กสทช. แต่งตั้ง ‘หญิงแย้’ เป็นอนุกรรมการฯ เธอมาทำหน้าที่อะไร?

5 ก.พ. 2566 - 03:46

  • ‘หญิงแย้’ หรือ นนทพร ธีระวัฒนสุข ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล กสทช.

  • ถือเป็นครั้งแรกที่ ‘อินฟลูเอนเซอร์’ เข้ามามีส่วนร่วมกับ กสทช. ในฐานะอนุกรรมการ

  • ศึกษาผลกระทบแพลตฟอร์มดิจิทัล เสนอแนะ ให้คำปรึกษา มองไปข้างหน้า คือหน้าที่ของอนุกรรมการ

NBTC-nominate-yingyae-SPACEBAR-Hero
หลังมีข่าว กสทช.ออกคำสั่งแต่งตั้ง นนทพร ธีระวัฒนสุข หรือ ‘หญิงแย้’ เป็นอนุกรรมการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล กสทช. เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 กุมภาพันธ์) 

คนบางส่วนในโซเชียลมีเดียตั้งคำถามถึงความเหมาะสม ทำไมต้องหญิงแย้ ทั้งที่มีอินฟลูเอนเซอร์หลายคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะกว่า 

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในฐานะอนุกรรมการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล กสทช. หญิงแย้เข้าไปทำอะไร? 

ที่มาและหน้าที่ของอนุกรรมการฯ กสทช. 

อนุกรรมการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล กสทช. มีหน้าที่ในการศึกษาผลกระทบของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อเทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ Boardcast  โดยอนุกรรมการมีหน้าที่เสนอแนะและให้คำปรึกษาแนวทางกำกับดูแลและการส่งเสริม มองไปข้างหน้า ในฐานะส่วนหนึ่งของระบบนิเวศสื่อ 

โดยอนุกรรมการมีที่มาหลากหลายทั้งนักกฎหมาย นักวิชาการด้านสื่อ นักวิชาการด้านโทรคมนาคม นักวิชาการด้านกระจายเสียงแพร่ภาพ 

ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีตัวแทนจากภาคส่วนที่เป็น ‘เน็ตไอดอล’ หรืออินฟูลเอนเซอร์เข้ามามีส่วนในการเป็นอนุกรรมการ 

กรอบการทำงานของอนุกรรมการฯ กสทช. 

  1. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งที่เอื้ออำนวยและเป็นอุปสรรคสำหรับการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการเนื้อหาประเภทโสตทัศน์และบริการการสื่อสาร  
  2. รวบรวมสรุปรูปแบบการประกอบกิจการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการเนื้อหาประเภทโสตทัศน์ และการสื่อสาร ซึ่งมีการขออนุญาตจาก กสทช. โดยแยกประเภทเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมแบบที่ 1, 2 หรือ 3 ผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แบบได้รับการจัดสรรคลื่น หรือแบบไม่ใช้คลื่นความถี่ เป็นต้น 
  3. วิเคราะห์ SWOT ของกิจการที่รับใบอนุญาตแบบ IPTV ที่ประกอบกิจการในลักษณะเหมือน OTT, การย้ายฐานสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล (การมีโครงข่ายในการประกอบกิจการส่งเนื้อหาสู่ผู้ใช้ปลายทาง) ของผู้ประกอบการรายเดิมมีปัญหา อุปสรรค และโอกาสอย่างไรบ้าง ด้วยประสบการณ์ของประเทศที่ Broadcasters ได้ migrate สู่ digital platform ไปแล้ว ได้มีนโยบายต่อการส่งเสริมเนื้อหาประเภทข่าวสารความรู้สำหรับสาธารณะอย่างไรบ้าง 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์