การเข้ามาเป็นคณะกรรมการ กสทช. ของทั้ง 7 คน ที่ว่ายากลำบากแล้ว ยังไม่ได้ครึ่งของความยากที่กำลังเกิดขึ้นในระหว่างการทำหน้าที่คณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่ ที่ต้องมองผลลัพธ์ของการดูแลโครงสร้างหลักด้านโทรคมนาคมของประเทศ และปกป้องผู้บริโภค ที่ทุกคนเฝ้ารอดูอยู่ว่าทำได้มากน้อยเพียงใด
ถ้ากรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. คือองค์กรอิสระที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจกำหนดความเป็นไปของการเมืองไทย มีส่วนกำหนดโฉมหน้าของรัฐบาล กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. องค์กรอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการสื่อสารมวลชนและกิจการโทรคมนาคม ก็เป็นองค์กรที่มีอำนาจกำหนดความเป็นไปของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่รองรับกิจกรรมเศรษฐกิจของประเทศ
ความสำคัญของ กสทช. ทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อมีการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล การประมูลคลื่นความถี่ในยุค 5G การประมูลวิทยุดิจิทัล และการจัดสรรวงโคจรดาวเทียม เพราะไม่ใช่มูลค่าของดารประมูลแต่ละครั้งที่มากมายมหาศาล แต่ผลกระทบที่ตามมา ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ แม้ในวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2557 หนึ่งในคำสั่งสำคัญของคณะผู้เปลี่ยนแปลงคือการให้ กสทช.ที่ใกล้จะหมดวาระลง ทำหน้าที่ต่อไป จนกลายเป็น กสทช. ชุดที่ทำหน้าที่ยาวนานที่สุด
การสรรหา กสทช.ชุดใหม่ผ่อนเวลาเรื่อยมา จนในที่สุดได้ กสทช.ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย ส่วนผสมของผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายวงการ คือ
เมื่อดูจากโครงสร้างของกรรมการชุดนี้ เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนจากภาคส่วนสำคัญ แต่มาทำงานร่วมกันแล้ว กลับสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและความเห็นที่ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันนัก ตั้งแต่การรวมกิจการทรู -ดีแทค ที่ถึงแม้จะจ้างให้มีผู้ทำการศึกษาถึงผลกระทบ แต่กว่าจะได้ข้อสรุปถึงกับต้องลงมติหลายครั้งประชุมยาวนานกว่า 6 ชั่วโมง เผือกร้อนยังคงมีต่อมาด้วยการถ่ายทอดฟุตบอลโลกที่มีปัญหาขอสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์จาก กสทช. จนนำไปสู่การเรียกเงินคืน เมื่อบอร์ดเห็นว่ามีการใช้เงินไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ เรื่องขอเงินคืนกระทบถึงรักษาการณ์ เลขาธิการ กสทช. และยังไม่ได้ข้อสรุป
ล่าสุด ที่การสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช.ที่ประธาน มีความเห็นว่าเป็นอำนาจของประธานจะเป็นผู้เสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งเลขาธิการ และเปิดให้ผู้มีคุณสมบัติสมัครเข้ารับการสรรหา เป็นการเปิดรับสมัครที่ต้องขยายเวลาเพราะมีผู้มาสมัครน้อยเกินไป ทั้งที่ตำแหน่งพ่อบ้าน กสทช. เต็มไปด้วยอำนาจและความสำคัญต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม คนในภาคเอกชนและภาครัฐล้วนให้ความเกรงใจ ความเห็นของบอร์ดต่อการสรรหา เลขาธิการกสทช. แสดงให้เห็นถึงมุมมองที่ไม่ตรงกันอีกครั้ง
หลังปิดรับสมัครโดยมีผู้สมัครเข้ารับการสรรหา 9 คน ประธานได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ โดยของให้บอร์ดแต่ละคนส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการ แต่มีบอร์ดบางส่วนไม่ส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการ สะท้อนให้เห็นว่า บอร์ดบางท่านไม่เห็นด้วยกับกระบวนการสรรหา
เรื่องสรรหาเลขาธิการ กสทช.ยังไม่จบ ก็ยังมีเรื่องที่ล่าสุด ประชุมบอร์ด กสทช.วุ่น ต้องยกเลิกการประชุมกะทันหัน เนื่องจากประธานบอร์ดป่วยกระทันหัน โดยมี 4 ใน 7 บอร์ด กสทช. เข้าประชุมเก้อ และวาระค้างพิจารณาที่เกี่ยวกับคดีฟ้องร้องที่ กสทช. ต้องพิจารณาคำต่อสู้คดี มีวาระที่กระทบต่อผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ ที่เสนอโดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อย่างน้อย 7 วาระ วาระที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม จำนวน 2 วาระ การพิจารณาเรื่องร้องเรียนการออกอากาศรายการโทรทัศน์อย่างน้อย 7 วาระ บางเรื่องค้างพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง และเรื่องเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าปรับทางปกครองกรณีผู้ประกอบกิจการฝ่าฝืนประกาศการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ฯลฯ
การมีความเห็นที่ไม่ตรงกันจนมีข่าวออกมาทางสื่อมวลชน ทำให้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า กรรมการกสทช.ชุดนี้เหมือนจะไม่มีเอกภาพ หรือมีการแบ่งเป็นฝั่งฝ่าย ที่เห็นไปคนละแบบ จริงอยู่ในสังคมประชาธิปไตย การมีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นเรื่องดีและเป็นปกติ แต่การเป็นผู้กำหนดทิศทางของธุรกิจ อุตสาหกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ความชัดเจนและทิศทางที่มั่นคง เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเฝ้ารออยากเห็น และแอบกังวลเมื่อมีกระแสข่าวชวนสงสัยออกมา
ที่ตั้งของสำนักงาน กสทช. ปัจจุบันอยู่ที่ซอยพหลโยธิน ซอย 8 รู้จักกันดีในชื่อซอยสายลม เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะอยู่ในย่านสงบกลางเมืองกรุงเทพฯ คนในย่านนี้อยู่กันอย่างสงบ ไม่ค่อยยุ่งกับใคร
ซอยสายลมมีพื้นที่สีเขียว ที่เวลาเกิดฝนตกและลมพัดแรงจะได้ยินเสียงลมหวีดหวิวเสมอๆ
ดูเหมือนช่วงนี้ เสียงลมที่สำนักงาน กสทช.จะดังผิดปกติ
ดังนานกังวานแม้ฝนไม่ได้ตั้งเค้า!!!
ถ้ากรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. คือองค์กรอิสระที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจกำหนดความเป็นไปของการเมืองไทย มีส่วนกำหนดโฉมหน้าของรัฐบาล กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. องค์กรอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการสื่อสารมวลชนและกิจการโทรคมนาคม ก็เป็นองค์กรที่มีอำนาจกำหนดความเป็นไปของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่รองรับกิจกรรมเศรษฐกิจของประเทศ
ความสำคัญของ กสทช. ทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อมีการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล การประมูลคลื่นความถี่ในยุค 5G การประมูลวิทยุดิจิทัล และการจัดสรรวงโคจรดาวเทียม เพราะไม่ใช่มูลค่าของดารประมูลแต่ละครั้งที่มากมายมหาศาล แต่ผลกระทบที่ตามมา ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ แม้ในวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2557 หนึ่งในคำสั่งสำคัญของคณะผู้เปลี่ยนแปลงคือการให้ กสทช.ที่ใกล้จะหมดวาระลง ทำหน้าที่ต่อไป จนกลายเป็น กสทช. ชุดที่ทำหน้าที่ยาวนานที่สุด
การสรรหา กสทช.ชุดใหม่ผ่อนเวลาเรื่อยมา จนในที่สุดได้ กสทช.ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย ส่วนผสมของผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายวงการ คือ
- ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช.
- พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ อดีตรองเลขาธิการ กสทช.
- ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ต่อพงศ์ เสลานนท์ ตัวแทนจากภาคประชาชน รองศาสตราจารย์
- ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีประสบการณ์สูง
- พลตำรวจเอก ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร
- รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ จากภาควิชาการ
เมื่อดูจากโครงสร้างของกรรมการชุดนี้ เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนจากภาคส่วนสำคัญ แต่มาทำงานร่วมกันแล้ว กลับสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและความเห็นที่ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันนัก ตั้งแต่การรวมกิจการทรู -ดีแทค ที่ถึงแม้จะจ้างให้มีผู้ทำการศึกษาถึงผลกระทบ แต่กว่าจะได้ข้อสรุปถึงกับต้องลงมติหลายครั้งประชุมยาวนานกว่า 6 ชั่วโมง เผือกร้อนยังคงมีต่อมาด้วยการถ่ายทอดฟุตบอลโลกที่มีปัญหาขอสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์จาก กสทช. จนนำไปสู่การเรียกเงินคืน เมื่อบอร์ดเห็นว่ามีการใช้เงินไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ เรื่องขอเงินคืนกระทบถึงรักษาการณ์ เลขาธิการ กสทช. และยังไม่ได้ข้อสรุป
ล่าสุด ที่การสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช.ที่ประธาน มีความเห็นว่าเป็นอำนาจของประธานจะเป็นผู้เสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งเลขาธิการ และเปิดให้ผู้มีคุณสมบัติสมัครเข้ารับการสรรหา เป็นการเปิดรับสมัครที่ต้องขยายเวลาเพราะมีผู้มาสมัครน้อยเกินไป ทั้งที่ตำแหน่งพ่อบ้าน กสทช. เต็มไปด้วยอำนาจและความสำคัญต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม คนในภาคเอกชนและภาครัฐล้วนให้ความเกรงใจ ความเห็นของบอร์ดต่อการสรรหา เลขาธิการกสทช. แสดงให้เห็นถึงมุมมองที่ไม่ตรงกันอีกครั้ง
หลังปิดรับสมัครโดยมีผู้สมัครเข้ารับการสรรหา 9 คน ประธานได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ โดยของให้บอร์ดแต่ละคนส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการ แต่มีบอร์ดบางส่วนไม่ส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการ สะท้อนให้เห็นว่า บอร์ดบางท่านไม่เห็นด้วยกับกระบวนการสรรหา
เรื่องสรรหาเลขาธิการ กสทช.ยังไม่จบ ก็ยังมีเรื่องที่ล่าสุด ประชุมบอร์ด กสทช.วุ่น ต้องยกเลิกการประชุมกะทันหัน เนื่องจากประธานบอร์ดป่วยกระทันหัน โดยมี 4 ใน 7 บอร์ด กสทช. เข้าประชุมเก้อ และวาระค้างพิจารณาที่เกี่ยวกับคดีฟ้องร้องที่ กสทช. ต้องพิจารณาคำต่อสู้คดี มีวาระที่กระทบต่อผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ ที่เสนอโดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อย่างน้อย 7 วาระ วาระที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม จำนวน 2 วาระ การพิจารณาเรื่องร้องเรียนการออกอากาศรายการโทรทัศน์อย่างน้อย 7 วาระ บางเรื่องค้างพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง และเรื่องเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าปรับทางปกครองกรณีผู้ประกอบกิจการฝ่าฝืนประกาศการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ฯลฯ
การมีความเห็นที่ไม่ตรงกันจนมีข่าวออกมาทางสื่อมวลชน ทำให้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า กรรมการกสทช.ชุดนี้เหมือนจะไม่มีเอกภาพ หรือมีการแบ่งเป็นฝั่งฝ่าย ที่เห็นไปคนละแบบ จริงอยู่ในสังคมประชาธิปไตย การมีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นเรื่องดีและเป็นปกติ แต่การเป็นผู้กำหนดทิศทางของธุรกิจ อุตสาหกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ความชัดเจนและทิศทางที่มั่นคง เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเฝ้ารออยากเห็น และแอบกังวลเมื่อมีกระแสข่าวชวนสงสัยออกมา
ที่ตั้งของสำนักงาน กสทช. ปัจจุบันอยู่ที่ซอยพหลโยธิน ซอย 8 รู้จักกันดีในชื่อซอยสายลม เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะอยู่ในย่านสงบกลางเมืองกรุงเทพฯ คนในย่านนี้อยู่กันอย่างสงบ ไม่ค่อยยุ่งกับใคร
ซอยสายลมมีพื้นที่สีเขียว ที่เวลาเกิดฝนตกและลมพัดแรงจะได้ยินเสียงลมหวีดหวิวเสมอๆ
ดูเหมือนช่วงนี้ เสียงลมที่สำนักงาน กสทช.จะดังผิดปกติ
ดังนานกังวานแม้ฝนไม่ได้ตั้งเค้า!!!
