เชนร้านกาแฟแบรนด์ไทย ระอุ ศึกแบรนด์ใหญ่ชนรายย่อย ‘ใครได้-ใครเสีย’ (ประโยชน์)

16 พ.ย. 2565 - 09:06

  • ตลาดกาแฟไทย ยังไปต่อ ทำกาแฟแบรนด์ปั๊ม ปรับกลยุทธ์รุกภูธร ร้อนเจ้าพ่ออสังหาฯ ทิ้งประเด็นชวนคิด รุกแดนรายย่อย ‘สร้าง-ทำลายโอกาส’

  • ด้าน โออาร์ ตอกย้ำ กลยุทธ์ธุรกิจช่วยสังคม สร้างอาชีพ ล่าสุดร่วมมือ พม.ช่วยกลุ่มเปราะบางมีงานทำ

Srettha-Thavisin-brand-coffee-gas-station-OR-BCP-PT-small-coffee-SPACEBAR-Main
เป็นประเด็นร้อนรับต้นเดือนตุลาคม 2565 หลังเจ้าพ่ออสังหาฯ นามว่า เศรษฐา ทวีสิน พบเห็นประเด็นข่าว ‘กาแฟปั๊มแบรนด์ใหญ่ทุ่มหลักหมื่นล้าน รุกคืบขยายสาขา ด้วยตัวเลขหลักพันแห่งออกต่างจังหวัด’ นั่นเท่ากับเป็นการ ‘รุกแดนรายย่อย’ ทำเจ็บร้าวเข้าหัวใจ ด้วยเพราะมีความเห็นใจร้านกาแฟรายย่อย-รายจิ๊บจ้อย ที่ปกติก็ขยับลำบาก จะลงทุนทำธุรกิจเพิ่มก็ขาดเงิน วาดภาพอนาคตหากร้านกาแฟมาถูกแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่แต่เดิมก็น้อยอยู่แล้ว ไหนเลยลมหายใจที่มีน้อยนิด จะไม่สิ้นแรงลงไป จะช่วยต่อลมหายใจพวกเขาเหล่านั้นได้? แล้วชะตากรรมนับจากนี้ ร้านกาแฟเล็กๆ จะเป็นอย่างไร

เศรษฐา ไม่รอช้า ขึ้นทวีตสะกิดใจเมื่อ 2 ตุลาคม 65 เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากชาวโซเชียล ไม่น้อย
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3hX9VffhwYk5hYGlRb2byB/30cb34b37dce7080c62f98943de4574d/Srettha-Thavisin-brand-coffee-gas-station-OR-BCP-PT-small-coffee-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6Z3Zcr3yso4OVBEvX2rJlG/e7a0e6b9779c503fcf7284afedd253dd/Srettha-Thavisin-brand-coffee-gas-station-OR-BCP-PT-small-coffee-SPACEBAR-Photo02
แน่นอน ไม่รอดสายตากาแฟแบรนด์ยักษ์ที่ถูกกล่าวถึง เร่งอธิบายโดยพลัน

โดย ‘โออาร์’ ตอกย้ำ ดำเนินธุรกิจกาแฟ ร้าน Café Amazon ยึดหลัก ‘สร้างคุณค่าและเติบโตคู่ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ทางธุรกิจ’

สมยศ คงประเวช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจไลฟ์สไตล์ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก เผย นอกเหนือไปจากการดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยได้เป็นเจ้าของร้าน Café Amazon ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 เพื่อช่วยส่งเสริมและสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเติบโตพร้อมโออาร์แล้ว โออาร์ยังตระหนักถึงพลังของการดำเนินงานธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่นำจุดแข็งของธุรกิจมาช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน

โดยล่าสุด โออาร์ ยังร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมฝึกทักษะให้กลุ่มผู้เปราะบาง ส่งเสริมการมีอาชีพทำกิน และจ้างงานในกลุ่มดังกล่าว โดยมีกระทรวง พม. เป็นผู้สนับสนุนข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่มีศักยภาพให้แก่ โออาร์ เพื่อคัดเลือกมาเป็นพนักงาน Cafe Amazon for Chance ซึ่งถือว่าเป็น ‘การสร้างโอกาส เสริมพลังสังคม’ อย่างยั่งยืนอีกช่องทางหนึ่ง โดยผลักดันและสนับสนุนให้บุคคลเหล่านั้นมีศักยภาพเพิ่มขึ้น พึ่งพาตนเองได้ จนสามารถเป็นทรัพยากรที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคม

ฉายภาพ สาขาแบรนด์กาแฟในสถานีบริการน้ำมัน
 
  • โออาร์ เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดกาแฟปั๊ม ภายใต้แบรนด์อเมซอน มีสาขาแล้ว 3,500 ตั้งเป้าขยายเพิ่ม 400-500 ภายในปี 2565 นี้
  • บางจาก แบรนด์อินทนิล ตัวเลขสาขาตั้งแต่ปี 2563 มี 700 สาขา มีเป้าหมายขยายสาขาเพิ่มทั้งในปั๊มและนอกปั๊ม 1200 สาขาในปี 64-68 หรือเท่ากับขยายเพิ่ม 500 สาขา ใน 5 ปี ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของบางจาก จะเน้นขยายไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เป็นต้น
  • PT กาแฟแบรนด์พันธุ์ไทย ซึ่งมีประมาณ 500 สาขา ตั้งเป้าขยายให้ถึง 1500 ในปี 66 จำนวนนี้ ก็เน้นเรื่องแฟรนไชส์ ให้ผู้เห็นโอกาสในพื้นที่ เป็นผู้พาเข้าชุมชนด้วยตัวเอง โดยหากมีความตั้งใจ แต่ขาดเงินทุน ก็พร้อมจัดหาให้
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5KIPXocbFFdm1zHLsRshgg/1e6c14f621e09d2fcacf1c4dd968fc62/Info-Amazon_______
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กาแฟเจ้าใหญ่ในท้องตลาดยังมีอีกหลายแบรนด์ดังที่ดำเนินธุรกิจมาก่อนหน้า อาทิ สตาร์บัคส์ (ไทยเบฟ), ออลล์ คาเฟ่, ออลล์ คาเฟ่ โกลด์, คัดสรร, เบลลินี่ ภายใต้การดูแลของซีพี ออลล์, หรือกาแฟมวลชน ภายใต้การบริหารของซีพี รีเทลลิงค์, กาแฟจังเกิล และอราบิเทีย ภายใต้การบริหารของซีพี บีแอนด์เอฟ เป็นต้น ซึ่งในแง่ธุรกิจทุกรายล้วนมีแผนขยายสาขาทั้งสิ้น จะด้วยเหตุผล ‘หนีตาย’ เพราะธุรกิจปั๊มน้ำมันเป็นขาลง หรือใดๆ ก็แล้วแต่ แต่ด้วยเพราะตลาดกาแฟ ยังไปได้สวย มูลค่าทั้งในและต่างประเทศเติบโตได้ต่อเนื่อง ทำให้หลายแบรนด์กล้าลงทุนด้วยตัวเลขหลักหมื่นล้าน

นี่จึงเป็นข้อห่วงใยของเจ้าพ่ออสังหาฯ ว่าการที่ส่วนแบ่งตลาดถูกแชร์มากขึ้นๆ จะเป็นเรื่องน่ากลัว มากกว่า โอกาสที่รายย่อยจะขยับรับได้ทัน ในท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กังวลอยู่นี้ อาจเป็นแค่ปัญหา ‘เส้นผมบังภูเขา’ เนื่องจากรายย่อยต่างทราบดี สิ่งใดเอื้อมถึง-ไม่ถึง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น ‘โอกาส หรือทางหนี’ ของรายย่อย อาจไม่ใช่เรื่องการลงทุน แต่เป็นกลยุทธ์ที่แตกต่าง ทำตลาด Niche Market เน้นจุดต่าง สร้างจุดแข็ง ทั้งรสชาติและบรรยากาศ ที่จะหาไม่ได้จากแบรนด์ไหน และจะเป็น ‘มนต์เสน่ห์สำคัญ’ ดึงดูดลูกค้า ให้เข้ามาในพื้นที่ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เพียงแค่ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้ว นำมาสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเติบโตได้ทั้งในวันนี้และอนาคต

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์