ทำไมคนรุ่นใหม่ชิงชังการเมืองทุนนิยม การผงาดของพรรคปฏิรูปและซ้าย Gen Z

21 พ.ค. 2566 - 04:04

  • สิ่งที่คนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯ มองหาคือนักการเมืองฝ่ายซ้าย ฝ่ายสังคมนิยม

  • ในขณะที่ผลเลือกตั้งในไทย พรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดเป็นพรรค ‘ซ้ายกลาง’

TAGCLOUD-younger-generation-chose-to-side-with-leftist-SPACEBAR-Thumbnail
เมื่อไม่กี่ปีก่อน มีผลสำรวจของ YouGov ที่ทำให้กับองค์กรที่ชื่อ  Victims of Communism Memorial Foundation (หรือ VOC มูลนิธิที่ระลึกเหยื่อของลัทธิคอมมิวนิสต์) ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรในสหรัฐฯ ได้รับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติในปี 1993 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ให้ความรู้แก่ชาวอเมริกันเกี่ยวกับอุดมการณ์ ประวัติศาสตร์ และมรดกของลัทธิคอมมิวนิสต์” พูดง่ายๆ ก็คือ องค์กรนี้มีไว้เพื่อเตือนคนอเมริกันว่าแนวคิดการเมืองฝ่ายซ้ายมันน่ากลัวอย่างไร เพื่อที่จะได้ศรัทธากับทุนนิยมต่อไป  

แต่แทนที่คนอเมริกันจะกลัวการเมืองฝ่ายซ้าย นับวันคนอเมริกันรุ่นใหม่กลับหันเข้าหาแนวคิดการเมืองและเศรษฐกิจฝ่ายซ้ายมากขึ้น และชอบทุนนิยมน่อยลง ที่สำคัญคือแนวโน้มนี้พบโดย VOC นั่นเองจากการทำโพลร่วมกับ YouGov เมื่อปี 2019 นี่คือสิ่งที่โพลพบจากแบบสำรวจผู้ตอบแบบสอบถาม 2,100 คนในสหรัฐฯ อายุ 16 ปีขึ้นไป 

• ความเห็นต่อระบบทุนนิยม ดีมาก/ค่อนข้างดี 
    ‣ Gen Z 49% 
    ‣ Millennial 50%
    ‣ Gen X 58% 
    ‣ Boomer 63% 
    ‣ Silent 77% 

• ค่อนข้าง/เป็นไปได้มาก ที่จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครสายสังคมนิยม  
    ‣ Gen Z 64%
    ‣ Millennial 70% 
    ‣ Gen X 44% 
    ‣ Boomer 36% 
    ‣ Silent 33% 

จากตัวเลขผลสำรวจแค่ 2 ประเด็นเราจะพบว่าความนิยมในทุนนิยมลดลงอย่างมากเหลือแค่คาบเกี่ยวและไม่ถึง 50% ในหมู่คนรุ่นใหม่ คือรุ่น Gen Z และ  Millennial ในขณะที่ความนิยมในตัวนักการเมืองฝ่ายสังคมนิยมเพิ่มขึ้นมากกว่า 50%  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4ZZqWKaMrKvbkSjeSrpKmv/5fd5c14f7575611f211813a22a22f5df/TAGCLOUD-younger-generation-chose-to-side-with-leftist-SPACEBAR-Photo01
Photo: อัตราส่วนของคนอเมริกันทุกวัยที่ชื่นชอบระบอบทุนนิยม ลดลงเรื่อยๆ (Infographic from VOC’s Annual Report On US Attitudes Toward Socialism)

ทำไมคนรุ่นใหม่หมดหวังกับการแข่งขันแบบทุนนิยม? 

คำตอบเรื่องนี้สามารถพบได้จากผลสำรวจเดียวกัน เหตุผลหลักๆ ก็คือ คนอเมริกันรุ่นใหม่หมดหวังกับระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้ให้โอกาสกับพวกเขา และคิดว่าสังคมมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่โพลพบคือ ไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่ที่คิดแบบนั้น 
    ‣ 40% ของ Gen Z คิดว่าอเมริกาเป็นหนึ่งในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดในโลก 
    ‣ ชาวอเมริกัน 78% กล่าวว่าการแบ่งแยกระหว่างคนรวยและคนจนเป็นปัญหาร้ายแรง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงที่ทำโพลนี้ 
    ‣ คนอเมริกันมากกว่าครึ่ง คือ 68% ที่คิดว่าผู้มีรายได้สูงสุดไม่จ่ายส่วนแบ่งที่ยุติธรรม (เช่น ภาษี) 

‣ คนอเมริกัน 49% กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา  
‣ คนรุ่น Gen Z ต้องการให้โค่นล้มทุนนิยมและแทนที่ด้วยรัฐบาลสังคมนิยมมากที่สุดคือ 31% และคนรุ่น Millennials 35%  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7snHyTscEgVupQuyXKqBYv/21cb8d248b12268301c70b2f3cbb77b8/TAGCLOUD-younger-generation-chose-to-side-with-leftist-SPACEBAR-Photo02
Photo: สัดส่วนของคนอเมริกันรุ่นต่างๆ ต่อความเห็นว่า “ระบบเศรษฐกิจของประเทศตอนนี้เป็นผลเสียต่อคุณหรือไม่?” (Infographic from VOC’s Annual Report On US Attitudes Toward Socialism)

คนรุ่นใหม่กระหายนโยบายให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน

    ‣ เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่ชื่นชอบแนวคิดรายได้ขั้นพื้นฐานสากล (Universal basic income) เพิ่มขึ้นจากเดิม 26% เป็น 34% 
    ‣ โดยเฉพาะคนรุ่น Millennial สนับสนุนให้แจกเงินประชาชนโดยถ้วนหน้า เพิ่มขึ้นจาก 36% เป็น 43% 
    ‣ คนอเมริกันโดยรวมมีอัตราความลังเลใจน้อยลงที่จะเลือกนักการเมืองฝ่ายสังคมนิยม หรือพร้อมที่จะเลือกนักการเมืองฝ่ายซ้ายมากขึ้น 
    ‣ คนรุ่น Gen Z ที่จะคัดค้านการลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากฝ่ายสังคมนิยมประชาธิปไตยลดลงจาก 44% เหลือแค่ 29%  
    ‣ Gen Z และ Millennials ชอบให้เกิดความก้าวหน้าของนโยบายสังคมนิยมมากกว่านโยบายทุนนิยม 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5gFBc4AVzqTu5Fn3VFxeW3/1c03a8164e57a1a20cf081e4440bc9d9/TAGCLOUD-younger-generation-chose-to-side-with-leftist-SPACEBAR-Photo03
Photo: กับคำถามว่าวิธีการใดที่คุณมั่นใจว่าจะทำให้คนมีรายได้สูงต้องแบ่งส่วนแบ่งคืนสังคมอย่างเป้นธรรม? ส่วนใหญ่ (63%) ตอบว่าให้ขึ้นภาษี รองลงมา (49%) ตอบว่าให้เปลี่ยนระบอบเศรษฐกิจของประเทศโดยสิ้นเชิง และกลุ่มต่อมา (15%) บอกว่าให้แก้ที่สัดส่วนการบริจาคเพื่อสังคม (Infographic from VOC’s Annual Report On US Attitudes Toward Socialism)

ผลสำรวจนี้บอกอะไรกับเราเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่? 

แม้ว่าผลสำรวจนี้จะทำเฉพาะในสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ถือเป็นศูนย์กลางของระบอบทุนนิยม และเป็นทุนนิยมที่ปราศจากการแทรกแซงของแนวคิดสังคมนิยมหรือแม้แต่แนวคิดรัฐสวัสดิการ ทำให้สหรัฐฯ เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีระบอบสวัสดิการแย่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ปัญหาต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เกิดจากทุนนิยมสุดขั้วทั้งสิ้น  
    ‣ ระบบสาธารณสุขพื้นฐานของสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่แย่ที่สุดในหม่ประเทศรายได้สูง 11 ประเทศ จากการสำรวจโดย Commonwealth Fund ปี 2021  
    ‣ ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ของสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดในรอบ 50 ปี เมื่อปี 2018 เพิ่มขึ้นมากในรัฐอุตสาหกรรมและศูนย์กลางธุรกิจ แม้แต่รัฐภาคเกษตรก็เพิ่มขึ้น 
    ‣ คนรุ่นใหม่ต้องแบกภาระจากหนี้สินการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เพราะการศึกษาระดับสูงไม่ฟรีและแพงมาก เฉลี่ยคนละ 30,000 ดอลลาร์สำหรับปริญญาตรี  
    ‣ คนรุ่นใหม่เรียนจบแล้ว หางานทำยาก เพราะการเติบโตของค่าจ้างเพียงเล็กน้อย และเผชิญกับภัยคุกคามจากการสูญเสียงานเนื่องจากระบบอัตโนมัติ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5SnwnjAFXSvZV3yLiQMxiL/f0df84504d71a20adb20022611c9dd13/TAGCLOUD-younger-generation-chose-to-side-with-leftist-SPACEBAR-Photo04
Photo: จากชาร์ตนี้จะเห็นว่าคนรุ่นใหม่รู้สึกว่าประเทศของพวกเขาเป็นหนึ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลก ผิดกับคนรุ่นอายุมากสุดที่คิดว่าประเทศของพวกเขาเท่าเทียมที่สุดในโลก นืคือชาร์ตที่สะท้อนช่องว่างระหว่างวัยที่ผกผันกับทัศนะต่อประเทศได้ดีที่สุด (Infographic from VOC’s Annual Report On US Attitudes Toward Socialism)

สังคมนิยม ฝ่ายซ้าย และรัฐสวิสดิการคืออะไร? 

ไม่น่าแปลกใจที่ศูนย์กลางทุนนิยมอย่างสหรัฐกำลังเผชิญกับการท้าทายจากแนวคิดสังคมนิยม ที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่คนรุ่นใหม่ เพราะพวกเป็นเหยื่อโดยตรงจากความไม่เท่าเทียมของระบบเศรษฐกิจ แต่สังคมนิยมก็มีเฉดสี (Political spectrum) ที่หลากหลาย  

• ฝ่ายซ้าย  (Left-wing politics) หมายถึงกลุ่มที่มีแนวคิดทางการเมืองที่สนับสนุนความเท่าเทียมกันในสังคม ทำลายระบบชนชั้นทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า ‘ซ้าย’ เพราะอิงกับที่นั่งในรัฐสภาฝรั่งเศสยุคก่อน ที่ฝ่ายส่งเสริมความเท่าเทียมจะนั่งอยู่ด้านซ้ายของสภา 

• สังคมนิยม (Socialism) หมายถึงแนวที่ลดทอนสิทธิการถือครองทรัพย์สินส่วนบุคคล และรัฐเป็นผู้จัดการและแบ่งปันทรัพยากรให้เท่าเทียมกัน เช่น การเก็บภาษีทีเท่าเทียม และแบ่งปันผลประโยชน์ผ่านระบบสวัสดิการที่ครอบคลุม  

• สังคมนิยมยังหมายถึงการแสวงหาความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน (Social justice) โดยเฉพาะความเท่าเทียมในด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรไม่ได้ถูกผูกขาดโดยนายทุน และประชาชนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างเท่าเทียมกัน 

• ในสหรัฐคำว่า ‘ซ้าย’ หมายถึงฝ่ายเสรีนิยทางการเมือง (Liberalism) ซึ่งมีตัวแทน คือ พรรคเดโมแครต ซึ่งสนับสนุนโอกาสทางเศรษฐกิจให้เสรีถ้วนหน้า ลดอำนาจนายทุน ส่งเสริมรัฐสวัสดิการ เช่น ระบบสาธารณสุขถ้วนหน้าให้ประชาชนเข้าถึงโดยเสรี รวมถึงสนับสนุนเสรีภาพด้านการแสดงออก เช่น สิทธิในการกำหนดเพศสภาพ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4NvJoLewRkF53tMSPtnjk0/443ff924248ee2aeffeed0cb100cd519/TAGCLOUD-younger-generation-chose-to-side-with-leftist-SPACEBAR-Photo05
Photo: คนอเมริกันรุ่นที่ชื่นชอบทุนนิยมมากที่สุดคือรุ่นที่ผ่านสงครามโลก สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และสงครามเย็น และผ่านช่วงที่รุ่งเรืองของทุนนิยมอเมริกันมาก่อน คือ รุ่น Boomers กับ รุ่น Silent Generation (Infographic from VOC’s Annual Report On US Attitudes Toward Socialism)

คนรุ่นใหม่ชอบซ้าย แต่คนรุ่นเก่าเกลียดซ้าย 

จากการสำรวจโดย VOC เราพบว่าคนรุ่นใหม่นิยมซ้ายมากขึ้น เรียกหารัฐสวัสดิการมากขึ้น แต่คนรุ่นเก่า คือ รุ่น Boomer กับรุ่น Silent ไม่มีปัญหากับทุนนิยม และไม่ได้ชอบแนวคิดฝ่ายซ้าย อาจเป็นเพราะคนรุ่นนี้เกิดมาในยุคสงครามเย็น ที่มีการให้ภาพสังคมนิยมว่าเป็นปีศาจและให้ภาพว่าเป็นภัยคุกคามกับค่านิยมอเมริกัน 

ขณะคนรุ่นเก่ายังปักใจกับของเก่า นักการเมืองฝ่ายทุนนิยม/บรรษัทนิยมก็พยายามใช้กลยุทธ์แบบเก่า โดยใช้วาทกรรม “คอมมิวนิสต์ชั่วร้าย” มากขึ้นด้วย เช่น โจมตีธุรกิจจีน (อย่าง TikTok) ว่าเป็นการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ โจมตีนักการเมืองที่สนับสนุนรัฐสวัสดิการว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ (เช่น Alexandria Ocasio-Cortez หรือ Bernie Sanders) เพื่อปลุกเร้าให้สังคมเกิดความกลัวฝ่ายซ้าย แบบเดียวกับที่สหรัฐฯ เคยทำมาก่อนในช่วงทศวรรษที่ 1950 ตลอดจนช่วงสงครามเย็น  

มองสหรัฐแล้วดูไทยกับปรากฏการณ์ก้าวไกล 

นั่นเป็นปรากฏการณ์ในสหรัฐ แต่ดูเหมือนว่ามันจะไม่ต่างจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยสักเท่าไร ในตอนนี้ การเมืองอเมริกันมีรัฐบาลเป็น ‘ฝ่ายซ้าย’ ส่วนในไทย พรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในสภาพคือ ‘การเมืองฝ่ายซ้ายกลาง’ (Centre-left politics) ซึ่งเป็นซ้ายแบบกลางๆ ไม่ได้สุดโต่งขนาดใช้รัฐเป็นกรรมการแบ่งปันทรัพยากรให้เท่ากันทุกอย่าง แต่เน้นสร้างระบบสวัสดิการที่ครอบคลุม การเก็บภาษีก้าวหน้า เพื่อลดอำนาจของคนมีเงิน และเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจของคนมีเงินน้อย  

เราจะไม่ลงไปในรายละเอียดว่านโยบายของก้าวไกลอันไหนบ้างที่เป็น ‘เอียงซ้าย’ หรือ ‘ซ้ายกลาง’ แต่เราจะชี้ให้เห็นถึงความเป็นพรรคที่เน้นสวัสดิการและความเท่าเทียมกัน และยังได้รับที่นั่งในสภามากกว่าพรรคไหนแบบที่คาดไม่ถึง และยังถูกมองเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่ สิ่งเหล่านี้ดูจะคล้องจองกับการเมืองของคนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯ ที่หมดหวังกับทุนผูกขาด แสวงหาการเมืองที่เท่าเทียม และระบบเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำ และชีวิตที่มีสวัสดิการรองรับ 

แน่นอนว่า เงื่อนไขและปัจจัยที่มีผลต่อชัยชนะของก้าวไกลอาจไม่ใช่เพราะพวกเป็นซ้ายไปเสียทั้งหมด (เพราะอาจมีปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น เลือกก้าวไกเพราะเบื่อ ‘ลุงตู่’ และ ‘ลุงโทนี่’) และชัยชนะของก้าวไกลยังไม่น่าจะมาจากคนรุ่นใหม่ทั้งหมด เพราะถ้าไม่ได้คะแนนจากคนรุ่นสูงวัยกว่า (ที่มีสัดส่วนมากกว่า Gen Z ในการเลือกตั้งครั้งนี้) ชัยชนะก็อาจไม่ได้ถล่มทลายถึงขนาดนี้  

อย่างน้อยเรารู้ว่ามันมีปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่เบื่อทุนนิยม ประชาชนต้องการสวัสดิการดีๆ และประเทศนี้อาจต้องการโมเดลเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำมากกว่านี้  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์