‘มูเตลู’ สุดพีก ปี 65 โตกว่า 113% ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

28 ก.พ. 2566 - 06:27

  • เศรษฐกิจโลกไร้ทิศทาง พาภาคธุรกิจเชื่อมโยงมูเตลู เข้ากลยุทธ์การตลาด หนุนบริหารจัดการ

  • พาณิชย์ ส่องตัวเลข ปี 65 พบกลุ่มธุรกิจมูเตลู รายได้รวมโตเพิ่มกว่า 113%

  • ชวนจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล สร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมขยายธุรกิจสู่บริการที่หลากหลายในอนาคต

MOC-Mutelu-2022-income-growth-more-than-113-percent-SPACEBAR-Thumbnail
ว่ากันว่า เมื่อใดที่ ‘คน’ หมดที่พึ่ง สายความเชื่อ หรือที่เรียกกันว่า ‘มูเตลู’ จะขยับเบียดเข้ามาในความคิดทันที ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพราะธุรกิจต้องเดินหน้า ชีวิตต้องเดินต่อ ปากท้องร้องหาอาหาร ฯลฯ เชื่อไว้ ก็ไม่มีอะไรจะเสีย นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ธุรกิจมูเตลูเติบโตโดดเด่น  

ทำไมพาณิชย์ จึงสำรวจธุรกิจมูเตลู  

ด้วยเพราะหลายสำนัก ชี้ถึงการเติบโตของธุรกิจมูเตลู ว่า ได้รับความนิยมเพิ่มต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์ จึงทำการสำรวจ และเปิดรายได้ปลายปี 2565 ให้ได้เห็น ถึงกับต้องร้องว๊าววววว! เพราะรายได้ที่พบ ไม่น้อย อัตราเติบโตในธุรกิจนี้ เพิ่มขึ้นกว่า 113% เลยทีเดียว
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/rg6NIqV7lUupbWhokCgaj/e952e1fe42045608f6c0d14bb68ad49e/MOC-Mutelu-2022-income-growth-more-than-113-percent-SPACEBAR-Photo01
สินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผย ตั้งแต่ปี 2563 เข้าสู่ปี 2566 มูเตลู หรือความเชื่อในศาสตร์เร้นลับ การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อเสริมดวงและโชคชะตาในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ผู้นับถือศาสตร์มูเตลู (สายมู) เชื่อว่าการบูชาและศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไสยศาสตร์ เครื่องรางของขลังจะช่วยส่งเสริมด้านการงาน การเงิน โชคลาภ และความรัก  

ชี้ชัด มูเตลู ที่พึ่ง ให้พลังบวก บรรเทากังวล 

กล่าวได้ว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนไทย-ธุรกิจไทย ประสบภาวะความยากลำบากในการดำเนินชีวิต และดำเนินธุรกิจค่อนข้างยาก ที่พึ่งอย่าง ‘มูเตลู’ จึงให้พลังบวก ผนวกกับเรื่องของความเชื่อ ช่วยบรรเทากังวล บนความ ‘ไม่แน่นอน’ ของสถานการณ์ที่เศรษฐกิจที่ต้องเผชญิญความผันผวน มีปัจจัยไม่คาดคิดเกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น โรคอุบัติใหม่ โรคระบาดอันตรายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การศึกษา ความเห็นต่าง รวมทั้ง การไม่สามารถปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ภาคธุรกิจสบโอกาสที่จะนำความเชื่อในมูเตลูมาใช้สร้างรายได้และผลกำไรมากขึ้น  

เมื่อ ‘มูเตลู’ ช่วยสร้างรายได้จริง! 

เมื่อพิจารณาถึงการบริหารจัดการ พบว่า มีการปรับตัวนำศาสตร์แห่งความเชื่อมาใช้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด (โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์) และประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการ โดยจัดแคมเปญให้เข้าถึงผู้บริโภคทุกช่วงอายุมากขึ้น รวมทั้ง ใช้ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด (Influencers) หรือผู้มีชื่อเสียงมาสร้างความน่าเชื่อถือ และสร้างประสบการณ์ร่วมด้านอารมณ์/ความรู้สึกกับลูกค้า ส่งผลให้ ‘ธุรกิจกิจกรรมด้านความเชื่อเพื่อสนับสนุนการตลาด’ มีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4IxZbFQCkwwDfxwE4Pg0HI/1c5b848cd7600c18ef2e0e4e930d947a/MOC-Mutelu-2022-income-growth-more-than-113-percent-SPACEBAR-Photo06

เช็กยอดจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท แนว ‘มูเตลู’ 

ปี 2563 - 2565 ธุรกิจกิจกรรมด้านความเชื่อเพื่อสนับสนุนการตลาดมีอัตราการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้น ปี 2563 จดทะเบียนจัดตั้ง 11 ราย ทุนจดทะเบียน 7.59 ล้านบาท ปี 2564 จัดตั้ง 20 ราย (เพิ่มขึ้น 9 ราย หรือร้อยละ 81.8) ทุน 13.41 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 76.7) ปี 2565 จัดตั้ง 24 ราย (เพิ่มขึ้น 4 ราย หรือร้อยละ 20.0) ทุน 27.45 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 14.04 ล้านบาท หรือร้อยละ 104.7) เมื่อพิจารณาผลประกอบการ-รายได้รวมธุรกิจมูเตลู ปี 2562-2565 พบว่า
  • ปี 2562 อยู่ที่ 24.28 ล้านบาท สินทรัพย์ 49.54 ล้านบาท กำไร 1.12 ล้านบาท  
  • ปี 2563 รายได้รวม 28.76 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.5) สินทรัพย์ 47.31 ล้านบาท (ลดลง 2.23 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5) กำไร 1.52 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 0.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.7) 
  • ปี 2564 รายได้รวม 61.28 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 32.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 113.1) สินทรัพย์ 71.07 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 23.76 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.22) ขาดทุน 1.86 ล้านบาท (ลดลง 3.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 222.4)
ทั้งนี้ ปี 2564 มีรายได้รวมและสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปี 2563 แต่มีผลประกอบการขาดทุน แสดงถึงแนวโน้มของธุรกิจอยู่ในช่วงขยายการลงทุนรองรับการเติบโตหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 คลี่คลายลง 

การลงทุนในธุรกิจส่วนใหญ่เป็นคนไทย มูลค่าการลงทุน 98.55 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.64 ของการลงทุนในธุรกิจทั้งหมด และมีการลงทุนจากต่างชาติ 2 สัญชาติ คือ จีน มูลค่า 2.45 ล้านบาท (ร้อยละ 2.40) และ ฝรั่งเศส มูลค่า 0.98 ล้านบาท (ร้อยละ 0.96)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7bGvYq8LgnYWwK2z5PozRK/b59292a866c6fdf9003adde6ee81b84b/MOC-Mutelu-2022-income-growth-more-than-113-percent-SPACEBAR-Photo03
ปัจจุบัน ธุรกิจกิจกรรมด้านความเชื่อเพื่อสนับสนุนการตลาดที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 31 มกราคม 2566 มีจำนวน 93 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ (857,511 ราย) และมีมูลค่าทุน 101.98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.0005 ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย (21.36 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 46 ราย (ร้อยละ 49.46) ทุนจดทะเบียน 60.33 ล้านบาท (ร้อยละ 59.16)  

รองลงมา คือ ภาคกลาง 22 ราย (ร้อยละ 23.66) ทุน 17.41 ล้านบาท (ร้อยละ 17.07) ภาคตะวันออก 6 ราย (ร้อยละ 6.45) ทุน 5.90 ล้านบาท (ร้อยละ 5.79) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ราย (ร้อยละ 6.45) ทุน 5.55 ล้านบาท (ร้อยละ 5.44) ภาคเหนือ 5 ราย (ร้อยละ 5.38) ทุน 1.29 ล้านบาท (ร้อยละ 1.26) ภาคใต้ 55 ราย (ร้อยละ 5.38) ทุน 9.40 ล้านบาท (ร้อยละ 9.22) และ ภาคตะวันตก 3 ราย (ร้อยละ 3.22) ทุน 2.10 ล้านบาท (ร้อยละ 2.06)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2ToiXEQY0D0H0YuibdEBKL/6899808970cf1cd4ec1822c2d9662ba0/MOC-Mutelu-2022-income-growth-more-than-113-percent-SPACEBAR-Photo07

คนไทย กับ 5 ความเชื่อ มีอะไรบ้าง? 

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการสำรวจและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อด้านโชคลางของคนไทย 5 อันดับแรก ได้แก่  
  1. การพยากรณ์ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์) โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิบซี  
  2. พระเครื่องวัตถุมงคล  
  3. สีมงคล   
  4. ตัวเลขมงคล  
  5. เรื่องเหนือธรรมชาติ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2vsElNPsBImU6LMUVL4IQR/9fb03e242cc0cc726c80f63d28d5b738/MOC-Mutelu-2022-income-growth-more-than-113-percent-SPACEBAR-Photo04

โซเชียลมีเดีย-เว็บไซต์ สื่อยอดนิยมเข้าถึงมูเตลู 

สำหรับช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาด้านความเชื่อโชคลาง ส่วนใหญ่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ รองลงมา คือ บุคคลรอบข้าง และการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกิจกรรมด้านความเชื่อเพื่อส่งเสริมการตลาดในประเทศไทยมีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบปริมาณของผู้ประกอบธุรกิจด้านความเชื่อในตลาด ส่วนใหญ่นิยมประกอบกิจการในรูปบุคคลธรรมดา จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบธุรกิจ หากต้องการให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือหรือขยายธุรกิจสู่การให้บริการอื่นๆ การจดทะเบียนนิติบุคคลจะมีส่วนช่วยในการสร้างความน่าเชื่อถือและต่อยอดทางธุรกิจได้หลากหลายมากขึ้น 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์