ยังคงใช้การได้เสมอ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไหนที่ไม่ได้ใช้ใช้ ก็ ‘ปลดปลั๊กออกจากเต้า’ เป็นวิธีการง่ายๆ วิธีหนึ่งสำหรับการ ‘ลดค่าใช้จ่าย’ ค่าไฟ ที่เชื่อว่า หลายท่านก็รู้ๆ กันอยู่ แต่ที่มาย้ำเตือน ก็เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการค่าไฟ ที่ขณะนี้ต้องบอกว่า ค่าไฟทุกบ้าน ‘พุ่งสูง’ อันมาจากความร้อนจัดของสภาพอากาศที่ทำให้คนอยู่ในบ้าน ต้องเฮโลพาเครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกชนิด ที่ช่วยสร้างความเย็น มาเปิดพร้อมๆ กัน นั่นจึงเป็นเหตุให้มิเตอร์ค่าไฟ หมุน หมุน หมุน ... ไม่ได้หยุดหย่อน
การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มีข้อแนะนำการประหยัดไฟฟ้าโดยให้ยึดหลักง่ายๆ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’ มีอะไรบ้าง? มาดูกัน
การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มีข้อแนะนำการประหยัดไฟฟ้าโดยให้ยึดหลักง่ายๆ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’ มีอะไรบ้าง? มาดูกัน

กลยุทธ์ 4 หลัก ‘ประหยัดไฟฟ้า’
สำหรับหลักการ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’ ที่ MEA แนะนำ ประกอบด้วย
ด้านรัฐ ย้ำ ติดตามดูแลสถานการณ์ไฟฟ้าใกล้ชิด
สำหรับประเด็น ‘ค่าไฟพุ่ง 30-50%’ ซึ่งพบตามโซเชียล ที่ประชาชนนำข้อความโพสต์ไว้นั้น โฆษกรัฐบาล ‘อนุชา บูรพชัยศรี’ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) ออกมาย้ำ นายกรัฐมนตรี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ สั่งการผู้เกี่ยวข้องติดตามเรื่องค่าไฟฟ้าใกล้ชิด โดยพยายามช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนกระทบน้อยที่สุด เบื้องต้น ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า ตามที่การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA แนะนำ คือ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’
เพราะอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นต้องทำงานมากขึ้นและใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น โดยจะเห็นได้จากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ล่าสุด มีค่าเท่ากับ 8,904.66 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 2566 ซึ่งค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด มักจะพบว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อนทั้งสิ้น
โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน คือ เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ยกตัวอย่างในสภาวะอากาศปกติ เช่น อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส หากปรับอุณหภูมิแอร์ในห้องที่ 26 องศา แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศาเซลเซียส แต่ในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เช่น อุณหภูมิภายนอก 40 องศาเซลเซียส หากตั้งอุณหภูมิแอร์ในห้องเท่าเดิมไว้ที่ 26 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ถึง 14 องศาเซลเซียล แอร์จึงทำงานหนักมากขึ้น และกินไฟมากกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องรักษาอุณหภูมิในสภาวะที่มีความร้อนจัดจากภายนอกรบกวน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ จากการทดสอบพบว่า อุณหภูมิภายนอกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% ถึงแม้จะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในระยะเวลาเท่ากัน หรือปรับตั้งค่าอุณหภูมิเท่าเดิมก็ตาม ประกอบกับในช่วงอากาศร้อนพฤติกรรมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น การเปิดปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง การประกอบอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมากขึ้นทำให้ปั๊มน้ำทำงานมากขึ้น ทั้งหมดนี้ ล้วนทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
สำหรับหลักการ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’ ที่ MEA แนะนำ ประกอบด้วย
- ‘ปิด’ : ไฟส่องสว่าง ‘ดวงที่ไม่ใช้’
- ‘ปรับ’ : ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ มาอยู่ที่ระดับ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่ จะเป็นการช่วยให้ประหยัดพลังงานได้
- ‘ปลด’ : ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน ดังที่กล่าวข้างต้น และเปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญ ต้องหมั่นล้างเครื่องปรับอากาศ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
- ‘เปลี่ยน’ : เปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ไม่ตุนอาหารในตู้เย็นเกินจำเป็น ตรวจขอบยางประตูตู้เย็นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และเปลี่ยนที่ 2 คือ ‘เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED’ เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า (เบอร์ 5)
ด้านรัฐ ย้ำ ติดตามดูแลสถานการณ์ไฟฟ้าใกล้ชิด
สำหรับประเด็น ‘ค่าไฟพุ่ง 30-50%’ ซึ่งพบตามโซเชียล ที่ประชาชนนำข้อความโพสต์ไว้นั้น โฆษกรัฐบาล ‘อนุชา บูรพชัยศรี’ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) ออกมาย้ำ นายกรัฐมนตรี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ สั่งการผู้เกี่ยวข้องติดตามเรื่องค่าไฟฟ้าใกล้ชิด โดยพยายามช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนกระทบน้อยที่สุด เบื้องต้น ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า ตามที่การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA แนะนำ คือ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’
เพราะอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นต้องทำงานมากขึ้นและใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น โดยจะเห็นได้จากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ล่าสุด มีค่าเท่ากับ 8,904.66 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 2566 ซึ่งค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด มักจะพบว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อนทั้งสิ้น
โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน คือ เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ยกตัวอย่างในสภาวะอากาศปกติ เช่น อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส หากปรับอุณหภูมิแอร์ในห้องที่ 26 องศา แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศาเซลเซียส แต่ในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เช่น อุณหภูมิภายนอก 40 องศาเซลเซียส หากตั้งอุณหภูมิแอร์ในห้องเท่าเดิมไว้ที่ 26 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ถึง 14 องศาเซลเซียล แอร์จึงทำงานหนักมากขึ้น และกินไฟมากกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องรักษาอุณหภูมิในสภาวะที่มีความร้อนจัดจากภายนอกรบกวน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ จากการทดสอบพบว่า อุณหภูมิภายนอกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% ถึงแม้จะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในระยะเวลาเท่ากัน หรือปรับตั้งค่าอุณหภูมิเท่าเดิมก็ตาม ประกอบกับในช่วงอากาศร้อนพฤติกรรมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น การเปิดปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง การประกอบอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมากขึ้นทำให้ปั๊มน้ำทำงานมากขึ้น ทั้งหมดนี้ ล้วนทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน