
สินค้าประเทศไทย โดดเด่นมากมาย โดยแม้เป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่อยู่ต่างพื้นที่ นั่นก็อาจทำให้รสชาติ หรือมีผลลัพธ์อื่นที่ต่างกันได้ นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีสินค้าที่เรียกว่า ‘สิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ หรือ GI’ มากมาย ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทยอยขึ้นทะเบียน ทั่วประเทศ เพราะสินค้าพื้นถิ่นแบบนี้ หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุน เพิ่มการมองเห็นทั้งในประเทศไทยเอง และต่างชาติ จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก นำพารายได้สู่ฐานราก
เช่น ‘ปลาทูแม่กลอง’ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งก็มีตำนานเล่าขานว่า ถ้าจะซื้อปลาทูแม่กลอง ก็ต้อง ‘หน้างอ คอหัก’... ผิดจากนี้จะไม่ใช่ ชื่อเสียงแบบนี้ ก็ทำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำพา ‘ปลาทูแม่กลอง’ ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ด้วยแล้ว
วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตอกย้ำการขึ้นทะเบียน GI นอกจากได้ยกระดับสินค้าในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการควบคุมคุณภาพสินค้าเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดย ‘ปลาทูแม่กลอง’ ที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนล่าสุดนี้ จัดว่าเป็นสินค้า GI ลำดับที่ 4 ของจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อจาก “ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม-สิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม และพริกบางช้าง”
เช่น ‘ปลาทูแม่กลอง’ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งก็มีตำนานเล่าขานว่า ถ้าจะซื้อปลาทูแม่กลอง ก็ต้อง ‘หน้างอ คอหัก’... ผิดจากนี้จะไม่ใช่ ชื่อเสียงแบบนี้ ก็ทำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำพา ‘ปลาทูแม่กลอง’ ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ด้วยแล้ว
วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตอกย้ำการขึ้นทะเบียน GI นอกจากได้ยกระดับสินค้าในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการควบคุมคุณภาพสินค้าเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดย ‘ปลาทูแม่กลอง’ ที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนล่าสุดนี้ จัดว่าเป็นสินค้า GI ลำดับที่ 4 ของจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อจาก “ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม-สิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม และพริกบางช้าง”

‘ปลาทูแม่กลอง’ เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน มีแหล่งอาศัยในบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเลบริเวณปากน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล ลักษณะดินเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำและตะกอนน้ำทะเล ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร ทำให้ปลาทูแม่กลองมีลำตัวกว้าง แบน สั้น ผิวหนังขาวเงินมันวาว มีแถบสีน้ำเงินแกมเขียวหรือแถบสีเหลือง ครีบหางสีเหลืองทอง มีเอกลักษณ์โดดเด่นทั้งด้านรสชาติและรูปร่าง โดยเนื้อปลาทูที่นึ่งแล้วจะมีความละเอียดนุ่ม เนื้อแน่น หอม และมันมาก เมื่อนำมาบรรจุลงในเข่งจะมีลักษณะ ‘หน้างอ คอหัก’
ด้วยลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้ปลาทูแม่กลองเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนมีคำกล่าวที่ว่า “ปลาทูแม่กลองของแท้ จะต้องหน้างอ คอหัก” บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากปลาทูบริเวณอื่นไปโดยปริยาย และหลายหน่วยงานได้นำเอกลักษณ์นี้มาใช้ในการจัดกิจกรรมงานประจำปี ‘เทศกาลกินปลาทูที่แม่กลอง’ ซึ่งจัดมาอย่างยาวนานถึง 24 ปี นับเป็นงานเทศกาลที่มีชื่อเสียง และได้รับการประชาสัมพันธ์จากภาคส่วนต่างๆ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนไปกว่า 12 ล้านบาท
ด้วยลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้ปลาทูแม่กลองเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนมีคำกล่าวที่ว่า “ปลาทูแม่กลองของแท้ จะต้องหน้างอ คอหัก” บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากปลาทูบริเวณอื่นไปโดยปริยาย และหลายหน่วยงานได้นำเอกลักษณ์นี้มาใช้ในการจัดกิจกรรมงานประจำปี ‘เทศกาลกินปลาทูที่แม่กลอง’ ซึ่งจัดมาอย่างยาวนานถึง 24 ปี นับเป็นงานเทศกาลที่มีชื่อเสียง และได้รับการประชาสัมพันธ์จากภาคส่วนต่างๆ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนไปกว่า 12 ล้านบาท