
ฮิญาบ คือ ผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิม มีความหมาย ถึง ‘การปิดกั้น’ นั่นจึงทำให้เราทุกคนได้เห็นผู้หญิงชาวมุสลิมสวมผ้าคลุมผมปกปิดเนื้อตัวยาวลงมาถึงหน้าอก จะเปิดเผยได้ก็เพียงใบหน้าและฝ่ามือเท่านั้น ใครที่เข้มมาก เราก็จะเห็นเฉพาะ ‘ลูกตา และฝ่ามือ’ โดยสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นการแต่งกายตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพื่อป้องกันตนเองจากฟิตนะห์ (ความไม่ดีไม่งามทางสังคม) เช่น ห้องกันการล้อเลียน หรือ การหยอกล้อเชิงชู้สาวจากเพื่อนชาย เป็นต้น

แต่ในงาน Local Enterprises Exposition 2023 ธุรกิจชุมชน คน-ของ-ตลาด ซึ่งจัดโดยสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน (เกื้อกูล Local Enterprises : LEs) ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการต้นทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. ภายใต้สังกัด สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สอวช) พาเราเห็นกลไกสร้างความมั่งคั่งให้เศรษฐกิจชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พลังสตรีมุสลิมที่มีฝีมือในการตัดเย็บ มารวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้สตรีมุสลิม สิ่งนี้เกิดผลดีทั้งในแง่การเรียกศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจในตัวเอง หลังเป็นอีกส่วนที่สามารถช่วย ครอบครัวหารายได้ ผิดกับแต่ก่อน ที่สามีจะเป็นฝ่ายหาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว การได้ช่วยแบ่งเบาภาระ จึงทำให้ฐานะของครอบครัวดีขึ้น

นี่จึงทำให้เกิด ‘แฟชั่นโชว์ ฮิญาบผ้าไหมไทยผืนแรกของโลกเป็นครั้งแรก’ โชว์ศักยภาพของสตรีมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่กล่าวได้ว่า เป็นการแลกแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภาคใต้ (ฮิญาบ) และอีสาน (ไหมไทย) เข้าด้วยกัน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผลงานของ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จ.ปัตตานี โดย ผศ.ดร.มัฮซูม สะตีแม

นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จของกลไกสร้างธุรกิจชุมชนยั่งยืน จากการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนกับนักวิจัยในพื้นที่ (Local Knowledge Manager) ได้มาเป็น ธุรกิจฮิญาบไหมไทย ด้วยโมเดลธุรกิจ AHSAN-อาห์ซาน ภายใต้หลักคิด ‘จาก Trademark สู่ Trustmark’

อนาคต ยังมีการพูดคุยว่า ปัตตานี หรือ ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยวมุสลิม ที่ใครๆ ก็มาเยือน



