กสทช. ถอดบทเรียน คอนเทนท์เกาหลีในสมรภูมิสตรีมมิ่ง

21 ม.ค. 2566 - 10:22

  • สื่อเกาหลี ชี้ ตัวเปลี่ยนเกมเทคโนโลยีสื่อคือการมาถึงของบริการสตรีมมิ่ง ผสมโควิด-19 ที่สร้างความนิยมล้น

  • คาดการณ์ ภายในปี 2025 จะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้น อีก 81%

NBTC-seminar-Streaming-changing-Korean-south-content-SPACEBAR-Thumbnail
การเสวนาหัวข้อ “Korean Media Landscape and the Opportunities for Thai-Korean Co-production...ภูมิทัศน์สื่อเกาหลี และโอกาสในการร่วมผลิตเนื้อหาไทย-เกาหลี” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  
 
พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. เผย ถือเป็นโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือในการผลิตคอนเทนท์ ของผู้ประกอบการไทย โดยประเด็นที่น่าสนใจ คือสถานการณ์การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตคอนเทนท์เกาหลี กับบริการ OTT (Over-the-Top platforms) หรือบริการสตรีมมิ่งเจ้าใหญ่ บทเรียนนี้น่าจะใช้กับตลาดคอนเทนท์ของไทยได้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6ekzhllID2UryFeE6pogpG/850e5bb7eacd6f9c3830add66fb05f62/NBTC-seminar-Streaming-changing-Korean-south-content-SPACEBAR-Photo02
Dr. Seongcheol Kim อาจารย์ด้านโฆษณาและสื่อสารมวลชนจาก Korea university เผยเคล็ดลับการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเรื่องด้านการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ Soft power หรือ Korean wave (เกาหลีใต้เรียก Hallyou) ประสบความสำเร็จ โดยโชว์ตัวเลขอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ ปี 2021 สร้างรายได้เป็นเงินมากถึง 12,400 ล้านเหรียญดอลลาร์ 
 

ปัจจัยหนุน Soft Power อุตสาหกรรมบันเทิงเติบโตสูง  

กล่าวได้ว่า การเติบโตของ Soft Power เกาหลีใต้ มีปัจจัยหนุน ต่อไปนี้ 
- เกาหลีใต้มีระบบสัญญาณ 5G เป็นที่แรกของโลก  
- คนใช้สมาร์ทโฟนของ Samsung มากกว่า iPhone ของ Apple  
- ในปี 2022 ในเกาหลีใต้คนใช้ Search engine ชื่อ Naver มากกว่า Google ที่โลกใช้กัน  
- คนเกาหลีใต้ ‘ไม่ใช้’ เทคโนโลยีต่างชาติ ใช้แอพพลิเคชันแชตพูดคุย Kakao Talk ถึงกว่า 95% (Facebook Messenger กับ LINE รวมกัน ไม่ถึง 5%) 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1hZFzSptE4sIHtSmGplNL8/ee760cc79fbb21a02c4a54fc4d1762cc/NBTC-seminar-Streaming-changing-Korean-south-content-SPACEBAR-Photo01
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเปลี่ยนเกมที่ทำให้คนในวงการเทคโนโลยีสื่อของเกาหลีรู้สึกพ่ายแพ้ครั้งแรก คือการมาถึงของบริการสตรีมมิ่งผสมกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สื่อบางประเภทลดความนิยมลงฮวบฮาบเช่นเดียวกับทั่วโลก ตั้งแต่โรงภาพยนตร์ที่เปิดฉายไม่ได้ ความนิยมของรายการโทรทัศน์ทั้งช่องหลักและเคเบิ้ลก็ร่วงหล่น สวนทางกับตลาด IPTV (Internet protocol television) หรือการดูทีวีผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งในเกาหลีเป็นคนละระบบจากการดูทีวีผ่านเสาสัญญาณและสัญญาณเคเบิ้ล นอกจากนี้ ยอดการสมัครสมาชิก OTT (Over-the-Top platforms) หรือบริการสตรีมมิ่งในเกาหลีใต้ก็ได้รับความนิยมล้นหลาม มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้น 81% ภายในปี 2025 
 
Dr. Kim เชื่อว่า Netflix เปลี่ยนแปลง Value chain การผลิตและขายคอนเทนต์ในอุตสาหกรรมคอนเทนต์เกาหลี จากเมื่อก่อนผู้ผลิตจะลงทุนสร้างหนังหรือซีรีส์ เพื่อขายเข้าสถานีโทรทัศน์หรือโรงภาพยนตร์ภายในประเทศและมีฝ่ายขายต่างประเทศนำคอนเทนต์ไปขายตามตลาดต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แต่ Netflix ได้เข้ามา ‘รวบตึง-ตัดตอน’ การขายทั้งในและต่างประเทศมาไว้ที่ตัวเองแต่เพียงผู้เดียวผู้ผลิตคอนเทนต์จำนวนมากในเกาหลีใต้หันไปรับจ้างผลิตคอนเทนต์ให้ Netflix ด้วยเหตุผลของ ทุนสร้างและเปิดโอกาสให้ทำงานได้หลากหลายสไตล์ มีทีมงานคอนเทนต์ระดับโลกคอยหนุนหลัง แถมยังมีโอกาสได้ขายฝีมือให้กับผู้ชมทั่วโลกได้รู้จักตัวเอง 
 
Dr. Kim มองว่า คนอาจจะเห็นว่าวัฒนธรรมเกาหลีใต้ที่เป็น Soft power จะขายดีในระดับโลก แต่ทรัพย์สินทางปัญญาและอำนาจต่อรองในการสร้างคอนเทนท์ทั้งหมด ตกอยู่ในมือเจ้าของ Platform ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ-ชาวตะวันตก 
 
โดยผู้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมผลิตสื่อของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน มองว่า ตัวเองเสียดุล เสียอำนาจ หรือเสียอธิปไตยบนสมรภูมิการแข่งขันในตลาดคอนเทนท์ให้สื่อข้ามชาติ การแข่งขันในวันที่โลกไร้พรมแดนอาจไม่มีความหมาย คนรุ่นใหม่แทบจะไม่มองว่าเป็นประชากรของประเทศใด แต่เป็นประชากรโลกที่อยู่บนโลกออนไลน์มากกว่าโลกทางกายภาพ แต่ไม่แน่ว่า ในอนาคตอันใกล้เราอาจเห็นสตรีมมิ่งของเกาหลีใต้ยี่ห้อใหม่ขึ้นมา และหนัง-ซีรีส์เกาหลีอพยพย้ายตัวออกจาก Netflix จนหมดแผงก็เป็นได้ 
 
การต่อสู้ในสงครามธุรกิจสื่อข้ามชาติครั้งนี้ ยักษ์ใหญ่อย่างบริษัท CJ ENM เจ้าของ OTT Platforms ของเกาหลีใต้ชื่อ ‘Tving’ เลยร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม KT เจ้าของช่อง ‘Seezn’ เพื่อสร้างบริการสตรีมมิ่งของประเทศขึ้นมาเอง เพื่อสู้กับ Netflix และอีกหลายๆ เจ้าที่ดาหน้ายกทัพมาบุกกำแพงเมืองวังโชซอน แต่อาจมองได้ว่าแผนการต่อสู้ในสงครามสตรีมมิ่งระดับโลก ณ ตอนนี้ ยังห่างไกลจากความชัดเจน แค่เอาชนะศึกในประเทศตัวเองก็ยังยาก แค่นั้นยังไม่พอ ยอดขุนผลในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ของเกาหลีใต้ อย่างเช่น บงจุนโฮ ผู้กำกับ Parasite ก็ยังเดินหน้าทำคอนเทนต์ป้อนฮอลลีวูดและบริการสตรีมมิ่งที่ไม่ใช่ของเกาหลีใต้อยู่ในตอนนี้

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์