ค่าแรงขั้นต่ำควรเพิ่มหรือไม่? คำตอบอยู่ที่ 'ใคร' เป็นผู้ตอบ
ถ้าเป็นฝ่ายนายจ้างคงปฏิเสธ หรือขอแตะเบรค ถ้าจะขึ้น ควรค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้าเป็นลูกจ้าง คงอยากให้ปรับขึ้นแน่นอน
หลังพรรคก้าวไกลเสนอค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน (ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 331 บาทต่อวัน) โดยให้เหตุผลว่า นี่คืออัตราค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม เมื่อคำนวณค่าเงินเฟ้อ สภาพเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้น
เรื่อง ‘ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม’ ก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงสนทนาในวงสังคม
ส่วนค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าไหร่ ผู้เชี่ยวชาญและนักเศรษฐศาสตร์คงจะวิเคราะห์หาคำตอบได้ดีกว่า เพราะเรื่องนี้มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา
ถ้าเป็นฝ่ายนายจ้างคงปฏิเสธ หรือขอแตะเบรค ถ้าจะขึ้น ควรค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้าเป็นลูกจ้าง คงอยากให้ปรับขึ้นแน่นอน
หลังพรรคก้าวไกลเสนอค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน (ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 331 บาทต่อวัน) โดยให้เหตุผลว่า นี่คืออัตราค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม เมื่อคำนวณค่าเงินเฟ้อ สภาพเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้น
เรื่อง ‘ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม’ ก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงสนทนาในวงสังคม
ส่วนค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าไหร่ ผู้เชี่ยวชาญและนักเศรษฐศาสตร์คงจะวิเคราะห์หาคำตอบได้ดีกว่า เพราะเรื่องนี้มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา

ท่ามกลางการถกเถียงที่ยังไม่มีบทสรุป SPACEBAR อยากชวนมาทำความรู้จักเรื่องค่าแรงขั้นต่ำว่าคืออะไร โดยเทียบกับดัชนีราคาข้าวแกงที่สะท้อนค่าครองชีพขั้นพื้นฐาน เพื่อประเมิน (เบื้องต้น) ว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นอยู่นั้น เป็นค่าแรงที่สมน้ำสมเนื้อกับการใช้ชีวิตแล้วหรือไม่
และมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ในฐานะคนทำงาน (ที่น่าจะได้เงินมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ) เราควรคำนึงถึงเรื่องอะไร?
นิยามค่าแรงขั้นต่ำที่พูดถึง ปรากฏใน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อ 16 เมษายน พ.ศ.2515 (ราชกิจจานุเบกษา หน้า 104 เล่ม 89 ตอนที่ 61) มีตอนหนึ่งระบุว่า
“...ให้คณะกรรมการที่มีหน้าที่พิจารณากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งลูกจ้างควรจะได้รับ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเลี้ยงดูตนเองและสมาชิกครอบครัวอีกสองคน ให้ดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัยเช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคม...”
และมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ในฐานะคนทำงาน (ที่น่าจะได้เงินมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ) เราควรคำนึงถึงเรื่องอะไร?
ค่าแรงขั้นต่ำ จากค่าจ้างเลี้ยง ‘ครอบครัว’ สู่ ‘ฉัน’ คนเดียว
พูดอย่างกำปั้นทุบดิน ถ้าดูจากนิยามค่าแรงขั้นต่ำในอดีต อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเคยมากกว่านี้นิยามค่าแรงขั้นต่ำที่พูดถึง ปรากฏใน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อ 16 เมษายน พ.ศ.2515 (ราชกิจจานุเบกษา หน้า 104 เล่ม 89 ตอนที่ 61) มีตอนหนึ่งระบุว่า
“...ให้คณะกรรมการที่มีหน้าที่พิจารณากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งลูกจ้างควรจะได้รับ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเลี้ยงดูตนเองและสมาชิกครอบครัวอีกสองคน ให้ดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัยเช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคม...”

จากนั้นนิยามดังกล่าวถูกยกเลิกใน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 2) ในอีก 4 ปีต่อมา (พ.ศ.2519) ให้เหลือเพียง “ค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งลูกจ้างคนเดียวควรจะได้รับและสามารถดำรงชีพอยู่ได้”

ตั้งแต่นั้น ค่าแรงขั้นต่ำจึงเปลี่ยนจากค่าแรงที่เลี้ยงชีวิตฉันและคนในครอบครัว (อีกสองคน) เป็นเพียงค่าแรงที่ใช้เลี้ยงตัวฉันเพียงคนเดียว
แล้วค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทต่อวันในวันนี้ เหมาะสมแล้วหรือยัง
ถามว่ารายได้ 331 บาทต่อวัน เพียงพอหรือไม่ การคิดจากราคาข้าวแกงที่อิงจาก รายงานราคาสินค้าขายปลีก ของกรุงเทพฯ ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ น่าจะพอทำให้หลายคนเห็นภาพมากขึ้น
ข้าวราดแกง (พ.ศ.2566) ราคา 41.95 หรือราว 42 บาทต่อจาน
กินข้าววันละ 3 มื้อ (42 x 3)
ค่าข้าวราดแกง = 126 บาทต่อวัน
ถ้าได้ค่าจ้างวันละ 331 บาท กินข้าว 126 บาท จะเหลือเงินเพื่อใช้จ่ายค่าอื่นๆ เพื่อการดำรงชีพอีก 205 บาท
205 บาทต่อวัน ต้องจัดสรรใช้ไปกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตอื่นๆ นอกจากอาหาร เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเสื้อผ้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าการศึกษา ค่าความบันเทิง ฯลฯ
ทีนี้ ถ้าลองนำราคาข้าวแกงเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ ต้ังแต่ พ.ศ.2545-2566 จะพบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำนั้นต่ำกว่าราคาข้าวแกง
แล้วค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทต่อวันในวันนี้ เหมาะสมแล้วหรือยัง
ดัชนีราคาข้าวแกง ‘แกง’ ฉันหรือไม่
หนึ่งในหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำ คือเรื่องความจำเป็นในการใช้ชีวิต โดยพิจารณาจากปัจจัยสี่ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) รวมถึงสิ่งจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าพาหนะ การศึกษา การพักผ่อนถามว่ารายได้ 331 บาทต่อวัน เพียงพอหรือไม่ การคิดจากราคาข้าวแกงที่อิงจาก รายงานราคาสินค้าขายปลีก ของกรุงเทพฯ ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ น่าจะพอทำให้หลายคนเห็นภาพมากขึ้น
ข้าวราดแกง (พ.ศ.2566) ราคา 41.95 หรือราว 42 บาทต่อจาน
กินข้าววันละ 3 มื้อ (42 x 3)
ค่าข้าวราดแกง = 126 บาทต่อวัน
ถ้าได้ค่าจ้างวันละ 331 บาท กินข้าว 126 บาท จะเหลือเงินเพื่อใช้จ่ายค่าอื่นๆ เพื่อการดำรงชีพอีก 205 บาท
205 บาทต่อวัน ต้องจัดสรรใช้ไปกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตอื่นๆ นอกจากอาหาร เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเสื้อผ้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าการศึกษา ค่าความบันเทิง ฯลฯ
ทีนี้ ถ้าลองนำราคาข้าวแกงเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ ต้ังแต่ พ.ศ.2545-2566 จะพบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำนั้นต่ำกว่าราคาข้าวแกง
- ค่าแรงขั้นต่ำ (พ.ศ.2545-2566) เพิ่มขึ้นจาก 165 บาทต่อวัน เป็น 331 บาทต่อวัน คิดเป็น 200.6%
- ราคาข้าวแกง (พ.ศ.2545-2566) เพิ่มขึ้นจาก 20 บาทต่อจาน เป็น 41.95 บาทต่อจาน คิดเป็น 209.75%

จากกราฟจะเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด (จาก 215 บาทต่อวันเป็น 300 บาทต่อวัน) ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทยในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และทยอยขึ้นอีก 3 ครั้งในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ (310, 325, 331 บาทต่อวัน ตามลำดับ) แต่ก็ยังขึ้นไม่ทันราคาข้าวแกง
คำถามคือ ค่าแรงขั้นต่ำหลังหักค่าข้าว 205 บาทที่เหลือต่อวัน เพียงพอต่อชีวิตหรือไม่
ถ้าสมมติว่าพอ คำถามต่อมาคือ ‘เพียงพอ’ ที่จะทำให้คนๆ หนึ่งสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัย เช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคมหรือเปล่า
หากค่าข้าวแกง 126 บาทต่อวัน กำลัง ‘แกง’ คุณด้วยการกินงบฯ ในการจัดสรรชีวิตด้านอื่นจนเสียสมดุล อาจต้องทบทวนค่าตอบแทนที่ได้รับกันอีกที
คำถามคือ ค่าแรงขั้นต่ำหลังหักค่าข้าว 205 บาทที่เหลือต่อวัน เพียงพอต่อชีวิตหรือไม่
ถ้าสมมติว่าพอ คำถามต่อมาคือ ‘เพียงพอ’ ที่จะทำให้คนๆ หนึ่งสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัย เช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคมหรือเปล่า
หากค่าข้าวแกง 126 บาทต่อวัน กำลัง ‘แกง’ คุณด้วยการกินงบฯ ในการจัดสรรชีวิตด้านอื่นจนเสียสมดุล อาจต้องทบทวนค่าตอบแทนที่ได้รับกันอีกที

มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ คือความเหลื่อมล้ำของค่าแรง
“ความเหลื่อมล้ำที่น่ากลัวที่สุดคือ ค่าแรงของแรงงานทักษะสูงกับต่ำที่ถ่างเกินไป” คือข้อสังเกตในบทวิเคราะห์ ขึ้นค่าแรงแก้ความเหลื่อมล้ำไม่ตรงจุด จากทัศนะนักคิดผู้ตีแผ่ความเหลื่อมล้ำ โดยกรกิจ ดิษฐานข้อสังเกตนี้ชวนย้ายมุมคิดจากเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ (ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียง) มาที่ทักษะแรงงาน โดยชี้ (รวมถึงสะกิดแรงงานชนชั้นกลาง) ให้เห็นว่า ถ้าแรงงานมีสกิลมากพอ ผู้จ้างก็พร้อมยินดีจ่ายมากกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ
มากกว่านั้น ยังพบอีกว่าปัจจุบันแรงงานทักษะสูงได้ค่าแรงสูงมาก ยิ่งมีน้อยเท่าไหร่ ค่าแรงยิ่งสูงเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขอยู่ที่ทักษะต้องเป็นไปในจังหวะเดียวกับความต้องการของเทคโนโลยี
หากทักษะไม่ก้าวหน้าเพียงพอ หรืออัพเดทตัวเองไม่ทันกระแสโลก ค่าแรงก็จะน้อยลง (และมีความเป็นไปได้ที่จะตกกระป๋อง)
“ในระยะยาว การศึกษาและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยชี้ขาดระดับค่าจ้าง” คือข้อความที่ผู้เขียนอ้างถึงแนวคิดของ โทมัส พิเกตตี (Thomas Piketty) นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เจ้าของหนังสือ ‘ทุนในศตวรรษที่ 21’ (Capital in the Twenty-First Century)

“วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มค่าจ้างและลดความไม่เท่าเทียมกันของค่าจ้างในระยะยาว คือการลงทุนด้านการศึกษาและทักษะ”
โจทย์คือจะทำอย่างไรให้แรงงานทักษะต่ำที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ มีชีวิตแบบปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ มีโอกาส มีเวลา และมีรายได้เพียงพอที่จะ ‘หายใจ’ และ ‘อัพสกิล’ ได้อย่างที่ควรจะเป็น
หากวันนั้นมาถึง อย่างน้อยที่สุดค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับคงจะสมน้ำสมเนื้อกับนิยามค่าแรงขั้นต่ำเมื่อ พ.ศ.2515 ที่บอกว่า “ลูกจ้างสามารถเลี้ยงดูตนเอง และสมาชิกครอบครัวอีกสองคน ให้ดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัยเช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคม...” ได้
โจทย์คือจะทำอย่างไรให้แรงงานทักษะต่ำที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ มีชีวิตแบบปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ มีโอกาส มีเวลา และมีรายได้เพียงพอที่จะ ‘หายใจ’ และ ‘อัพสกิล’ ได้อย่างที่ควรจะเป็น
หากวันนั้นมาถึง อย่างน้อยที่สุดค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับคงจะสมน้ำสมเนื้อกับนิยามค่าแรงขั้นต่ำเมื่อ พ.ศ.2515 ที่บอกว่า “ลูกจ้างสามารถเลี้ยงดูตนเอง และสมาชิกครอบครัวอีกสองคน ให้ดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัยเช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคม...” ได้
