หวานน้อย-น้ำตาล 0% ‘ราคา’ ที่ต้องจ่าย และ ‘อินไซด์’ จากโซเชียลมีเดีย

19 มิ.ย. 2566 - 07:05

  • ภาษีความหวาน ปรับอัตราภาษีขึ้นมาระยะที่ 3 เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินเกณฑ์ต้นทุนสูงขึ้น

  • ตลาดน้ำอัดลมไร้น้ำตาล ปี 65 โตแรง 30%

  • ตลาดเครื่องดื่ม ‘หวานน้อย-ไร้น้ำตาล’ โตต่อเนื่อง คาดโตเต็มที่ปี 2568 หลังเก็บภาษีความหวานเต็มอัตรา

TAGCLOUD-sweet-tax-SPACEBAR-Thumbnail
ความหวานมี ‘ราคา’ ที่ต้องจ่าย 

ราคาที่ว่าไม่ได้หมายถึงสุขภาพ แต่พูดถึง ‘ภาษีความหวาน’ ล่าสุด ที่ปรับอัตราภาษีขึ้นมาระยะที่ 3 แล้ว (จากทั้งหมด 4 ระยะ) เมื่อเมษายนที่ผ่านมา 

ภาษีความหวาน คือมาตรการเพิ่มภาษีสินค้าที่มีน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อให้คนไทยลดการบริโภคน้ำตาล และมีสุขภาพดีขึ้น 

การเพิ่มภาษีทำให้สินค้าแพงขึ้น (เพราะต้นทุนสินค้าสูงขึ้น) ผู้ผลิตจะหันไปผลิตสินค้าที่ ‘ไม่หวาน’ หรือ ‘หวานน้อย’ เพื่อเลี่ยงการถูกเก็บภาษี ขณะที่ผู้บริโภคจะหันมาทานสินค้าที่มีน้ำตาลน้อย เพราะราคาถูกกว่า 

โดยสินค้าที่เก็บภาษีความหวาน (ภาษีสรรพสามิต) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 
  • เครื่องดื่ม 
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกร็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและละลายน้ำได้ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6d7a1NPKGuAMc5MZyfGgEj/8a4c216938591e8869b94d4ccc4866f6/info_TAGCLOUD-sweet-tax__1_
จากรายงาน เปิดดาต้า วัดค่า ‘หวานไร้น้ำตาล’ คนไทย ปี 2565 โดย SPACEBAR • DATAOPS พบว่า เทรนด์เครื่องดื่ม ‘หวานไร้น้ำตาล’ บนโลกโซเชียลมีเดียของคนไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มน้ำอัดลมและโซดา และ กลุ่มชา 

โดยคนไทยนึกถึงเครื่องดื่มหวานไร้น้ำตาลใน กลุ่มน้ำอัดลมและโซดา (จำนวนการพูดถึง - mention 88%) มากกว่ากลุ่มชา (จำนวนการพูดถึง - mention 12%)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/13S46dJ1PwtTsIKrQvGvn3/7b45f05f7026d111ea88d44acc7b7bfa/TAGCLOUD-sweet-tax-SPACEBAR-Photo_V01
จุดที่น่าสนใจคือ เมื่อดูในรายละเอียดข้อมูลแล้วพบว่า การพูดถึง (mention) ส่วนใหญ่ราว 3 ใน 4 มาจาก แบรนด์ผู้ผลิต ซึ่งเป็นการโฆษณา ข่าวประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาด เพื่อโปรโมทเครื่องดื่มใหม่ที่หวานน้อยหรือไร้น้ำตาล ส่วนอีก 1 ใน 4 เป็นเสียงจากผู้บริโภค ที่พูดถึงรสชาติ สรรพคุณ ความคิดเห็น และความรู้สึกเกี่ยวกับสินค้า
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3byrdbLWgmllC2sdWtKsDA/ac623a98af605ab02e84bb967ff3cc88/TAGCLOUD-sweet-tax-SPACEBAR-Photo_V02
จุดนี้แสดงให้เห็นว่า แบรนด์ผู้ผลิตโหมโฆษณาและการตลาดในไลน์สินค้าใหม่ (หวานน้อย หรือไร้น้ำตาล) ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างการรับรู้และชิงพื้นที่ใน ‘ตลาดใหม่’ ที่ขยายตัวมากขึ้นหลังการเก็บภาษีความหวาน

และคาดว่าจะขยายตัวขึ้นอย่างมาก หลังการเก็บภาษีความหวานระยะที่ 4 ซึ่งเป็นการเก็บเต็มอัตราที่ตั้งไว้ ในเดือนเมษายน พ.ศ.2568 

เพราะตั้งแต่ปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ก่อนจะถึงกำหนดเก็บภาษีความหวานระยะที่ 3 (1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2568) แบรนด์ผู้ผลิตหลายเจ้าได้ออกสินค้าใหม่ โดยปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลให้น้อยลง เช่น 
  • อิชิตัน ออกเครื่องดื่ม ตันซันซู น้ำอัดลมสไตล์เกาหลี น้ำตาล 0% 
  • โออิชิ ส่ง โออิชิ ฮันนี่เลมอน สูตรน้ำตาล 0% 
  • โค้ก เปิดตัวโค้กสูตรไร้น้ำตาล รสชาติใหม่ และคอลแล็บกับ Rosalia Vila Tobella นักร้องชื่อดังชาวสเปน 
  • เอส โคล่า ปรับสูตรให้ ‘ซ่าขึ้น’ และ ‘น้ำตาลน้อยลง’ 
  • โอสภสภา เปิดตัว ชาร์ค อุเมะ โซดา ชูจุดขายไร้น้ำตาล 
ข้อมูลตลาดน้ำอัดลมจากนีลเส็นระบุว่า ตลาดน้ำอัดลมไทย ปี 2565 มูลค่า 56,000 ล้านบาท โตขึ้นจากปีก่อนหน้า 7% 

ขณะที่น้ำอัดลม ‘ไร้น้ำตาล’ มาแรงมาก โตขึ้น 30% จากการเก็บภาษีความหวาน และเทรนด์รักสุขภาพ 

วันนี้ถ้าหันไปมองชั้นวางสินค้า จะเห็นว่าเครื่องดื่มไร้น้ำตาลและน้ำตาลน้อยกินส่วนแบ่งพื้นที่มากขึ้นทุกวัน คำถามคือ เครื่องดื่มไร้น้ำตาลเฮลตี้จริงหรือ แล้วลึกๆ ในใจคนที่หันไปกินเครื่องดื่มสูตรใหม่ที่น้ำตาลน้อยกว่าหรือไม่มี รู้สึกอย่างไร 

ค้นหาอินไซด์จากข้อมูล Social Listening และเรื่องราวน้ำตาลแบบเจาะลึกได้ใน รายงาน เปิดดาต้า วัดค่า ‘หวานไร้น้ำตาล’ คนไทย ปี 2565 โดย SPACEBAR • DATAOPS 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์