ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผย ตามที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรีได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งมีการพบการใช้รถแบ็คโฮเคลื่อนย้ายถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ที่เคยถูกไฟไหม้ เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ทำให้เกิดของเสียรั่วไหล จนเกิดการแพร่กระจายของของเสียและส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายนั้น ได้สั่งการให้อุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรีลงพื้นที่ตรวจสอบเป็นการด่วนแล้ว
โดยพบรถแบ็คโฮ จำนวน 1 คัน จอดอยู่บริเวณด้านข้างอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจากการตรวจสอบบริเวณกองถังโลหะขนาด 200 ลิตร ที่เคยถูกเพลิงไหม้ มีถังโลหะประมาณ 40 ใบ ถูกแยกออกมาจากกองถัง ลักษณะเหมือนถูกทำให้แตกชำรุด และมีของเหลวสีเขียวและสีชมพู มีกลิ่นเหม็นคล้ายตัวทำละลาย (Solvent) รั่วไหลลงสู่พื้นดินบริเวณดังกล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันตก กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เก็บตัวอย่างของเหลวบริเวณดังกล่าว จำนวน 4 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์และตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง ด้วยกระดาษวัดค่า pH (pH Paper Indicator Strip) ผลพบว่า มีค่าเป็นด่างเข้มข้นประมาณ 13 อย่างไรก็ตามจะนำส่งตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวัดค่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ Total VOCs (Volatile Organic Compounds) และค่าอื่นๆ ต่อไป
ล่าสุด ได้ออกคำสั่งให้ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด ระงับการดำเนินการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของของเสียในถังโลหะขนาด 200 ลิตร บริเวณพื้นที่ที่เคยถูกเพลิงไหม้โดยทันที และให้บริษัทฯ ดำเนินการฟื้นฟูแก้ไขบริเวณที่เคยถูกเพลิงไหม้ที่มีของเสียอันเกิดจากบริษัทฯ ใช้รถแบคโฮเคลื่อนย้ายถังโลหะขนาด 200 ลิตร ประมาณ 40 ถัง ทำให้ของเสียหกล้นรั่วไหลออกมาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เบื้องต้น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี แจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวน ที่ สภ.จอมบึง จังหวัดราชบุรีแล้ว
ขณะที่แนวทางการขนย้ายถังที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ ทางจังหวัดราชบุรีจะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อเร่งตรวจสอบแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ต่อไป
สำหรับ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการกำจัดและบำบัดของเสียอุตสาหกรรม ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) ซึ่งได้เกิดเพลิงไหม้ไปเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยในครั้งนั้น นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้ โดยให้โรงงานนำของเสียที่เกิดจากเพลิงไหม้ และของเสียที่ตกค้างในพื้นที่โรงงานส่งไปบำบัดหรือกำจัด ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน พร้อมทั้งกำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง
โดยพบรถแบ็คโฮ จำนวน 1 คัน จอดอยู่บริเวณด้านข้างอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจากการตรวจสอบบริเวณกองถังโลหะขนาด 200 ลิตร ที่เคยถูกเพลิงไหม้ มีถังโลหะประมาณ 40 ใบ ถูกแยกออกมาจากกองถัง ลักษณะเหมือนถูกทำให้แตกชำรุด และมีของเหลวสีเขียวและสีชมพู มีกลิ่นเหม็นคล้ายตัวทำละลาย (Solvent) รั่วไหลลงสู่พื้นดินบริเวณดังกล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันตก กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เก็บตัวอย่างของเหลวบริเวณดังกล่าว จำนวน 4 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์และตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง ด้วยกระดาษวัดค่า pH (pH Paper Indicator Strip) ผลพบว่า มีค่าเป็นด่างเข้มข้นประมาณ 13 อย่างไรก็ตามจะนำส่งตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวัดค่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ Total VOCs (Volatile Organic Compounds) และค่าอื่นๆ ต่อไป
ล่าสุด ได้ออกคำสั่งให้ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด ระงับการดำเนินการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของของเสียในถังโลหะขนาด 200 ลิตร บริเวณพื้นที่ที่เคยถูกเพลิงไหม้โดยทันที และให้บริษัทฯ ดำเนินการฟื้นฟูแก้ไขบริเวณที่เคยถูกเพลิงไหม้ที่มีของเสียอันเกิดจากบริษัทฯ ใช้รถแบคโฮเคลื่อนย้ายถังโลหะขนาด 200 ลิตร ประมาณ 40 ถัง ทำให้ของเสียหกล้นรั่วไหลออกมาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เบื้องต้น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี แจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวน ที่ สภ.จอมบึง จังหวัดราชบุรีแล้ว
ขณะที่แนวทางการขนย้ายถังที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ ทางจังหวัดราชบุรีจะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อเร่งตรวจสอบแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ต่อไป
สำหรับ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการกำจัดและบำบัดของเสียอุตสาหกรรม ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) ซึ่งได้เกิดเพลิงไหม้ไปเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยในครั้งนั้น นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้ โดยให้โรงงานนำของเสียที่เกิดจากเพลิงไหม้ และของเสียที่ตกค้างในพื้นที่โรงงานส่งไปบำบัดหรือกำจัด ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน พร้อมทั้งกำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง
