ประมูลดาวเทียม เสี่ยงเสียสิทธิคนทำจริง เสนอแนวทาง ‘ไม่ต้องประมูล’

20 ธ.ค. 2565 - 10:33

  • คณะกรรมการฯ อวกาศ ชี้การส่งเสริมธุรกิจอวกาศให้เติบโต อาจต้อง ‘ไม่มีการประมูล’ แต่ให้สิทธิคนทำจริงหนุนผู้ประกอบการไทย

  • มองการประมูลฯ ทำเกิดต้นทุนไม่จำเป็น นอกจากแพงไปแล้วยังเสี่ยงเสียสิทธิ ‘คนทำจริง’

Space-Policy-Committee-Satellite-bidding-expensive-SPACEBAR-Thumbnail
นับถอยหลังการประมูลวงโคจรดาวเทียมที่จะเกิดขึ้นต้นเดือนมกราคม 2566 ชุดวงโคจรทั้ง 5 ชุด รวมมูลค่าถ้าประมูลออกไปทั้งหมดกว่า 1,328 ล้านบาท ไม่ง่ายเลยที่ทุกชุดจะได้รับความสนใจทั้งหมด อุปสรรคประการสำคัญ นอกจากความน่าสนใจของชุดวงโคจร คือ ราคา ที่ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมองว่า ราคาแพงเกินไปและจะกลายเป็นอุปสรรคต่อความสนใจ เพราะมองว่าจะเป็นต้นทุนที่เพิ่ม ในการให้บริการดาวเทียม 

ร้อยโทเจษฎา ศิวรักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสื่อสาร คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ให้ความเห็นถึงการจัดประมูลวงโคจรดาวเทียมในเดือนมกราคม 2566 ว่า กิจการดาวเทียมควรมองว่าไม่ใช่กิจการเฉพาะภายในประเทศ แต่เป็นกิจการที่ให้บริการระดับภูมิภาค และระดับโลก หลักการที่ยอมรับในระดับสากล คือ ดาวเทียม ไม่ควรเป็นสมบัติเฉพาะของชาติ คือ ไม่ใช่ทรัพยากรของชาติใดชาติหนึ่ง ดังนั้น การสนับสนุนผู้ประกอบการดาวเทียมในประเทศไทยให้เป็นผู้ให้บริการดาวเทียมได้ จึงควรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงวงโคจรได้ง่ายที่สุด เพื่อนำวงโคจรดาวเทียมมาบริหารและให้บริการ 

ธุรกิจดาวเทียมเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูงมาก หากยังต้องมีการประมูลวงโคจรดาวเทียมด้วยเม็ดเงินสูงๆ ยิ่งเท่ากับเป็นการทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศมีต้นทุนสูง ทำธุรกิจได้ลำบาก นักลงทุนต่างประเทศก็จะให้ความสนใจน้อย 

“การประมูลทำให้เกิดต้นทุนโดยไม่จำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนในการแข่งขันกับต่างชาติ การประมูลไม่ใช่หลักการที่ถูกต้อง cost ในการ Regulation สูง มันก็ไม่ดึงดูดใจ”  

การกำหนดเงื่อนไขในการประมูลดาวเทียมล่าสุด ยังเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ประกอบการ และหารเมื่อเปิดประมูลแล้วมีคนเข้าประมูลน้อย หรือไม่เข้าเลยอาจทำให้จัดสรรวงโคจรออกไปไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่จะถูกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (Internal Telecommunications Union :ITU) เรียกคือสิทธิในการใช้วงโคจร  

“ประเทศไทยจัดสรรวงโคจรดาวเทียมได้ล่าช้ามาก จนตอนนี้มีความเสี่ยงที่จะมีวงโคจรดาวเทียม หนึ่งวงที่จะถูกไอทียูเรียกคืนสิทธิ ถ้ายิ่งจัดสรรวงโคจรล่าช้าออกไปอีก็ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมาก เพราะหากถูกเรียกคืนสิทธิไปแล้วจะเรียกกลับคืนมาจะยิ่งยากมากต้นทุนเวลาและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องไปเจรจาเพื่อได้วงโคจรกลับมายื่งจะสูงขึ้นอีก ด้วยกฎหมายที่เขียนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงจึงทำให้เกิดปัญหา ถ้าเขียนกฎหมายแบบนี้แล้วไม่มีคนเข้าประมูลและเสียสิทธิวงโคจรดาวเทียม เมื่อเราบอกว่าวงโคจรดาวเทียมเป็นสมบัติชาติ แล้วไม่มีคนเข้าประมูลทำให้เสียสมบัติชาติใครจะรับผิดชอบ” 

วิธีที่ดีที่สุดในการใช้วงโคจรคือ First Come First Serve ใครอยากใช้วงโคจรให้ไปแจ้งกับ กสทช. เพื่อประสานแจ้งไปที่ไอทียู ผู้ให้บริการเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการติดต่อ ในหนึ่งวงโคจรไม่ใช่จะมีดาวเทียมด้วยเดียว แต่มีได้หลายดวงได้ ถ้าเราต้องการสนับสนุนให้กิจการอวกาศเราเติบโตเราต้องสนับสนุนผู้ประกอบการของไทยให้ทำผู้ประกอบการทำธุรกิจได้ ในต่างประเทศส่วนใหญ่ใช้วิธีจัดสรรวงโคจรด้วยการประมูลน้อยมาก 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3wGJmVMJAarsETbfyNZ5rb/37405c30c740699c06a00610e10946de/Space-Policy-Committee-Satellite-bidding-expensive-SPACEBAR-Photo01

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์