แนวคิดการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์ มีต้นแบบมาจากสหรัฐ กำลังจะเป็นแนวคิดใหม่ของการบริหารงบประมาณรายจ่ายที่ยึดตามความจำเป็นเร่งด่วนของหน่วยงาน และผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้นำมาใช้กับกรุงเทพมหานครตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง จากนี้ไปเป็นหน้าที่ของว่าที่รัฐบาลก้าวไกล จะนำมาใช้ต่อไป
หนึ่งใน MOU การจัดตั้งรัฐบาลของ 8 พรรคการเมือง ในเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบฐานศูนย์ ในหัวข้อที่ 13 ในแถลงการณ์ เป็นหัวข้อสั้นๆ แต่มีความหมายที่น่าสนใจ
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบฐานศูนย์ Zero Based Budgeting (ZBB) ในความหมายคือ
การทำงบประมาณรายจ่ายแบบฉีกฐานงบประมาณเดิมทิ้งทั้งหมด แล้วมาวางแผนการใช้งบประมาณใหม่ ด้วยการอ้างอิงความจำเป็นเร่งด่วน ไม่ต้องสนใจว่าแต่ละหน่วยงานเดิมได้งบมาเท่าไหร่ ทุกอย่างเริ่มใหม่หมด และการใช้งบประมาณต้องมีรายละเอียด ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ที่สำคัญ งบประมาณแบบนี้สามารถปรับปรุงได้ แก้ไขได้ มีความยึดหยุ่นในการบริหารจัดการ
ในแง่แนวคิด การรื้อระบบงบประมาณแบบนี้ การควบคุมตรวจสอบการใช้เงินของหน่วยงานรัฐแบบเคร่งครัด งบประมาณต่อเนื่อง หรือโครงการที่วางแผนใช้เงินระยะยาว การตั้งงบแบบเกรงใจก็จะถูกตรวจสอบ
แต่ในความเป็นจริง ต้องพิสูจน์ทราบกันอีกครั้ง
งบประมาณฐานศูนย์แบบนี้ มีการนำมาใช้แล้ว กับการบริหารงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ยุค ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ที่นำมาใช้บริหารงบประมาณกรุงเทพมหานคร และถูกบรรจุไว้ในนโยบายในการหาเสียงของเขาด้วย
กรุงเทพมหานครเริ่มทดลองใช้โมเดลนี้ ส่วนผลลัพธ์ ต้องติดตามว่ามีประสิทธิภาพตามที่คาดการณ์หรือไม่
เจ้าของแนวคิดนี้คือ Peter Pyrrh ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของบริษัท Texas Instruments จำกัด เขานำเสนอไว้ในหนังสือของเขาเอง ในชื่อ Zero Based Budgeting: A Practical Management Tool for Evaluating Expenses ตั้งแต่ปี 1970
แนวคิดนี้ ไปสะดุดตา Jimmy Carter ผู้ว่าการรัฐจอร์เจียสมัยนั้น จึงเรียกเขามาใช้งาน ให้ดูแลเรื่องการทำงบประมาณของรัฐจอร์เจีย และ Jimmy Carter คนนี้ต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 39 ของสหรัฐ สังกัดพรรคเดโมแครต
หนึ่งใน MOU การจัดตั้งรัฐบาลของ 8 พรรคการเมือง ในเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบฐานศูนย์ ในหัวข้อที่ 13 ในแถลงการณ์ เป็นหัวข้อสั้นๆ แต่มีความหมายที่น่าสนใจ
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบฐานศูนย์ Zero Based Budgeting (ZBB) ในความหมายคือ
การทำงบประมาณรายจ่ายแบบฉีกฐานงบประมาณเดิมทิ้งทั้งหมด แล้วมาวางแผนการใช้งบประมาณใหม่ ด้วยการอ้างอิงความจำเป็นเร่งด่วน ไม่ต้องสนใจว่าแต่ละหน่วยงานเดิมได้งบมาเท่าไหร่ ทุกอย่างเริ่มใหม่หมด และการใช้งบประมาณต้องมีรายละเอียด ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ที่สำคัญ งบประมาณแบบนี้สามารถปรับปรุงได้ แก้ไขได้ มีความยึดหยุ่นในการบริหารจัดการ
ในแง่แนวคิด การรื้อระบบงบประมาณแบบนี้ การควบคุมตรวจสอบการใช้เงินของหน่วยงานรัฐแบบเคร่งครัด งบประมาณต่อเนื่อง หรือโครงการที่วางแผนใช้เงินระยะยาว การตั้งงบแบบเกรงใจก็จะถูกตรวจสอบ
แต่ในความเป็นจริง ต้องพิสูจน์ทราบกันอีกครั้ง
งบประมาณฐานศูนย์แบบนี้ มีการนำมาใช้แล้ว กับการบริหารงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ยุค ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ที่นำมาใช้บริหารงบประมาณกรุงเทพมหานคร และถูกบรรจุไว้ในนโยบายในการหาเสียงของเขาด้วย
กรุงเทพมหานครเริ่มทดลองใช้โมเดลนี้ ส่วนผลลัพธ์ ต้องติดตามว่ามีประสิทธิภาพตามที่คาดการณ์หรือไม่
เจ้าของแนวคิดนี้คือ Peter Pyrrh ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของบริษัท Texas Instruments จำกัด เขานำเสนอไว้ในหนังสือของเขาเอง ในชื่อ Zero Based Budgeting: A Practical Management Tool for Evaluating Expenses ตั้งแต่ปี 1970
แนวคิดนี้ ไปสะดุดตา Jimmy Carter ผู้ว่าการรัฐจอร์เจียสมัยนั้น จึงเรียกเขามาใช้งาน ให้ดูแลเรื่องการทำงบประมาณของรัฐจอร์เจีย และ Jimmy Carter คนนี้ต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 39 ของสหรัฐ สังกัดพรรคเดโมแครต
