









ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยถึงการผนึกกำลังระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่า เป็นความร่วมมือว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ พร้อมร่วมกันตรวจสอบโรงงานต้องสงสัย ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ตลอดจนการกระทำอื่นที่มีความคาบเกี่ยวเชื่อมโยงกัน เพื่อนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษและชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อส่วนรวม
โดย ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงงานรวม 73,382 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่ดี สร้างการจ้างงาน เกิดการกระจายรายได้ต่อพื้นที่โดยรอบ และประกอบกิจการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเพียงส่วนน้อยที่ทำผิดกฎหมาย ลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม กลายเป็นผลกระทบทั้งกับชุมชนโดยรอบ สิ่งแวดล้อม และภาพลักษณ์ของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ
แต่ความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะสนับสนุนข้อมูลในการดำเนินคดีกับผู้ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม เช่น การระบุความเป็นอันตราย หรือความเป็นพิษ หรืออันตรายอื่นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน การตรวจวิเคราะห์กากอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่พบการลักลอบทิ้ง ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลโรงงาน การจัดการกากอุตสาหกรรม และการขนส่งกากอุตสาหกรรม ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้ดำเนินคดีอย่างทันท่วงที เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ‘MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน’ ที่มุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
กล่าวได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สะท้อนจาก GDP ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนกว่า 34% ของ GDP ประเทศไทย ในปี 2565 ซึ่งมีมูลค่ากว่า 17.4 ล้านล้านบาท
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการตรวจสอบพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทั่วไปที่มีเบาะแสหรือเป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม สืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินคดี เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้รับการลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนและขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล”
จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ใช้ระบบไอทีในการกำกับดูแลการกำจัดกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมอยู่เป็นระยะ ทั้งในพื้นที่เอกชน บ่อดินเก่า และที่รกร้างว่างเปล่า โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 78 ครั้ง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม ทั้งชุมชนโดยรอบ และห่วงโซ่อาหาร จากพื้นที่การเกษตรปนเปื้อนสารเคมีอันตราย
ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการป้องกันปราบปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ลดปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงงานรวม 73,382 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่ดี สร้างการจ้างงาน เกิดการกระจายรายได้ต่อพื้นที่โดยรอบ และประกอบกิจการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเพียงส่วนน้อยที่ทำผิดกฎหมาย ลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม กลายเป็นผลกระทบทั้งกับชุมชนโดยรอบ สิ่งแวดล้อม และภาพลักษณ์ของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ
แต่ความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะสนับสนุนข้อมูลในการดำเนินคดีกับผู้ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม เช่น การระบุความเป็นอันตราย หรือความเป็นพิษ หรืออันตรายอื่นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน การตรวจวิเคราะห์กากอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่พบการลักลอบทิ้ง ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลโรงงาน การจัดการกากอุตสาหกรรม และการขนส่งกากอุตสาหกรรม ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้ดำเนินคดีอย่างทันท่วงที เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ‘MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน’ ที่มุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
กล่าวได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สะท้อนจาก GDP ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนกว่า 34% ของ GDP ประเทศไทย ในปี 2565 ซึ่งมีมูลค่ากว่า 17.4 ล้านล้านบาท
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการตรวจสอบพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทั่วไปที่มีเบาะแสหรือเป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม สืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินคดี เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้รับการลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนและขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล”
จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ใช้ระบบไอทีในการกำกับดูแลการกำจัดกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมอยู่เป็นระยะ ทั้งในพื้นที่เอกชน บ่อดินเก่า และที่รกร้างว่างเปล่า โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 78 ครั้ง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม ทั้งชุมชนโดยรอบ และห่วงโซ่อาหาร จากพื้นที่การเกษตรปนเปื้อนสารเคมีอันตราย
ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการป้องกันปราบปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ลดปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ