ตามปกติ ผลการเลือกตั้งที่ชัดเจนจะช่วยทำให้นักลงทุนมั่นใจ ส่งผลกระดานหุ้นบวกกันถ้วนหน้า แต่เรื่องนี้กลับไม่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยหลังการเลือกตั้ง ที่พรรคก้าวไกลกำลังทำท่าว่าจะได้ตั้งรัฐบาลใหม่
สาเหตุคืออะไร? อาจเป็นเพราะความไม่เชื่อมั่นของทีมเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญของก้าวไกล เพราะดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่ได้เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เน้นที่กระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากกว่า ในฐานะพรรคการเมืองที่มีนโยบายซ้ายกลาง (center-left politics)
คำถามก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่แนวทางของก้าวไกล ที่เป็นพรรคเอียงซ้าย เน้นกระจายความมั่งคั่ง ผันงบประมาณมาเน้นสวัสดิการ ลดอิทธิพลทุนผูกขาด จ้องจะเก็บภาษีคนรวย จะเป็นตัวการที่ทำให้นักลงทุนผวา จนกระทั่งกระดานหุ้นแดงทั้งแผ่นดินติดต่อกันแบบนี้?
คำตอบของคำถามนี้คงจะต้องเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ที่เขามีประสบการณ์กับรัฐบาลฝ่ายซ้ายมากกว่าไทย โชคดีที่มีงานวิจัยและบทความบางชิ่นที่สามารถตอบคำถามนี้ได้
เช่น บทความเรื่อง ‘ตลาดลงโทษรัฐบาลฝ่ายซ้ายหรือไม่?’ (Do Markets Punish Left Governments?) ของ โทมัส แซทเลอร์ (Thomas Sattler) นักเศรษฐศาสตร์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
รายงานของ แซทเลอร์ ระบุว่า “การวิเคราะห์ชุดข้อมูลดั้งเดิมของปฏิกิริยาของตลาดหุ้นต่อการเลือกตั้ง 205 ครั้งตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นการยืนยันการคาดเดานี้ หุ้นร่วงลงอย่างมากหลังจากการเลือกตั้งของรัฐบาลฝ่ายซ้าย และเพิ่มขึ้นหลังจากการเลือกตั้งของรัฐบาลฝ่ายขวา”
แต่ตลาดหุ้นจะดิ่งแรงหรือไม่แรงขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างหนึ่ง นั่นคือ ‘ข้อจำกัดทางการเมือง’ (Political Constraints) ปัจจัยนั้นมีผลอย่างมากต่อตลาดทุน แต่มันจะผันผวนแรงแค่ไหนขึ้นอยู้กับสถานการณ์แบบนี้
เมื่อใช้โมเดลนี้มาอธิบายปรากฏการณ์ของ ‘ว่าที่รัฐบาลก้าวไกล’ เราจะพบว่า นักลงทุนมีปฏิกริยารุนแรง คงเพราะเห็นว่าข้อจำกัดทางการเมืองที่ก้าวไกลกำลังเผชิญนั้นมีต่ำ ทำให้พวกเขามีโอกาสจะฟอร์มรัฐบาลได้
และหมายความว่าจะมีการใช้นโยบายเอียงซ้ายที่ไม่เป็นคุณต่อการลงทุน เป็นโทษต่อนายทุนใหญ่ๆ และบั่นทอนระบอบทุนนิยมในประเทศไทย
พบว่าตลาดหุ้นมีปฏิกริยาในด้านบวกถ้าได้ประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต (ซึ่งถือว่าเอียงซ้าย) แต่จะมีปฏิกริยาบวกน้อยหรือติดลบกับประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน (ซึ่งถือเป็นฝ่ายขวา) และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางคนที่มีต่อ Forbes ก็ระบุในทำนองเดียวกันว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อเดโมแครตมาตลาดจะกระทิง เมื่อรีพับลิกันมาจะเป็นตลาดหมี
แต่ดาต้านี้ไม่ได้ให้คำตอบที่รอบด้านกับเรา เพราะสิ่งที่ Forbes พบก็คือ
สิ่งที่ต่างแค่นิดเดียวคือ เดโมแครตเป็น ‘ซ้ายอ่อนๆ’ เพราะต้องการให้เกิดระบบสวัสดิการสังคม ส่วนรีพับลิกกันเป็น ‘ขวาโคตรๆ’ ที่ไม่ต้องการให้นำภาษีของประชาชนที่ทำงานหาแรงด้วยตนเอง ไปแจกให้กับคนอื่นที่อาจไม่ขยันขันแข็งพอ
ดังนั้น ปฏิกริยาของตลาดหุ้นในสหรัฐจึงวัดไม่ค่อยจะได้ว่าตลาดกลัวหรือไม่กลัวฝ่ายซ้าย เพราะตลาดขึ้นๆ ลงๆ ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจมากกว่า
ในกรณีของไทยนั้น การตั้งรัฐบาลของก้าวไกลอาจจะเจอตอเอาง่ายๆ จาก ปัจจัยพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล จากสมาชิกวุฒิสภา จากกรณีหุ้นสื่อของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และการขู่ที่จะก่อม็อบอีกครั้งของฝ่ายสนับสนุนกลุ่มการเมืองต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้คือตัวเสริมที่ทำให้นักลงทุนต้องสงวนท่าที
แต่กลับมาเน้นที่เศรษฐศาสตร์การเมือง เราจะพบว่าไทยขาดประสบการณ์กับการมีรัฐบาลเอียงซ้าย ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ ที่พรรคต่างๆ แสดงอุดมการณ์ชัดเจนว่าไปซ้ายหรือขวา และที่ผ่านมามีแต่รัฐบาลที่หนุนระบอบทุนนิยม การค้าเสรี และการส่งเสริมการลงทุน ไม่มีรัฐบาลไหนที่บอกว่าภารกิจแรกๆ คือการกำจัดทุนผูกขาด และยังเป็นว่าที่พรรครัฐบาลที่ใส่ใจเรื่องทีมเศรษฐกิจน้อยที่สุดก็ว่าได้
สำหรับประเทศที่การเติบโตอิงกับทุนมายาวนาน จู่ๆ มีรัฐบาลที่แสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับทุน ถ้าตลาดไม่หวาดกลัวก็คงจะเป็นตลาดที่ขวัญแก่กล้าเกินไปแล้ว
สาเหตุคืออะไร? อาจเป็นเพราะความไม่เชื่อมั่นของทีมเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญของก้าวไกล เพราะดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่ได้เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เน้นที่กระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากกว่า ในฐานะพรรคการเมืองที่มีนโยบายซ้ายกลาง (center-left politics)
คำถามก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่แนวทางของก้าวไกล ที่เป็นพรรคเอียงซ้าย เน้นกระจายความมั่งคั่ง ผันงบประมาณมาเน้นสวัสดิการ ลดอิทธิพลทุนผูกขาด จ้องจะเก็บภาษีคนรวย จะเป็นตัวการที่ทำให้นักลงทุนผวา จนกระทั่งกระดานหุ้นแดงทั้งแผ่นดินติดต่อกันแบบนี้?
คำตอบของคำถามนี้คงจะต้องเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ที่เขามีประสบการณ์กับรัฐบาลฝ่ายซ้ายมากกว่าไทย โชคดีที่มีงานวิจัยและบทความบางชิ่นที่สามารถตอบคำถามนี้ได้
เช่น บทความเรื่อง ‘ตลาดลงโทษรัฐบาลฝ่ายซ้ายหรือไม่?’ (Do Markets Punish Left Governments?) ของ โทมัส แซทเลอร์ (Thomas Sattler) นักเศรษฐศาสตร์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
นักลงทุนกลัวนโยบายบีบทุน
รายงานนี้พบว่า มีหลักฐานก่อนหน้านี้ที่บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นตกลงหลังจากฝ่ายซ้ายและเพิ่มขึ้นหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งของฝ่ายขวา และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของเขาก็ยืนย้นข้อมูลนั้นเช่นกันรายงานของ แซทเลอร์ ระบุว่า “การวิเคราะห์ชุดข้อมูลดั้งเดิมของปฏิกิริยาของตลาดหุ้นต่อการเลือกตั้ง 205 ครั้งตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นการยืนยันการคาดเดานี้ หุ้นร่วงลงอย่างมากหลังจากการเลือกตั้งของรัฐบาลฝ่ายซ้าย และเพิ่มขึ้นหลังจากการเลือกตั้งของรัฐบาลฝ่ายขวา”
แต่ตลาดหุ้นจะดิ่งแรงหรือไม่แรงขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างหนึ่ง นั่นคือ ‘ข้อจำกัดทางการเมือง’ (Political Constraints) ปัจจัยนั้นมีผลอย่างมากต่อตลาดทุน แต่มันจะผันผวนแรงแค่ไหนขึ้นอยู้กับสถานการณ์แบบนี้
- เมื่อข้อจำกัดสูง ดุลยพินิจของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายที่พวกเขาต้องการจะต่ำ นักลงทุนก็จะมีปฏิกริยาอ่อนลง
- เมื่อข้อจำกัดต่ำ ดุลยพินิจของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายที่พวกเขาต้องการจะสูง นักลงทุนก็จะมีปฏิกริยารุนแรง
เมื่อใช้โมเดลนี้มาอธิบายปรากฏการณ์ของ ‘ว่าที่รัฐบาลก้าวไกล’ เราจะพบว่า นักลงทุนมีปฏิกริยารุนแรง คงเพราะเห็นว่าข้อจำกัดทางการเมืองที่ก้าวไกลกำลังเผชิญนั้นมีต่ำ ทำให้พวกเขามีโอกาสจะฟอร์มรัฐบาลได้
และหมายความว่าจะมีการใช้นโยบายเอียงซ้ายที่ไม่เป็นคุณต่อการลงทุน เป็นโทษต่อนายทุนใหญ่ๆ และบั่นทอนระบอบทุนนิยมในประเทศไทย
ซ้ายอ่อนๆ ตลาดยังพอโอค
นอกจากการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์การเมือง ยังมีการวิเคราะห์ดาต้าของตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยสื่อชั้นนำ คือ Forbes ทำการสำรวจผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตั้งแต่สมัยของ Harry S. Truman จนถึงสมัยของ Donald J. Trumpพบว่าตลาดหุ้นมีปฏิกริยาในด้านบวกถ้าได้ประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต (ซึ่งถือว่าเอียงซ้าย) แต่จะมีปฏิกริยาบวกน้อยหรือติดลบกับประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน (ซึ่งถือเป็นฝ่ายขวา) และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางคนที่มีต่อ Forbes ก็ระบุในทำนองเดียวกันว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อเดโมแครตมาตลาดจะกระทิง เมื่อรีพับลิกันมาจะเป็นตลาดหมี
แต่ดาต้านี้ไม่ได้ให้คำตอบที่รอบด้านกับเรา เพราะสิ่งที่ Forbes พบก็คือ
- ตลาดหุ้นบวกเมื่อได้ประธานาธิบดีเดโมแครต (ซ้าย) บางกรณีเพราะเศรษฐกิจดีขึ้นในสมัยประธานาธิบดีรีพับลิกัน (ขวา) เช่น ตอนที่ William J. Clinton เข้ามารับตำแหน่ง เขารับอานิสงส์จากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวปลายสมัยของ George H. W. Bush (คนพ่อ) พูดง่ายๆ คือคนก่อนทำไว้ดี คนให่เข้ามาเป็นตาอยู่ ชิงผลงานไปเสียอย่างนั้น
- ตลาดหุ้นบวกแรงที่สุดในสมัยของ William J. Clinton คือ 210% แต่คนที่รับตำแหน่งต่อมาคือ George H. W. Bush (คนลูก) ตลาดติดลบหนักสุดถึง -40% สาเหตุสำคัญน่าจะเป็นเพราะเศรษฐกิจสหรัฐพังพินาจย่อยยับจากวิกฤตฟองสบู่ของสมัยก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะวิกฤตหุ้นอินเทอร์เน็ต (Dot-com bubble) ดังนั้น ประธานาธิบดีที่รับช่วงจึงเคราะห์เป็นที่สุด
- เดชะบุญที่ George H. W. Bush (คนลูก) กับผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐระดับเซียน คือ Alan Greenspan ช่วยคืนชีพเศรษฐกิจขึ้นมาได้ รัฐบาลรีพับลิกันจึงเป็นผู้กอบกู้อีกครั้ง พอเศรษฐกิจจะรีบาวน์ก็ต้องเลือกผู้นำกันใหม่ คราวนี้ Barack H. Obama จากเดโมแครต ซึ่งรับอานิสงส์จากผู้นำรีพับลิกันคนก่อนอีกครั้ง โดยตลาดหุ้นบวกแรงเป็นอันดับสองที่ 182%
โมเดลอเมริกันอาจไม่ตอบโจทย์
ผู้เขียนยังขอเพิ่มเติมด้วยว่า ในแง่เศรษฐศาสตร์การเมืองแล้ว พรรคโมแครตกับรีพับลิกันไม่ได้มีจุดยืนต่อระบอบทุนนิยมต่างกันเลย ทั้งสองพรรคต่างเป็นสาวกที่เหนียวแน่นของทุนนิยม ส่งเสริมการค้าเสรี และรับเงินสนับสนุนจากธุรกิจข้ามชาติสิ่งที่ต่างแค่นิดเดียวคือ เดโมแครตเป็น ‘ซ้ายอ่อนๆ’ เพราะต้องการให้เกิดระบบสวัสดิการสังคม ส่วนรีพับลิกกันเป็น ‘ขวาโคตรๆ’ ที่ไม่ต้องการให้นำภาษีของประชาชนที่ทำงานหาแรงด้วยตนเอง ไปแจกให้กับคนอื่นที่อาจไม่ขยันขันแข็งพอ
ดังนั้น ปฏิกริยาของตลาดหุ้นในสหรัฐจึงวัดไม่ค่อยจะได้ว่าตลาดกลัวหรือไม่กลัวฝ่ายซ้าย เพราะตลาดขึ้นๆ ลงๆ ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจมากกว่า
สุดท้ายตลาดกลัวซ้ายอยู่ดี
แต่ถ้าจะอิงกับงานวิจัยของนักวิชาการที่ศึกษาผลเลือกตั้งที่ครอบคลุมกว่า เราคงต้องสรุปว่า การกุมอำนาจของรัฐบาลฝ่ายซ้ายเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนขวัญผวาจริงๆในกรณีของไทยนั้น การตั้งรัฐบาลของก้าวไกลอาจจะเจอตอเอาง่ายๆ จาก ปัจจัยพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล จากสมาชิกวุฒิสภา จากกรณีหุ้นสื่อของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และการขู่ที่จะก่อม็อบอีกครั้งของฝ่ายสนับสนุนกลุ่มการเมืองต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้คือตัวเสริมที่ทำให้นักลงทุนต้องสงวนท่าที
แต่กลับมาเน้นที่เศรษฐศาสตร์การเมือง เราจะพบว่าไทยขาดประสบการณ์กับการมีรัฐบาลเอียงซ้าย ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ ที่พรรคต่างๆ แสดงอุดมการณ์ชัดเจนว่าไปซ้ายหรือขวา และที่ผ่านมามีแต่รัฐบาลที่หนุนระบอบทุนนิยม การค้าเสรี และการส่งเสริมการลงทุน ไม่มีรัฐบาลไหนที่บอกว่าภารกิจแรกๆ คือการกำจัดทุนผูกขาด และยังเป็นว่าที่พรรครัฐบาลที่ใส่ใจเรื่องทีมเศรษฐกิจน้อยที่สุดก็ว่าได้
สำหรับประเทศที่การเติบโตอิงกับทุนมายาวนาน จู่ๆ มีรัฐบาลที่แสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับทุน ถ้าตลาดไม่หวาดกลัวก็คงจะเป็นตลาดที่ขวัญแก่กล้าเกินไปแล้ว