AI ช่วยแพทย์ทำงาน ชี้ เก่งวินิจฉัย เร็ว แม่นยำ

15 ก.ค. 2566 - 06:33

  • มองล้ำ ปัญญาประดิษฐ์-คำตอบของเทคโนโลยี ยกระดับการทำงานให้บุคลากรการแพทย์

  • ฟิลิปส์ ชี้ ตอบโจทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยในไทยทั้งวันนี้ และอนาคต

  • พร้อม โชว์ศักยภาพเครื่องมือด้านรังสีวิทยา ช่วยทั้งแพทย์-คนไข้-โรงพยาบาล ลดต้นทุน

Philips-Thailand-AI-medical-mri-ct-ultra-sound-public-health-SPACEBAR-Hero
ยุคที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย ‘วงการแพทย์’ ถือเป็นหนึ่งในวงการที่เห็นชัดถึงการใช้ประสิทธิภาพของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กล่าวได้ว่า เข้ามาปลดล็อค ในท่ามกลางหลากปัญหาก่อนหน้าที่ใครๆ ก็รู้ดี ทั้งกรณี คนไข้ล้นโรงพยาบาล เทียบเคียงจำนวนแพทย์ที่น้อย ผลที่ตามมาคือ ยังตอบโจทย์ระบบสาธารณสุขไม่ดีพอ ความเป็นไปได้ มีแค่คำจำกัดความว่า เป็นไปได้เท่าที่เวลาและศักยภาพมนุษย์จะเอื้ออำนวย  

แต่ในเมื่อมีเทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นมือที่สาม สี่ ห้า และเป็นอีกสมอง (กล) นั่นหมายความว่า ประสิทธิภาพ ณ จุดนั้นๆ จะเพิ่มขึ้นทันตาเห็น ปัญหาที่มีก็ค่อยๆ คลายลง เช่น รักษาคนไข้ได้มากขึ้น แพทย์วินิจฉัยแม่นยำขึ้น จากเทคโนโลยีช่วยวิเคราะห์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา 

วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เผยศักยภาพเทคโนโลยี AI ช่วยบริหารจัดการโรคให้ดีขึ้น การตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะช่วยลดแรงกดดันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และมีการบริหารจัดการผู้ป่วยที่ดีขึ้น สอดคล้องกับฟิลิปส์ ที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพเครื่องมือแพทย์ ยกตัวอย่าง งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านรังสีวิทยา European Congress of Radiology (ECR) ที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความก้าวล้ำ โดย ฟิลิปส์เอง ได้นำเสนอโซลูชั่นที่มีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบูรณาการเครื่องมือแพทย์สำหรับการตรวจวินิจฉัย อาทิ เครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เครื่องเอ็กซเรย์และเครื่องอัลตร้าซาวนด์ โดยชี้...
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/VEkEh2a0Mf6pqS4zKyGZf/043e89ab36b2a144a9e510c0e8e7bf10/Philips-Thailand-AI-medical-mri-ct-ultra-sound-public-health-SPACEBAR-Photo03
- เครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่มีเทคโนโลยี AI ทำให้การสแกนภาพเร็วขึ้นถึง 3 เท่าจากระยะเวลาเดิม จึงช่วยประหยัดเวลาในการตรวจวินิจฉัย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายในการตรวจแต่ละครั้งได้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยในท้ายที่สุด  

- การใช้เทคโนโลยี AI ในระบบอัลตร้าซาวนด์ ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ลดขั้นตอนการทำซ้ำๆ หากลองจินตนาการว่ากระบวนการตรวจโดยปกติใช้ประมาณ 30 นาที แต่เมื่อมีเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย ทำให้เหลือเวลาตรวจเพียงแค่ 10 นาที นั่นหมายถึงว่าเราสามารถประหยัดเวลาได้ถึง 20 นาที ผู้ป่วยจึงได้รับการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการรอรับการรักษา ส่งผลให้สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในแต่ละวันได้มากขึ้น 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/51vWgwijCULMG44EAvfNAH/944ba4fa4ddc2094b117e515633da9bc/Philips-Thailand-AI-medical-mri-ct-ultra-sound-public-health-SPACEBAR-Photo02
นอกจากนี้ ฟิลิปส์ ยังได้พัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มความเร็วในการสแกนและพัฒนาการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อลดระยะเวลาการสแกนให้น้อยกว่า 5 นาที แต่ยังคงได้ภาพจากการสแกนที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ป่วยหรืออวัยวะภายในจะมีการขยับก็ตาม แต่ยังให้ภาพตรวจที่ได้ มีความชัดเจนมากขึ้น โดยการบูรณาการในครั้งนี้ ได้มีการแสดงผลลัพธ์ที่โดดเด่นให้กับโรงพยาบาลทั่วโลกแล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นผล ภายใต้ความร่วมมือของฟิลิปส์กับ Leiden University Medical Center ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ นั่นเอง 

AI ตัวช่วยระบบสาธารณสุขสีเขียว ‘ในไทย’ 

ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย ในท่ามกลางปัญหาระบบสาธารณสุข ภาพใหญ่ที่เห็นมี 2 ปัญหาใหญ่ คือ ระยะเวลารอรับการรักษาที่ยาวนาน และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ยิ่งอยู่ในยุคที่ต้องเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จนถึงขณะนี้ก็ยังคงมีอยู่ และอีกด้านยังมีอัตราการเจ็บป่วยที่ยังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สิ่งต่างๆ เหล่านี้ AI ยิ่งต้องเข้ามามีบทบาทในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและการวิเคราะห์แนวโน้มล่วงหน้า 

ซึ่งเทคโนโลยี AI สามารถทำได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกระบวนการทำงานในระยะไกล ที่มีผลดีไม่เพียงแง่การรักษา แต่ยังสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการช่วยขยายอายุการใช้งานให้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยลดการทิ้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เสียให้น้อยลง เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสะอาด ซึ่งช่วยสร้างสุขภาพที่ดี และอาจลดผลกระทบรวมถึงความรุนแรงของโรคที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศได้ เป็นต้น 

AI กับสังคมไทยแห่งอนาคต 

อนาคต AI ยังจะมาเป็นตัวช่วยมนุษย์ ด้านการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และการติดตามอาการแบบออนไลน์หรือ virtual care โดยให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถติดตามอาการและดูแลผู้ป่วยระยะไกลได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์ได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเดินทางด้วย  

AI ช่วยแพทย์ ‘ทิ้ง’ ภาวะหมดไฟอำลาวงการ 

วิโรจน์ ทิ้งท้าย AI ช่วยแก้ปัญหา ‘ภาวะหมดไฟ’ ให้บุคลากรทางการแพทย์ โดยการช่วยแบ่งเบาภาระงานดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะส่งผลให้ความพึงพอใจและมีอัตราการคงอยู่ในวงการแพทย์เพิ่มขึ้น เทคโนโลยี AI ยังสามารถจัดการกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องใช้กำลังคนมาก ให้เป็นการทำงานโดยอัตโนมัติและยังมีส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของบุคลากรทางการแพทย์ด้วย  

ทั้งหมดนี้จะช่วยลดเวลาในการทำงานและลดแรงกดดันให้กับบุคลากร เมื่อภาระงานอื่นๆ ลดลงบุคลากรทางการแพทย์ก็จะมีเวลาในการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น ดังนั้นการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยี AI จึงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษา สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ป่วย และให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพโดยรวมที่ดีได้ 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์