thumbnail
ทันทีที่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เปิดเผยผลไต่สวนขั้นต้นว่า มีผู้ผลิตจากจีนบางรายได้ใช้ฐานการผลิตใน 4 ประเทศอาเซียนรวมถึงไทยเพื่อเลี่ยงมาตรการ AD/CVD ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกเก็บอากรขาเข้าร้อยละ 16-254 แต่ได้คำสั่งคุ้มครองจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงกลางปี 2567 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ต่อกรณีที่เกิดขึ้น ชี้ปี 2566 ผลกระทบของธุรกิจโซลาร์เซลล์ไทยต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ น่าจะยังคงอยู่ในวงจำกัด และเติบโตได้ตามกระแสการลงทุนพลังงานสะอาดในสหรัฐฯ ทว่าในระยะถัดไปอาจจะส่งผลต่อส่งออก โดยเกาหลีใต้น่าจะเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญในการชิงส่วนแบ่งส่งออกไปสหรัฐฯ ขณะที่ระดับผลกระทบจะขึ้นอยู่กับผลอุทธรณ์ของผู้ผลิตไทยต่อทางการสหรัฐฯ 

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2566 มูลค่าส่งออกสินค้าโซลาร์เซลล์ไทยไปยังสหรัฐฯ น่าจะเติบโตราวร้อยละ 57 เร่งตัวจากปี 2565 ที่น่าจะเติบโตกว่าร้อยละ 50 

ทั้งนี้ สหรัฐฯ นับได้ว่าเป็นตลาดส่งออก ‘สินค้าโซลาร์เซลล์’ ที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย โดยครองสัดส่วนการส่งออกมากกว่าครึ่งหนึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การส่งออกดังกล่าวกำลังเผชิญความท้าทายจากการเปิดไต่สวนของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD Circumvention) ของผู้ผลิตจีน 

โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2565 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เปิดเผยผลไต่สวนขั้นต้นว่า มีผู้ผลิตจากจีนบางรายได้ใช้ฐานการผลิตในไทย มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา เพื่อหลบเลี่ยงอากรจากมาตรการ AD/CVD ทำให้ผู้ผลิตที่มีฐานการผลิตใน 4 ประเทศดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะถูกเก็บอากรนำเข้าในอัตราร้อยละ 16–254 

เช่นเดียวกับอัตราภาษีที่เก็บจากบริษัทในจีนภายใต้มาตรการ AD/CVD โดยผลการไต่สวนขั้นสุดท้ายจะถูกประกาศในเดือนพฤษภาคม 2566 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 หลังครบกำหนดคำสั่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ให้ยกเว้นอากรสินค้าดังกล่าวจากกลุ่มประเทศที่ถูกไต่สวนเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานสะอาดในสหรัฐฯ มีเวลาปรับตัว  

ปี 2566 ส่งออกไปสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจำกัดและยังเติบโตจากสิทธิประโยชน์พลังงานสะอาด 

สำหรับระยะเฉพาะหน้าปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ น่าจะยังคงอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากในช่วงดังกล่าว อัตราภาษียังคงได้รับการคุ้มครองจากคำสั่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานทดแทนในสหรัฐฯ น่าจะยังคงนำเข้าสินค้าจากผู้ผลิตที่เป็นคู่ค้าเดิมอยู่ ส่งผลให้แนวโน้มส่งออกสินค้าโซลาร์เซลล์จากไทยไปยังสหรัฐฯ น่าจะยังคงเติบโตได้ตามกระแสการลงทุนพลังงานสะอาดในสหรัฐฯ 

โดยได้แรงหนุนหลักจากกฎหมายจัดการเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) ที่สหรัฐฯ เพิ่งประกาศใช้ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับภาคธุรกิจ และเครดิตเงินคืนสำหรับภาคครัวเรือน ในการจูงใจให้ติดตั้งพลังงานสะอาดโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ ทั้งเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/dsHiHMqejIopSePi0OqZq/803fc76393f0f9fbd274b834f8722c39/KR-impact-US-preliminary-judgment-Thai-solar-cells-AD-CVD-SPACEBAR-Photo01
Photo: KResearch
ภายใต้แรงหนุนจากสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าโซลาร์เซลล์ไทยไปสหรัฐฯ 

เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 ถึงร้อยละ 202.5 (YoY) เร่งตัวจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 14.7 (YoY) ในช่วงระยะ 8 เดือนแรกของปีนี้ และคาดว่าจะยังคงเติบโตเร่งขึ้นอีกในปีหน้าจากผลของฐานที่ต่ำในช่วงแรกของปีนี้แม้จะได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยศูนยวิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2566 มูลค่าส่งออกสินค้าโซล่าร์เซลล์ไทยไปสหรัฐฯ น่าจะเพิ่มขึ้น แตะ 1,852 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตราวร้อยละ 57 เร่งตัวจากปี 2565 ที่น่าจะเติบโตกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่การส่งออกสินค้าโซลาร์เซลล์ไทยไปยังตลาดโลกในปี 2566 แม้จะยังคงได้รับแรงหนุนจากความพยายามของภาคธุรกิจในหลายประเทศที่หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนค่าไฟที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่แนวโน้มดังกล่าวก็น่าจะได้รับแรงกดดันจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลให้จังหวะการขยายตัวของการส่งออกสินค้าโซลาร์เซลล์ไทยไปตลาดโลกยกเว้นสหรัฐฯ อาจมีแนวโน้มชะลอตัวในปีหน้า  

ทั้งนี้ ศูนยวิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าส่งออก 3 สินค้าโซลาร์เซลล์ไทยไปยังตลาดโลกในปี 2566 น่าจะเพิ่มขึ้น เป็น 2,503 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวกว่าร้อยละ 37 ชะลอตัวจากปี 2565 ที่น่าจะเติบโตราวร้อยละ 49  

และในระยะถัดไป เกาหลีใต้อาจเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญในการชิงส่วนแบ่งส่งออกไปสหรัฐฯ ขณะที่ 

ผู้ผลิตไทยควรเร่งยื่นหลักฐาน ยืนยันว่า ไม่อยู่ในข่ายเลี่ยงมาตรการ AD/CVD 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1Da16RIzaOeB4cGR7toKLr/fa1988fdc3277e4da54a5a2aba018f7a/KR-impact-US-preliminary-judgment-Thai-solar-cells-AD-CVD-SPACEBAR-Photo02
Photo: KResearch

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์